การทูตและยุโรปกลางหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ของ การทรยศโดยชาติตะวันตก

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1919 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสได้ดำเนินนโยบายที่จะสร้างแนวกักกันโรคในยุโรปตะวันออก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดทั้งเยอรมนีและสหภาพโซเวียต รวมไปถึงแนวคิดทางการเมืองของตน ซึ่งอุปมาได้ดังเช่นเชื้อโรค การร่วมมือกันบุกครองสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี ในปีเดียวกัน โดยกองกำลังโรมาเนีย เชโกสโลวาเกียและฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการดำเนินการตามแนวคิดนี้ ในปี ค.ศ. 1921 ฝรั่งเศสได้ลงนามในพันธมิตรทางการทหารร่วมกับโปแลนด์ ซึ่งเป็นการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะให้การช่วยเหลือคู่เจรจาในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกบุกครองจากอำนาจตะวันตกอื่น ๆ ในปี ค.ศ. 1924 ฝรั่งเศสลงนามในสนธิสัญญาที่มีเนื้อหาคล้ายกันกับเชโกสโลวาเกีย ในปี ค.ศ. 1926 ลงนามกับโรมาเนีย และในปี ค.ศ. 1927 ลงนามกับยูโกสลาเวีย

ในปี ค.ศ. 1925 ฝรั่งเศสได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่กับโปแลนด์และเชโกสโลวาเกีย ซึ่งเป็นการกระชับระดับความร่วมมือทางทหารร่วมกันระหว่างประเทศคู่เจรจา นอกเหนือจากนั้น ฝรั่งเศสยังได้พยายามเปลี่ยนภาคีน้อย ซึ่งประกอบด้วยเชโกสโลวาเกีย โรมาเนียและยูโกสลาเวีย และยกระดับขึ้นเป็นพันธมิตรเพื่อต่อต้านฮังการีในปี ค.ศ. 1921 ให้เป็นพันธมิตรเพื่อต้านเยอรมนีแทน ในปี ค.ศ. 1921 โปแลนด์และโรมาเนียในลงนามในพันธมิตรโปแลนด์-โรมาเนีย ซึ่งทำให้โปแลนด์เข้าใกล้สถานะที่จะเข้าร่วมในภาคีน้อยได้ ฝรั่งเศสเองก็รู้สึกยินดีที่จะรับโปแลนด์เข้ามาเป็นสมาชิกด้วยเช่นกัน แต่ความเป็นปรปักษ์ระหว่างเชโกสโลวาเกียและโปแลนด์ทำให้แนวคิดดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ

นอกเหนือจากข้อตกลงของสันนิบาติชาติ อังกฤษไม่มีข้อผูกมัดในการป้องกันในยุโรปตะวันออกในช่วงคริสต์ทษวรรษ 1920 และได้มีการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าอังกฤษจะรักษาสถานะของตนเอาไว้ ในปี ค.ศ. 1925 เลขาธิการต่างประเทศของอังกฤษ เซอร์อัสเทน เชมเบอร์เลน ได้กล่าวต่อสาธารณะว่าฉนวนโปแลนด์ "ไม่คุ้มค่าสำหรับกระดูกของทหารแกรนาเดียร์แม้แต่เพียงคนเดียว"[13][14]

ในตอนปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 และตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1930 รูปแบบความเป็นพันธมิตรอันยุ่งเหยิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นระหว่างนานาชาติในทวีปยุโรป ในความหวังที่จะป้องกันสงครามในอนาคต ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากเยอรมนีหรือสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1932 และ ค.ศ. 1934 โปแลนด์ได้ลงนามในสธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันกับสหภาพโซเวียตเป็นเวลา 10 ปี และในปี ค.ศ. 1932 เช่นกัน สหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันกับฟินแลนด์ เอสโตเนีย และลัตเวีย เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1934 เยอรมนีและโปแลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันเป็นเวลา 10 ปี ในปี ค.ศ. 1935 สหภาพโซเวียตได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเชโกสโลวาเกีย

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1933 ได้มีข่าวลือในกรุงปารีสว่าได้มีทางเลือกให้ทำ "สงครามเพื่อป้องกันตัว" กับเยอรมนี และได้รับการพิจารณาโดยรัฐบาลฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและโปแลนด์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ลูอิส เบิร์นสไตน์ นาไมร์ ได้กล่าวว่า หลังจากนั้น โปแลนด์ได้เสนอแนวคิดสงครามเพื่อป้องกันตัวต่อฝรั่งเศสในเวลานั้น แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานในหอจดหมายเหตุทั้งของฝรั่งเศส เบลเยี่ยม หรือโปแลนด์ที่มีเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามเพื่อป้องกันตัวเลย

ใกล้เคียง

การทรงกลด การทรมานและการใช้อำนาจโดยมิชอบต่อนักโทษที่อะบูฆุร็อยบ์ การทรมานเชลยศึกชาวยูเครนที่ปรือวิลเลีย การทรยศโดยชาติตะวันตก การทรมาน การทรงตัว การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทรยศโดยชาติตะวันตก http://www.angelfire.com/ok2/polisharmy/chapter1.h... http://books.google.com/books?id=wDQaAAAAMAAJ&visb... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN085... http://www.randomhouse.com/boldtype/0797/radzinsky... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://web.ku.edu/~eceurope/hist557/BiblPt2.htm http://www.polishresistance-ak.org/20%20Article.ht... http://www.worldfuturefund.org/wffmaster/Reading/H... http://www.wojsko-polskie.pl/articles/view/2339 http://wiadomosci.wp.pl/kat,1342,title,Jalta-symbo...