หลักเกณฑ์ของอิสรอฟีล ของ การทับศัพท์ภาษาอาหรับ

พยัญชนะ

ข้ออักษรชื่ออักษรภาษาไทยหมายเหตุ
1ﺀ/ اฮัมซะฮฺ/อะลิฟอ, สระ อา*ถ้าฮัมซะฮฺเป็นสุกูน จะเขียนเป็น <อ์> ในภาษาไทย เช่น <มะอ์มูร>
2บาอุ.
3ตาอุ.
4ษาอุ.
5ญีมญ, จญ์ญะวาด, หัจญ์, ฮิจญ์เราะฮฺ, หิญิร
6ฮาอุ.
7คออุ.
8ดาล.
9ซาล.
10รออุ*ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ร่อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เราะ>, <เราะหฺ> และ <เราะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ร่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <รอ>
11ซาย
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ซะ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซา>
12ซีนซ, ส.
  • ถ้าเป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ส> เช่น <อับบาส>
  • ถ้าเป็นที่รู้จักกันแล้วว่าเขียนด้วย ซ ก็จะเขียนตามแบบที่มีอยู่แล้ว เช่น หะซัน หุเซน และ ร่อซูล
13ชีน.
14ศอด.
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ศ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เศาะ>, <เศาะหฺ> และ <เศาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ศ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ศอ>
15ฎอดถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะฮฺ หรือฎ็อมมะฮฺ+วาว ใช้ ด เป็น <ดุ> และ <ดู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฎ และ สระอุหรือสระอูแล้ว สระทั้งสอง จะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฎาะ>, <เฎาะหฺ> และ <เฎาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฎอ>
16ฏออุ.
  • ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะฮฺ หรือฎ็อมมะฮฺ+วาว ใช้ ต เป็น <ตุ> และ <ตู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฏ และ สระอุหรือสระอูแล้ว สระทั้งสอง จะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฏาะ>, <เฏาะหฺ> และ <เฏาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฏอ>
17ซออุ.
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ซ่อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เซาะ>, <เซาะฮฺ> และ <เซาะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ซ่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซอ>
18อัยนฺ.
  • ถ้าเป็นสุกูน จะเขียน <อฺ> ในภาษาไทย เช่น <มะอฺมูร>
19ฆีน.
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ฆ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฆอ>
20ฟาอุ.
21กอฟ.
22กาฟ.

  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ในภาษาไทยเป็น <ก็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะฮฺ, หาอุ และ ฮาอุ ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฏาะ>, <เกาะหฺ> และ<เกาะฮฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ก็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตหะฮฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <กอ>
23ลาม.
24มีม.
25นูน.
26วาว.
27ฮาอุห, ฮ
  • เป็น <ห> หมด ยกเว้นคำที่เป็นที่รู้จักกันแล้วว่า ฮะซัน และ หุเซน
  • ถ้าเป็นสุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฮฺ> เช่น <มะดีนะฮฺ>
28ยาอุ.
  • ถ้า ยาอุ มีสัญลักษณ์ตัชดีด ในภาษาไทยจะสะกดเป็น ย และ การันต์ เช่น <อะลีย์>

สระ

ข้อชื่อสระเทียบกับสระไทยหมายเหตุ
1ฟัตหะฮฺสระอะ
2กัสเราะฮฺสระอิ
3ฎ็อมมะฮฺสระอุ
4ฟัตหะฮฺ + อะลิฟสระอา
5กัสเราะฮฺ + ยาอุสระอี
6ฎ็อมมะฮฺ + วาวสระอู
7ฟัตหะฮฺ + ยาอุอัย,เอถ้าพยางค์นั้น ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ที่เป็นสุกูน จะเป็น สระเอ เช่น <ฮุเซน> และ <กุเรช> จากเดิม <ฮุสอยนฺ> และ <กุรอยชฺ> เพื่อความสะดวกในการออกเสียง
8ฟัตหะฮฺ + วาวเอา เช่น <เลา>

หมายเหตุ

  1. ไม้ไต่คู้และสระออ <-็อ> ใช้กับ <ฎ>, <ฏ>, <ศ> เมื่อถอดรูป ฟัตหะห เช่น <ฎ็อ>, <ฏ็อ> <ศ็อ> และ <ก็อ> แต่อาจจะละ ไม้ไต่คู้ ไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <ฎอ>, <ฏอ> และ <ศอ>
  2. ไม้เอกและสระออ< -่อ> ใช้กับ <ร> เมื่อถอดรูปฟัตหะฮฺ เช่น <ร่อซูล> แต่อาจจะละไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <รอซูล>
  3. จะไม่มีการใช้ <ห> นำหน้าพยัญชนะเสียงต่ำ หรือ วรรณยุกต์ เช่น <อิหม่าม>, <อะมีรุ้ลมุมินีน> หรือ <อ๊าด> ที่ถูกต้องคือ <อิมาม>, <อะมีรุลมุมินีน> และ <อาด>
  4. ไม่มีการตัดสระอะเมื่อถอดรูปฟัตหะฮฺ นอกจากคำว่า นบี เท่านั้น เช่น <อบูบักรฺ> จะต้องเป็น <อะบูบักรฺ>
  5. จะไม่ใช้ การันต์ ในการถอดรูปสุกูน นอกจากกับ <ย์> สำหรับ ยาอุ ที่มีสัญลักษณ์ตัชดีด เช่น <อัลบุคอรีย์>, และ <อ์> ที่แสดงให้เห็นว่าเป็น ฮัมซะฮฺ เช่น <มะอ์มูน>

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพปราบอ้วนสุด การทัพกัวดัลคะแนล