การทรมานและการใช้อำนาจโดยมิชอบต่อนักโทษที่อะบูฆุร็อยบ์
การทรมานและการใช้อำนาจโดยมิชอบต่อนักโทษที่อะบูฆุร็อยบ์

การทรมานและการใช้อำนาจโดยมิชอบต่อนักโทษที่อะบูฆุร็อยบ์

ในช่วงแรกของสงครามอิรัก สมาชิกของกองทัพสหรัฐและซีไอเอ ภายใต้บังคับบัญชาโดยตรงของรัฐมนตรีกลาโหม ดอนัลด์ รัมสเฟลด์ กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงครามต่อผู้ถูกคุมขังในเรือนจำอะบูฆุร็อยบ์ในประเทศอิรัก[1] ซึ่งประกอบด้วยการทำร้ายร่างกาย, ล่วงละเมิดทางเพศ, ทรมาน, ข่มขืน, สังวาสทางทวารหนัก และ ฆาตกรรม[2][3][4][1] การทรมานและใช้อำนาจในทางมิชอบนี้ปรากฏสู่สาธารณชนหลังภาพถ่ายหลักฐานการทารุณถูกเผยแพร่บนซีบีเอสนิวส์ในเดือนเมษายน 2004 เหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนใจและความโกรธไปทั่ว รวมถึงถูกประณามอย่างรุนแรงจากทั้งในสหรัฐเองและจากทั่วโลก[5]รัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู. บุช อ้างว่าการทรมานและละเมิดสิทธิมนุษยชนท่ทอะบูฆุร็อยบ์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองโดยขาดการรับรู้และโดยไม่ได้เกิดจากนโยบายของสหรัฐ[6][ต้องการหน้า][7]:328 คำกล่าวอ้างนี้ถูกต่อต้านโดยองค์การมนุษยชนเช่น กาชาดสากล, แอมเนสตี อินเทอร์เนชั่นนอล และ ฮิวอมนไรตส์วอทช์ องค์กรเหล่านี้ระบุว่กาารทรมานที่อะบูฆุร็อยบ์เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการทรมานและการดูแลอย่างโหดร้ายทารุณในทัณฑสถานโพ้นทะเลของอเมริกัน ทั้งในประเทศอิรัก, อัฟกานิสถาน และ กวนตานาโมเบย์[7]:328เอกสารซึ่งรู้จักในชื่อ บันทึกความจำเรื่องการทรมาน (Torture Memos) ออกสู่สาธารณะในสองสามปีถัดมา เอกสารเหล่านี้มีการเตรียมการในช่วงเดือนก่อนการบุกรุกอิรักในปี 2003 โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ รายละเอียดมีการมอบอำนาจและยินยอมให้มีเทคนิคการสอบสวนแบบพิเศษ (โดยทั่วไปคือให้มีการทารุณกรรมได้) ใช้กับผู้ถูกคุมขังที่เป็นชาวต่างชาติ รวมถึงระบุข้อมูลว่ากฎหมายว่าด้วยมนุษยธรรมสากล เช่น ข้อตกลงเจนีวา จะไม่ถูกบังคับใช้กับผู้สอบสวนอเมริกันโพ้นทะเลกระทรวงกลาโหมสหรัฐตอบกลับเหตุการณ์นี้ด้วยการพ้นสภาพทหารและเจ้าหน้าที่จำนวน 17 คน ระหว่างพฤษภาคม 2004 ถึงเมษายน 2006 ทหารเหล่านี้ถูกตัดสินจำคุกที่ทัณฑสถานกองทัพ และถูกปลดออกจากกองทัพ ในจำนวนนี้มีสหารสองคนที่ก่อเหตุอย่างเลวร้ายขั้นสุด คือ ชารลส์ แกรเนอร์ และ ลินน์ดี อิงแลนด์ ถูกตัดสินลงโทษด้วยทัณฑ์ที่หนักกว่ามาก แกรเนอร์ถูกตัดสินกระทำผิดฐานฆาตกรรม, ทำร้ายร่างกาย, สมรู้ร่วมคิด, ดูแลนักโทษผิด ๆ, กระทำการเสื่อมเสียและขัดต่อหน้าที่ และถูกจำคุก 10 ปี, ถูกถอดยศและเงินตำแหน่ง[8] อิงแลนด์ถูกตัดสินความผิดฐานสมรู้ร่วมคิด, ดูแลนักโทษผิด ๆ แะลกระทำการเสื่อมเสียต่อกองทัพ ถูกตัดสินจำคุกสามปี[9]

ใกล้เคียง

การทรงกลด การทรมานและการใช้อำนาจโดยมิชอบต่อนักโทษที่อะบูฆุร็อยบ์ การทรมานเชลยศึกชาวยูเครนที่ปรือวิลเลีย การทรยศโดยชาติตะวันตก การทรมาน การทรงตัว การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทรมานและการใช้อำนาจโดยมิชอบต่อนักโทษที่อะบูฆุร็อยบ์ http://www.lucifereffect.com/ http://www.potomacbooksinc.com/Books/SearchResults... http://edmoise.sites.clemson.edu/iraqbib.html#ghra... http://www.gwu.edu/~nsarchiv/NSAEBB/NSAEBB340/inde... //doi.org/10.1007%2Fs10611-008-9160-2 //doi.org/10.1353%2Faq.2005.0039 //doi.org/10.3138%2Fcras.38.1.83 //www.jstor.org/stable/40068323 https://www.sbs.com.au/news/sites/sbs.com.au.news/... https://www.dailyindependent.com/news/local_news/a...