หลักทั่วไป ของ การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส

1. การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสตามหลักเกณฑ์นี้ยึดการออกเสียงเป็นหลัก โดยถ่ายเสียงสระและพยัญชนะตามที่ออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส และมีตารางเทียบเสียงพยัญชนะ เสียงกึ่งสระ และเสียงสระไว้ให้เป็นแนวเทียบ

2. สัญลักษณ์แทนเสียงที่แสดงไว้ในตารางใช้ตาม Le Petit Robert. Dictionnaire de la langue française, 2006. อย่างไรก็ดี ผู้ทับศัพท์อาจใช้พจนานุกรมการออกเสียงหรือพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศสเล่มอื่นก็ได้เพราะการออกเสียงไม่ต่างกันมากนัก แต่ผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจเรื่องสัญลักษณ์ สัทอักษร หรือวิธีการออกเสียงของพจนานุกรมเล่มนั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเล่ม สัทอักษรสากลนั้นนอกจากจะใช้อักษรโรมันแทนเสียงแล้ว ยังได้ใช้สัญลักษณ์อื่น ๆ อีก ตัวอย่างต่อไปนี้นำมาจาก Le Petit Robert. Dictionnaire de la langue française, 2006. สัญลักษณ์ที่ปรากฏในเครื่องหมาย [ ] หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงอ่าน เช่น

เสียง ʃ ในคำ cher [ʃɛʀ]เสียง ʒ ในคำ rouge [ʀuʒ]เสียง ɲ ในคำ signe [siɲ]เสียง y ในคำ perdu [pɛʀdy]เสียง ø ในคำ feu [fø]เสียง œ ในคำ heure [œʀ]เสียง ɔ̃ ในคำ mon [mɔ̃]

3. คำภาษาฝรั่งเศสที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานแล้ว และมีคำไทยเขียนไว้ใช้แทนจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป อาจใช้ตามรูปคำที่เขียนกัน เช่น

Napoléon [napɔleɔ̃] [นาปอเลอง]
champagne [ʃɑ̃paɲ] [ช็องปาญ]
=
=
นโปเลียน
แชมเปญ

4. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง, ชื่อแร่ และชื่อธาตุ ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด

5. เสียงสระที่ปรากฏในสัทอักษรที่อยู่ต้นคำ เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยให้ใส่ อ เพื่อเป็นทุ่นให้สระเกาะด้วย เช่น

aide [ɛd]
il [il]
haute [ot]
=
=
=

อี

6. ในภาษาฝรั่งเศส โดยทั่วไปเสียงสั้น-ยาวของสระไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง แต่ในการออกเสียงพบว่าเสียงสระส่วนใหญ่ในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะอโฆษะหรือพยัญชนะเสียงไม่ก้อง (sourd) ซึ่งได้แก่เสียง p, t, k, s, f และ ʃ สั้นกว่าเสียงสระในพยางค์เปิดและพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะโฆษะหรือพยัญชนะเสียงก้อง (sonore) ซึ่งได้แก่ เสียง b, d, ɡ, z, v, ʒ, l, ʀ, m, n และ ɲ จึงได้กำหนดให้ถ่ายเสียงสระในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะอโฆษะเป็นสระเสียงสั้น และให้ถ่ายเสียงสระในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะโฆษะรวมทั้งเสียงสระในพยางค์เปิดเป็นสระเสียงยาว

เสียงสระในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะอโฆษะ ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้น เช่น
patte [pat]
slip [slip]
être [ɛtʀ]
botte [bɔt]
route [ʀut]
=
=
=
=
=
ปั
ลิ
อ็ทร์
บ็อต
รุ
เสียงสระในพยางค์ปิดที่ตามด้วยพยัญชนะโฆษะรวมทั้งเสียงสระในพยางค์เปิด ทับศัพท์เป็นสระเสียงยาว เช่น
chat [ʃa]
il [il]
aide [ɛd]
forum [fɔʀɔm]
rouge [ʀuʒ]
=
=
=
=
=

อี
อด
ฟอร
รู
ยกเว้นเสียงสระ o ให้ทับศัพท์เป็น โ– ทั้งในพยางค์ปิดและพยางค์เปิด เช่น
beau [bo]
Beauce [bos]
rose [ʀoz]
=
=
=

บส
รซ

7. ในภาษาฝรั่งเศสมีการแบ่งพยางค์อย่างชัดเจน เช่น animer [a.ni.me] จะแบ่งพยางค์ที่เสียง a แยกเสียง n เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป จึงทับศัพท์เป็น "อานีเม" คำ litige [li.tiʒ] จะแบ่งพยางค์ที่เสียง i แยกเสียง t เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป จึงทับศัพท์เป็น "ลีตีฌ" แม้คำที่มีพยัญชนะซ้อน 2 ตัวในรูปเขียน จะออกเสียงเพียงเสียงเดียว เช่น chopper [ʃɔ.pe] โดยจะแบ่งพยางค์ที่เสียง ɔ แยกเสียง p เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เมื่อทับศัพท์ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะอีกหนึ่งตัว เช่น

chopper [ʃɔ.pe]
accueil [a.kœj]
=
=
ชอเ
อาเ

8. โดยปรกติระบบเสียงพยัญชนะ p, t, k ในภาษาฝรั่งเศสจะไม่มีเสียงพ่นลม แต่ในการออกเสียงจริงพบว่ามีการออกเสียงพ่นลมด้วยเมื่อตามด้วยเสียง ʀ จึงได้กำหนดให้เสียง p, t, k ในภาษาฝรั่งเศสใช้ตัวพยัญชนะไทยที่เป็นเสียงพ่นลม ดังนี้

8.1 กำหนดให้เสียง p ใช้ พ เมื่อตามด้วยเสียง ʀ เช่น
prénom [pʀenɔ̃]
prune [pʀyn]
=
=
รนง
รูน
8.2 กำหนดให้เสียง t ใช้ ท เมื่อตามด้วยเสียง ʀ เช่น
train [tʀɛ̃]
entrée [ɑ̃tʀe]
=
=
ร็ง
อ็องเ
8.3 กำหนดให้เสียง k ใช้ ค เมื่อตามด้วยเสียง ʀ เช่น
cri [kʀi]
créer [kʀee]
=
=
รี
รเอ

9. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ในภาษาไทยเครื่องหมายทัณฑฆาตใช้ฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง เช่น "รัตน์" ในคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสให้ใช้กำกับตัวอักษรที่อ่านตามอักขรวิธีไทยไม่ได้ โดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

9.1 เสียงพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ในภาษาฝรั่งเศส พจนานุกรมบางเล่มกำหนดให้มีเสียง ə บางเล่มไม่กำหนดให้มีเสียง ə แต่เมื่อออกเสียงจะมีการออกเสียงเล็กน้อย ในการทับศัพท์ได้กำหนดให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตที่พยัญชนะตัวสุดท้ายของพยางค์ เช่น
fouine [fwi, fwin]
ombre [ɔ̃bʀə, ɔ̃]
=
=
ฟูยน์
องบร์
9.2 ในการทับศัพท์เสียงกึ่งสระ j ซึ่งกำหนดให้ใช้ ย เมื่อตามหลังสระบางเสียง เช่น i ไม่สามารถออกเสียงตามระบบเสียงภาษาไทยได้ จึงให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับบนตัว ย เช่น
bille [bij]
fille [fij]
=
=
บีย์
ฟีย์
9.3 คำที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียงหรือมากกว่า ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายแต่เพียงแห่งเดียว เช่น
feutre [fø]
bouddhiste [budist]
cycle [sikl]
registre [ʀəʒistʀ]
vivre [vi]
reprendre [ʀ(ə)pʀɑ̃]
=
=
=
=
=
=
เฟิทร์
บูดิสต์
ซิกล์
เรอฌิสทร์
วีฟวร์
เรอพร็องดร์
9.4 คำที่มีเสียงพยัญชนะ ʀ (ซึ่งกำหนดให้ใช้ ร) อยู่หลังสระ ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้บนตัว ร เช่น
cher [ʃɛʀ]
voiture [vwatyʀ]
parlement [paʀləmɑ̃]
=
=
=
แชร์
วัวตูร์
ปาร์เลอม็อง
9.5 คำที่มีเสียงพยัญชนะท้ายมากกว่า 2 เสียง และมีรูปพยัญชนะ r อยู่หลังสระ ไม่ต้องใส่ ร และให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
cercle [sɛʀkl]
Sartre [saʀtʀ]
=
=
แซกล์
ซาทร์

10. การใช้ไม้ไต่คู้ คำทับศัพท์ให้ใช้ไม้ไต่คู้ในกรณีดังต่อไปนี้

10.1 ในคำที่มีเสียงสระ ɛ (แอะ) และเสียง ɔ (เอาะ) เมื่อตามด้วยพยัญชนะอโฆษะ เช่น
mettre [mɛtʀ]
messe [mɛs]
botte [bɔt]
socque [sɔk]
=
=
=
=
ม็ทร์
ม็
บ็อต
ซ็อก
10.2 ในคำที่มีเสียงสระนาสิก (voyelles nasales) ɛ̃ และ ɑ̃ เช่น
vin [vɛ̃]
vent [vɑ̃]
=
=
ว็
ว็อง
ยกเว้นเสียง œ̃ และ ɔ̃ เนื่องจากข้อจำกัดในการพิมพ์ เช่น
brun [bʀœ̃]
mon [mɔ̃]
=
=
เบริง
มง

11. การเขียนคำทับศัพท์ชื่อเฉพาะ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

11.1 คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อและนามสกุล ให้เขียนตามการเขียนในภาษาฝรั่งเศส เช่น
Jacques Chirac [ʒak ʃiʀak]
Nicolas Sarkozy [nikɔla saʀkɔzi]
Antoine de Lavoisier [ɑ̃twan də lavwazje]
Guy de Maupassant [ɡi də mopasɑ̃]
Jean de la Fontaine [ʒɑ̃ də la fɔ̃tɛn]
Jean-Pierre Raffarin [ʒɑ̃ pjɛʀ ʀafaʀɛ̃]
=
=
=
=
=
=
ฌัก ชีรัก
นีกอลา ซาร์กอซี
อ็องตวน เดอ ลาวัวซีเย
กี เดอ โมปาซ็อง
ฌ็อง เดอ ลา ฟงแตน
ฌ็อง-ปีแยร์ ราฟาแร็ง, ฌ็อง-เปียร์ ราฟาแร็ง
11.2 คำทับศัพท์ที่เป็นคำนำหน้านามหรือตำแหน่งที่ตามด้วยชื่อ ให้เขียนทับศัพท์ติดกัน แต่ถ้าตามด้วยนามสกุล ให้เขียนทับศัพท์แยกกัน เช่น
Comte de Paris [kɔ̃t də paʀi]
Baron de Coubertin [baʀɔ̃ də kubɛʀtɛ̃]
=
=
กงต์เดอปารี ("เคานต์แห่งปารีส")
บารง เดอ กูแบร์แต็ง ("ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ขุนนางชั้นบารอน")
11.3 คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะหรือสำนวน ให้เขียนติดกัน เช่น
Le Havre [ləˈavʀ]
La vache qui rit [lavaʃkiʀi]
L’appétit vient en mangeant. [la.pe.ti.vjɛ̃.tɑ̃.mɑ̃.ʒɑ̃]
=
=
=
เลออาฟวร์ (เมือง)
ลาวัชกีรี (ยี่ห้อเนยแข็ง)
ลาเปตีวีแย็งต็องม็องฌ็อง, ลาเปตีเวียงต็องม็องฌ็อง (สำนวน)
11.4 คำที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ให้ใส่เครื่องหมายยัติภังค์ตามการเขียนในภาษาฝรั่งเศส เช่น
la Croix-Rouge [la kʀwa ʀuʒ]
Saint-Julien-Chapteuil [sɛ̃ ʒyljɛ̃ ʃaptœj]
Pont-Saint-Martin [pɔ̃ sɛ̃ maʀtɛ̃]
va-et-vient [va.e.vjɛ̃]
=
=
=
=
ลาครัว-รูฌ
แซ็ง-ฌูว์ลีแย็ง-ชัปเตย, แซ็ง-ฌูว์เลียง-ชัปเตย
ปง-แซ็ง-มาร์แต็ง
วา-เอ-วีแย็ง, วา-เอ-เวียง
ยกเว้นคำที่มีเครื่องหมายยัติภังค์พร้อมกับมีการเชื่อมเสียง ให้เขียนติดกัน เช่น
L’Académie des Beaux-Arts [la.ka.de.mi.de.bo.zaʀ]
Champs-Élysées [ʃɑ̃.ze.li.ze]
Saint-Honoré [sɛ̃..nɔ.ʀe]
=
=
=
ลากาเดมีเดโบซาร์
ช็องเซลีเซ
แซ็งตอนอเร

12. คำย่อ ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ เป็นภาษาไทย ดังนี้

A
D
G
J
M
P
S
V
Y
=
=
=
=
=
=
=
=
=
อา
เด
เฌ
ฌี
แอม
เป
แอ็ส
เว
อีแกร็ก
B
E
H
K
N
Q
T
W
Z
=
=
=
=
=
=
=
=
=
เบ
เออ
อัช
กา
แอน
กูว์
เต
ดูเบลอเว
แซด
C
F
I
L
O
R
U
X

=
=
=
=
=
=
=
=

เซ
แอ็ฟ
อี
แอล
โอ
แอร์
อูว์
อิกซ์

13. รูปพยัญชนะ h มี 2 ประเภทคือ h muet และ h aspiré ซึ่งจะไม่ออกเสียงทั้งคู่

หากเป็นคำที่นำหน้าด้วย h muet ให้เชื่อมเสียงพยัญชนะหรือพยัญชนะท้ายคำที่นำหน้า h muet กับเสียงสระที่ตามมา เช่น
l’hôtel [.tɛl]
cet hiver [sɛ.ti.vɛʀ]
=
=
ลอแตล
แซตีแวร์
หากเป็นคำที่นำหน้าด้วย h aspiré ไม่ต้องเชื่อมเสียง ซึ่งในพจนานุกรมการออกเสียงจะใช้เครื่องหมาย [ˈ] นำหน้า เช่น
le haricot [ləˈaʀiko]
ces hauteurs [seˈotœʀ]
=
=
อ อารีโก
เซ โอเตอร์

14. การเชื่อมเสียง ในการทับศัพท์กลุ่มคำภาษาฝรั่งเศสจะมีการเชื่อมเสียง กล่าวคือ เชื่อมเสียงพยัญชนะท้ายคำกับสระซึ่งเป็นเสียงต้นของคำที่ตามมา หรือ h muet เช่น

une école [y.ne.kɔl]
les hommes [le.m]
=
=
อูว์เนกอล
เลซอ
14.1 ในการทับศัพท์ต้องแสดงการเชื่อมเสียงนั้นโดยใช้พยัญชนะท้ายคำของพยางค์แรกประสมกับสระต้นคำที่ตามมา การเชื่อมเสียงในภาษาฝรั่งเศสให้เชื่อมเสียงในกรณีต่อไปนี้- ระหว่างคำนำหน้านามหรือคำขยายที่อยู่หน้าคำนามกับคำนาม เช่น
des élèves [de.ze.lɛv]
un ancien ami [œ̃.nɑ̃.sjɛ.na.mi]
gentil enfant [ʒɑ̃.ti.jɑ̃.fɑ̃]
votre âge [vɔ.tʀɑʒ]
=
=
=
=
เดเซแลฟว์
เอิงน็องซีแยนามี, เอิงน็องเซียนามี
ฌ็องตีย็องฟ็อง
วอทรา
- ระหว่างคำสรรพนามที่อยู่หน้าคำกริยากับคำกริยา เช่น
Je vous aime [ʒə.vu.m]
Vous avez [vu.za.ve]
Il habite [i.la.bit]
=
=
=
เฌอวูแซ
วูซาเว
อีลาบิต
- ในกลุ่มคำที่ต้องเชื่อมเสียง (les groupes figés) เช่น
de temps en temps [də.tɑ̃.zɑ̃.tɑ̃]
mot à mot [mo.ta.mo]
bien entendu [bjɛ̃.nɑ̃.tɑ̃.dy]
=
=
=
เดอต็องซ็องต็อง
โมตาโม
บีแย็งน็องต็องดูว์, เบียงน็องต็องดูว์
14.2 การเชื่อมเสียงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียงที่สำคัญ ดังนี้- รูปพยัญชนะ s และ x ซึ่งปรกติไม่ออกเสียง จะออกเสียง z เช่น
les années [le.za.ne]
deux heures [dœ.zœʀ]
=
=
เลาเน
เดอเอร์
- รูปพยัญชนะ d ซึ่งปรกติไม่ออกเสียง จะออกเสียง t เช่น
pied-à-terre [pje.ta.tɛʀ]
grand immeuble [gʀɑ̃.ti.mœbl]
=
=
ปีเยาแตร์
กร็องตีเมิบล์
14.3 ไม่เชื่อมเสียงในกรณีต่อไปนี้- หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วย h aspiré เช่น
les héros [leˈeʀo]=เล เอโร (ไม่ใช่ *[le.ze.ʀo] = เลเซโร)
- หลัง et เช่น
mon frère et une amie [mɔ̃.fʀɛ.ʀe.y.na.mi]=มงแฟรเรอูว์นามี (ไม่ใช่ *[mɔ̃.fʀɛ.ʀe.ty.na.mi] = มงแฟรเรตูว์นามี)
- หลังคำนามเอกพจน์ เช่น
un étudiant anglais [œ̃.ne.ty.djɑ̃.ɑ̃.glɛ]=เอิงเนตูว์ดีย็องอ็องแกล (ไม่ใช่ *[œ̃.ne.ty.djɑ̃.tɑ̃.glɛ] = เอิงเนตูว์ดีย็องต็องแกล)

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพกัวดัลคะแนล การทัพปราบอ้วนสุด