หลักทั่วไป ของ การทับศัพท์ภาษาเยอรมัน

1. การทับศัพท์ภาษาเยอรมันตามหลักเกณฑ์นี้ยึดการออกเสียงเป็นหลัก โดยถ่ายเสียงสระและพยัญชนะตามที่ออกเสียงในภาษาเยอรมันมาตรฐาน (Standarddeutsch) หรือภาษาเยอรมันสูง (Hochdeutsch) และมีตารางเทียบเสียงพยัญชนะและเสียงสระไว้ให้เป็นแนวเทียบ

2. สัญลักษณ์แทนเสียงที่แสดงไว้ในตารางใช้ตามพจนานุกรม Duden – Das Aussprachewörterbuch, 2015. ยกเว้นสัญลักษณ์แทนเสียงพยัญชนะและสระบางเสียงซึ่งจะกล่าวต่อไป อย่างไรก็ดี ผู้ทับศัพท์อาจใช้พจนานุกรมการออกเสียงหรือพจนานุกรมภาษาเยอรมันเล่มอื่นก็ได้ แต่ผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจเรื่องสัญลักษณ์ สัทอักษร หรือวิธีการออกเสียงของพจนานุกรมเล่มนั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละเล่ม สัทอักษรสากลนอกจากจะใช้อักษรโรมันแทนเสียงแล้ว ยังใช้สัญลักษณ์อื่น ๆ อีก ตัวอย่างต่อไปนี้นำมาจากพจนานุกรม Duden – Das Aussprachewörterbuch, 2015. สัญลักษณ์แทนเสียงแสดงไว้ในวงเล็บเหลี่ยม

เสียง ʃ ในคำ Schule [ˈʃuːlə]เสียง ç ในคำ ich [ɪç]เสียง ʒ ในคำ Massage [maˈsaːʒə]เสียง ŋ ในคำ singen [ˈzɪŋən]เสียง ø ในคำ Öl [øːl]เสียง œ ในคำ öffnen [ˈœfnən]เสียง ʊ ในคำ Kuss [kʊs]เสียง ʏ ในคำ müssen [ˈmʏsn̩]

3. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง, ชื่อแร่และชื่อธาตุ ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด

4. รูปสระในตำแหน่งต้นคำหรือต้นเค้าศัพท์ เมื่อออกเสียงจะมีเสียงพยัญชนะ ʔ นำหน้า (แม้ว่าพจนานุกรมโดยทั่วไปจะไม่แสดงเสียงนี้เมื่ออยู่ต้นคำก็ตาม) ในการทับศัพท์จึงต้องใส่รูปพยัญชนะ อ ด้วย เช่น

auf [ʔaʊ̯f, aʊ̯f]
essen [ˈʔɛsn̩, ˈɛsn̩]
aufessen [ˈʔaʊ̯fʔɛsn̩, ˈaʊ̯fʔɛsn̩]
Abart [ˈʔapʔaːɐ̯t, ˈapʔaːɐ̯t]
Rührei [ˈʀyːɐ̯ʔaɪ̯, ˈʀyːʀʔaɪ̯]
=
=
=
=
=
าฟ์
อ็สเซิน
าฟ์เอ็สเซิน (ไม่ใช่ *เอาเฟ็สเซิน)
อัาร์ท (ไม่ใช่ *อับบาร์ท)
เรือร์ไ (ไม่ใช่ *รือไร, *รือห์ไร)

5. เสียงสระในภาษาเยอรมันที่ต่างกับเสียงสระในภาษาไทย ได้กำหนดให้ทับศัพท์เป็นเสียงสระที่ใกล้เคียงแทน เช่น

5.1 เสียง ʏ ทับศัพท์เป็น –ึ ในพยางค์ปิดหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เช่น
üppig [ˈʏpɪç]
Hütte [ˈhʏtə]
=
=
อึพพิช
ฮึทเทอ
และเสียง y ทับศัพท์เป็น –ือ ในพยางค์เปิดหรือพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย เช่น
Hypothese [hypoˈteːzə]
Physik [fyˈziːk]
Psychologie [psyçoloˈɡiː]
=
=
=
ฮือโพเทเซอ
ฟือซีค
ซือโชโลกี
5.2 เสียง e และ eː ทับศัพท์เป็น เ– เช่น
elegant [eleˈɡant]
Methan [meˈtaːn]
eben [ˈbn̩]
beredt [bəˈʀt]
=
=
=
=
ลกันท์
มทาน
อเบิน
เบอรท
5.3 เสียง øː, ø และ œ ทับศัพท์เป็น เ–อ เมื่ออยู่ในพยางค์เปิด และทับศัพท์เป็น เ–ิ เมื่ออยู่ในพยางค์ปิด เช่น
Öfen [ˈøːfn̩]
Böhm [bøːm]
Ökonom [økoˈnoːm]
möblieren [møˈbliːʀən]
öffnen [ˈœfnən]
Töpfe [ˈtœp͡fə]
=
=
=
=
=
=
เฟิน
เบิม, เบิห์ม
โคโนม
บลีเริน
เอิฟเนิน
เทิพเฟอ

6. เสียงสระ ɪ, i และ iː ได้กำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้

6.1 เสียง ɪ ทับศัพท์เป็น –ิ เช่น
immer [ˈɪmɐ]
Mitte [ˈmɪtə]
Schmidt [ʃmɪt]
=
=
=
อิมเมอร์
มิทเทอ
มิ
6.2 เสียง i ทับศัพท์เป็น –ี เช่น
Idee [iˈdeː]
Kuli [ˈkuːli]
=
=
อีเด
คูลี
6.3 เสียง iː ทับศัพท์เป็น –ี เช่น
ihm [m]
affin [aˈfn]
=
=
อีม, อีห์ม
อัฟฟี

7. เสียงสระ ʊ, u และ uː ได้กำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้

7.1 เสียง ʊ ทับศัพท์เป็น –ุ เช่น
unter [ˈʊntɐ]
Mutter [ˈmʊtɐ]
=
=
อุนเทอร์
มุทเทอร์
7.2 เสียง u ทับศัพท์เป็น –ู เช่น
Urin [uˈʀiːn]
Uhu [ˈuːhu]
=
=
อูรีน
อูฮู
7.3 เสียง uː ทับศัพท์เป็น –ู เช่น
Ufer [ˈfɐ]
Mut [mt]
=
=
อูเฟอร์
มู

8. เสียง ʀ ที่เป็นพยัญชนะท้าย ในภาษาเยอรมันปัจจุบัน เสียง ʀ ที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์มักจะกลายเสียงเป็นสระ ɐ พจนานุกรม Duden – Das Aussprachewörterbuch ยังคงใช้สัทอักษร r แทนรูปเขียน r ที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ในคำจำนวนหนึ่ง แต่หลักเกณฑ์การทับศัพท์นี้จะแสดงสัทอักษรไว้ 2 รูป คือ ɐ และ ʀ และให้ทับศัพท์เป็น ร โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เพื่อแสดงว่าเป็นรูปเขียน r ที่ออกเสียงเป็น ɐ หรือ ʀ เช่น

Berg [bɛɐ̯k, bɛʀk]
fährt [fɛːɐ̯t, fɛːʀt]
=
=
แบร์
แฟร์

9. เสียงสระ ɐ ที่กลายเสียงมาจากเสียง ʀ เมื่อตามหลังสระหลายตัวจะทำให้เกิดเสียงสระ 2 เสียงต่อกัน ซึ่งไม่สามารถเทียบเสียงสระในภาษาไทยได้ จึงกำหนดให้ทับศัพท์เป็นเสียงสระที่ใกล้เคียง เช่น เสียง eː, oː และ yː เมื่อตามด้วยเสียง ɐ ทับศัพท์เป็น แ–ร์, –อร์ และ เ–ือร์ ตามลำดับ เช่น

geleert [ɡəˈleːɐ̯t, ɡəˈleːʀt]
Tenor [teˈnoːɐ̯, teˈnoːʀ]
Führmann [ˈfyːɐ̯man, ˈfyːʀman]
=
=
=
เกอร์
เทนอร์
เฟือร์มัน, เฟือร์มันน์

10. เสียงสระ ɐ ที่มีรูปเขียนเป็น er ให้ทับศัพท์เป็น เ–อร์ เมื่ออยู่ในพยางค์เปิด และทับศัพท์เป็น เ–ิร์ เมื่ออยู่ในพยางค์ปิด เพื่อแสดงรูปเขียนในภาษาเยอรมัน เช่น

Mutter [ˈmʊtɐ]
Vater [ˈfaːtɐ]
Bayern [ˈbaɪ̯ɐn]
Seifert [ˈzaɪ̯fɐt]
=
=
=
=
มุทอร์
ฟาอร์
ไบเอิร์
ไซเฟิร์

11. เสียงสระ ə ในภาษาเยอรมันเป็นเสียงสั้น แต่ในการทับศัพท์ให้ใช้รูปสระ เ–อ เมื่ออยู่ในพยางค์เปิด และใช้รูป เ–ิ เมื่ออยู่ในพยางค์ปิด เช่น

Hase [ˈhaːzə]
Bühel [ˈbyːəl]
Gütchen [ˈɡyːtçən]
=
=
=
ฮา
บือเอิล, บือห์เอิ
กืทเชิ

12. เสียงสระประสม ในภาษาเยอรมันมีทั้งหมด 3 เสียง ซึ่งตำราด้านสัทศาสตร์หรือพจนานุกรมการออกเสียงใช้สัทอักษรแตกต่างกัน โดยเทียบได้ดังนี้

Kohler (1999);
Kleiner, Knöbl & Mangold (2015);
วิกิพจนานุกรมภาษาเยอรมัน
Krech et al. (2009)Wiese (1996);
วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ
ตำราอื่น ๆอักษรไทยใช้
 aɪ̯ aɛ̯ aɪ̯ ae ไ–
 aʊ̯ aɔ̯ aʊ̯ ao เ–า
 ɔɪ̯ ɔœ̯ ɔʏ̯ ɔø –็อย
หลักเกณฑ์การทับศัพท์นี้เลือกใช้สัทอักษร aɪ̯, aʊ̯ และ ɔɪ̯ ในการแทนเสียงดังกล่าว เช่น
Maier [ˈmaɪ̯ɐ]
Naumann [ˈnaʊ̯man]
Neuner [ˈnɔɪ̯nɐ]
=
=
=
มเออร์
มัน, มันน์
น็อยเนอร์

13. เสียงสระ 2 เสียงต่อกันที่ไม่ใช่สระประสมในภาษาเยอรมัน ให้ทับศัพท์ตามเสียงสระทีละเสียง ไม่ทับศัพท์เป็นสระประสม เช่น

Maria [maˈʀiːa]
Fabian [ˈfaːbi̯aːn]
Tonio [ˈtoːni̯o]
Andreas [anˈdʀeːas]
=
=
=
=
มารี
ฟาบี
โทนีโ
อันดรอั
ยกเว้นเสียง i̯, iː, ɪ ที่ตามด้วยเสียง ə ให้ทับศัพท์เป็นสระประสม เ–ีย เช่น
Tschechien [ˈt͡ʃɛçi̯ən]
Serie [ˈzeːʀ]
Folien [ˈfoːli̯ən]
=
=
=
เช็ชเชีย
เซเรีย
โฟเลีย

14. เสียงพยัญชนะ p, t และ k ในภาษาเยอรมันโดยปรกติมีลักษณะเป็นเสียงพ่นลม ให้ทับศัพท์เป็น พ, ท และ ค ตามลำดับ เช่น

Preis [pʀaɪ̯s]
Lappen [ˈlapn̩]
Lump [lʊmp]
Tanne [ˈtanə]
Ratten [ˈʀatn̩]
Glut [ɡluːt]
Kanne [ˈkanə]
danken [ˈdaŋkn̩]
Sieg [ziːk]
=
=
=
=
=
=
=
=
=
รส์
ลัพิ
ลุมพ์
ทันเนอ
รัทิ
กลู
คันเนอ
ดังเคิ
ซี
ยกเว้นเมื่อเสียง p และ t ตามหลังเสียง ʃ จะออกเสียงไม่มีลมพ่น ให้ทับศัพท์เป็น ป และ ต ตามลำดับ เช่น
spielen [ˈʃpiːlən]
Sport [ʃpɔɐ̯t, ʃpɔʀt]
versprechen [fɛɐ̯ˈʃpʀɛçn̩, fɛʀˈʃpʀɛçn̩]
Stadt [ʃtat]
stehen [ˈʃteːən]
bestehen [bəˈʃteːən]
=
=
=
=
=
=
ปีเลิน
อร์ท
แฟร์ชเร็ชเชิน
ตั
ชเเอิน, ชเห์เอิน
เบอชเเอิน, เบอชเห์เอิน
เสียง p และ t ที่ตามหลังเสียง s ในคำยืมจากภาษาอื่น จะออกเสียงไม่มีลมพ่น ให้ทับศัพท์เป็น ป และ ต ตามลำดับ เช่น
Spa [spaː]
Inspiration [ɪnspiʀaˈt͡si̯oːn]
Institut [ɪnstiˈtuːt]
=
=
=

อินสปีรัทซีโอน
อินสตีทูท
เสียง k ที่ตามหลังเสียง s ในคำยืมจากภาษาอื่น จะออกเสียงมีลมพ่นหรือไม่มีลมพ่นก็ได้ ให้ทับศัพท์เป็น ค หรือ ก ก็ได้ เช่น
Skala [ˈskaːla]=าลา, สาลา

15. เสียงพยัญชนะที่เป็นแกนพยางค์ ให้ทับศัพท์ดังนี้

15.1 เสียง l̩ ให้ใช้ เ–ิล เช่น
Kassel [ˈkas]
fuzeln [ˈfuːt͡sn]
=
=
คัสเซิล
ฟูทเซิลน์
15.2 เสียง n̩ ให้ใช้ เ–ิน เช่น
Christen [ˈkʀɪst]
Abend [ˈaːbt]
=
=
คริสเทิน
อาเบินท์

16. เสียงพยัญชนะบางเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ให้ทับศัพท์ดังนี้

16.1 เสียงพยัญชนะ ʃ ทับศัพท์เป็น ช เช่น
Scholl [ʃɔl]
lasch [laʃ]
=
=
ช็อล, ช็อลล์
ลั
16.2 เสียงพยัญชนะ ç ทับศัพท์เป็น ช เช่น
Albrecht [ˈalbʀɛçt]
lächeln [ˈlɛçl̩n]
König [ˈkøːnɪç]
=
=
=
อัลเบร็ท์
เล็ชิลน์
เคอนิ
16.3 เสียงพยัญชนะ x ทับศัพท์เป็น ค เช่น
suchen [ˈzuːxn̩]
Tuch [tuːx]
=
=
ซูเคิ
ทู
16.4 เสียงพยัญชนะ ʒ ทับศัพท์เป็น ฌ (คำที่มีเสียงนี้ในภาษาเยอรมันมักเป็นคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส) เช่น
Genie [ʒeˈniː]
Blamage [blaˈmaːʒə]
=
=
นี
บลามาเ

17. เสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก ในภาษาเยอรมันมี 3 เสียงได้แก่ p͡f, t͡s และ t͡ʃ เมื่ออยู่ต้นพยางค์ให้ทับศัพท์เป็นเสียงพยัญชนะเสียงเดียว แต่เมื่ออยู่ระหว่างพยางค์หรือท้ายพยางค์ให้ทับศัพท์เป็นเสียงพยัญชนะ 2 เสียง ดังนี้

- เสียง p͡f   ตำแหน่งต้นพยางค์ = ฟ เช่น
Pfaff [p͡faf]=ฟัฟ, ฟัฟฟ์
ตำแหน่งระหว่างพยางค์ = พฟ เช่น
Opfer [ˈɔp͡fɐ]=อ็ออร์
ตำแหน่งท้ายพยางค์ = พฟ์ เช่น
Kopf [kɔp͡f]=ค็อพฟ์
ในตำแหน่งท้ายพยางค์ หากมีพยัญชนะอื่นตามมา ให้ตัดพยัญชนะ พ ออก เช่น
schrumpfst [ʃʀʊmp͡fst]=ชรุมสท์
- เสียง t͡s   ตำแหน่งต้นพยางค์ = ซ เช่น
Zentner [ˈt͡sɛntnɐ]=ซ็นท์เนอร์
ตำแหน่งระหว่างพยางค์ = ทซ เช่น
Tänzer [ˈtɛnt͡sɐ]=เท็นท์อร์
ตำแหน่งท้ายพยางค์ = ทซ์ เช่น
Franz [fʀant͡s]=ฟรันทซ์
ในตำแหน่งท้ายพยางค์ หากมีพยัญชนะอื่นตามมา ให้ตัดพยัญชนะ ท ออก เช่น
letzt [lɛt͡st]=เล็ท์
- เสียง t͡ʃ   ตำแหน่งต้นพยางค์ = ช เช่น
Tschechien [ˈt͡ʃɛçi̯ən]=ช็ชเชียน
ตำแหน่งระหว่างพยางค์ = ทช เช่น
Kutsche [ˈkʊt͡ʃə]=คุ
ตำแหน่งท้ายพยางค์ = ทช์ เช่น
Klatsch [klat͡ʃ]=คลัทช์
ในตำแหน่งท้ายพยางค์ หากมีพยัญชนะอื่นตามมา ให้ตัดพยัญชนะ ท ออก เช่น
klatschst [klat͡ʃst]=คลัสท์
นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะที่ออกเสียงควบเป็นกลุ่ม ได้แก่ ks, ps, pn และ pm ซึ่งปรากฏในคำยืมจากภาษาอื่น ให้ทับศัพท์โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับข้างต้น เช่นเสียง ks     ตำแหน่งต้นพยางค์ = ซ เช่น
Xaver [ˈksaːvɐ]=าเวอร์
ตำแหน่งระหว่างพยางค์ = คซ เช่น
Axel [ˈaksl̩]=อัซิ
ตำแหน่งท้ายพยางค์ = คส์ เช่น
Max [maks]=มัคส์

18. เสียงของรูปพยัญชนะ r ในตำราด้านสัทศาสตร์หรือพจนานุกรมการออกเสียงมีการใช้สัทอักษร 3 รูป คือ ʀ, r และ ʁ ซึ่งเป็นหน่วยเสียงเดียวกันในภาษาเยอรมัน แต่ออกเสียงต่างกันตามถิ่น หลักเกณฑ์นี้ใช้สัทอักษร ʀ และใช้พยัญชนะ ร ในการทับศัพท์ เช่น

Rad [ʀaːt, raːt, ʁaːt]=าท

19. รูปพยัญชนะ h ที่ตามหลังสระ เป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงสระนั้นเป็นเสียงยาวโดยที่รูปพยัญชนะ h ไม่ออกเสียง เมื่อทับศัพท์ไม่ต้องใส่ ห์ เช่น

sehen [ˈzeːən]
gehen [ˈɡeːən]
=
=
เซเอิน
เกเอิน
ยกเว้นในกรณีที่ต้องการให้เห็นรูปคำแตกต่างจากคำไทยหรือเป็นชื่อเฉพาะ จะใส่รูปพยัญชนะ ห แล้วใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับก็ได้ เช่น
Bahn [baːn]
Kahn [kaːn]
Lohn [loːn]
hm [ʀøːm]
Lehmann [ˈleːman]
=
=
=
=
=
บาน, บาห์
คาน, คาห์
โลน, โลห์
เริม, เริห์
เลมัน, เลห์มันน์

20. รูปพยัญชนะตัวเดียวกันซ้อนกัน 2 ตัว ในตำแหน่งท้ายคำ หากต้องการรักษารูปไว้ ให้ใส่รูปพยัญชนะไทยซ้อนกัน 2 ตัว แล้วใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับที่พยัญชนะตัวสุดท้ายก็ได้ เช่น

Mann [man]
Riss [ʀɪs]
Graßmann [ɡʀasman]
=
=
=
มั, มันน์
ริ, ริสส์
กรัสมั, กรัสมันน์

21. เสียงพยัญชนะในตำแหน่งระหว่างสระ ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นสระคลาย (Vokal ungespannt) ที่มีเสียงสั้น ได้แก่ ɪ, ʏ, ɛ, œ, ɔ, ʊ หรือเป็นสระ a ในพยางค์ที่เน้นเสียงหรือตามด้วยรูปพยัญชนะซ้อน ในการทับศัพท์เสียงพยัญชนะนั้นให้ซ้อนรูปพยัญชนะไทย เพื่อให้ตัวหนึ่งเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้าและอีกตัวหนึ่งเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไปตามอักขรวิธีไทย เช่น

Gruppe [ˈɡʀʊpə]
schotten [ˈʃɔtn̩]
Retter [ˈʀɛtɐ]
Edda [ˈɛda]
Bäcker [ˈbɛkɐ]
büffeln [ˈbʏfl̩n]
Stephan [ˈʃtɛfan]
Fischer [ˈfɪʃɐ]
rächen [ˈʀɛçn̩]
machen [ˈmaxn̩]
schallen [ˈʃalən]
Inge [ˈɪŋə]
Lange [ˈlaŋə]
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
กรุ
ช็อทิ
เร็อร์
เอ็ดด
เบ็อร์
บึฟิลน์
ชเต็ฟฟั
ฟิอร์
เร็ชิ
มัคิ
ชัลิ
อิ
ลั
ในกรณีที่พยัญชนะในตำแหน่งระหว่างสระเป็นเสียง s ในการทับศัพท์ให้ใช้ สซ เช่น
Hessen [ˈhɛsn̩]
schösse [ˈʃœsə]
=
=
เฮ็ซิ
เชิ
ยกเว้นเมื่อพยัญชนะในตำแหน่งระหว่างสระเป็นเสียง ʀ ให้ทับศัพท์เสียงสระของพยางค์หน้าเป็นสระเสียงยาว และทับศัพท์เสียง ʀ โดยไม่ต้องซ้อนรูปพยัญชนะ ร เช่น
herein [hɛˈʀaɪ̯n]
Barrel [ˈbɛʀəl, ˈbaʀəl]
wirren [ˈvɪʀən]
=
=
=
เฮไน์
เบเริล, บาเริ
วีเริ

22. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต มีหลักเกณฑ์ดังนี้

22.1 คำหรือพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียงหรือมากกว่า เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายเพียงแห่งเดียว เช่น
Milch [mɪ]
lächeln [ˈlɛçl̩n]
Häuptner [ˈhɔɪ̯ptnɐ]
Pfalz [p͡falt͡s]
Wolfsburg [ˈvɔlfsbʊɐ̯k, ˈvɔlfsbʊʀk]
hilfsbereit [ˈhɪlfsbəʀaɪ̯t]
Heinz [haɪ̯nt͡s]
selbst [zɛlpst]
=
=
=
=
=
=
=
=
มิลช์
เล็ชเชิลน์
ฮ็อยพท์เนอร์
ฟัลทซ์
ว็อลฟส์บวร์ค
ฮิลฟส์เบอไรท์
ไฮนทซ์
เซ็ลพสท์
22.2 คำหรือพยางค์ที่มีรูปพยัญชนะ r หลังสระ เมื่อทับศัพท์ให้ใส่ ร และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น
Berg [bɛɐ̯k, bɛʀk]
rg [jœɐ̯k, jœʀk]
Karl [kaɐ̯l, kaʀl]
Kurs [kʊɐ̯s, kʊʀs]
Pferd [p͡feːɐ̯t, p͡fɛʀt]
Erhardt [ˈeːɐ̯haɐ̯t, ˈeːʀhaʀt]
Karsten, Carsten [ˈkaɐ̯stn̩, ˈkaʀstn̩]
=
=
=
=
=
=
=
แบร์
เยิร์
คาร์
ควร์
แฟร์
แอร์ฮาร์
คาร์สเทิน
22.3 คำหรือพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้ายมากกว่า 2 เสียง และมีรูปพยัญชนะ r อยู่หลังสระ เมื่อทับศัพท์ไม่ต้องใส่ ร และให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
Horst [hɔɐ̯st, hɔʀst]
Herz [hɛɐ̯t͡s, hɛʀt͡s]
Harz [haːɐ̯t͡s, haːʀt͡s]
Schwarz [ʃvaɐ̯t͡s, ʃvaʀt͡s]
=
=
=
=
ฮอสท์
แฮทซ์
ฮาทซ์
ชวาทซ์
22.4 คำหรือพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียง โดยที่เสียง l อยู่หน้าเสียง f หรือ m เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตที่ ล เช่น
elf [ɛlf]
Schelf [ʃɛlf]
Ralf [ʀalf]
Ulf [ʊlf]
Wolf [vɔlf]
Helm [hɛlm]
Ulm [ʊlm]
=
=
=
=
=
=
=
เอ็ล์ฟ
เช็ล์ฟ
รัล์ฟ
อุล์ฟ
ว็อล์ฟ
เฮ็ล์ม
อุล์ม

23. การใช้ไม้ไต่คู้ คำทับศัพท์ให้ใช้ไม้ไต่คู้ในกรณีดังต่อไปนี้

23.1 ในคำที่มีเสียงสระ ɛ (เอะ) และ ɔ (เอาะ) เมื่อมีตัวสะกด เช่น
essen [ˈɛsn̩]
Betten [ˈbɛtn̩]
selbst [zɛlpst]
offen [ˈɔfn̩]
Koch [kɔx]
=
=
=
=
=
เอ็สเซิน
เบ็ทเทิน
เซ็ลพสท์
อ็อฟเฟิน
ค็อ
23.2 เสียง ɛ ที่ตามด้วยเสียง ɐ หรือ ʀ ในการทับศัพท์กำหนดให้ใช้สระแอ แต่เมื่อตามด้วยพยัญชนะท้ายหลายเสียง เสียงสระจะสั้นลง ให้ตัด ร ออกและใส่ไม้ไต่คู้ เช่น
Ernst [ɛɐ̯nst, ɛʀnst]
Herbst [hɛɐ̯pst, hɛʀpst]
=
=
แอ็นสท์
แฮ็พสท์

24. ตัวอักษรภาษาเยอรมัน ในการเขียนตัวย่อใช้ดังนี้

A
D
G
J
M
P
S
V
Y
Ä, AE
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
อา
เด
เก
ย็อท
เอ็ม
เพ
เอ็ส
เฟา
อึพซีลอน
เอ
B
E
H
K
N
Q
T
W
Z
Ö, OE
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
เบ
เอ
ฮา
คา
เอ็น
คู
เท
เว
เซ็ท
เออ
C
F
I
L
O
R
U
X
ẞ, SS
Ü, UE
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
เซ
เอ็ฟ
อี
เอ็ล
โอ
แอร์
อู
อิกซ์
เอ็สเซ็ท
อือ

25. อักษรย่อ ให้เขียนทับศัพท์โดยไม่ต้องใส่จุดและไม่เว้นช่องไฟ เช่น

DAAD
DFB
DW
=
=
=
เดอาอาเด
เดเอ็ฟเบ
เดเว

26. คำที่ผูกขึ้นจากอักษรย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนทับศัพท์ตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น

DaF [daf]
CeBIT [ˈt͡seːbɪt]
ver.di [ˈvɛɐ̯di, ˈvɛʀdi]
=
=
=
ดัฟ
เซบิท
แวร์ดี

27. อักษรย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุดและเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น

J. Heuser
E.T.A. Hoffmann
=
=
ย็อท. ฮ็อยเซอร์
เอ.เท.อา. ฮ็อฟมัน, เอ.เท.อา. ฮ็อฟมันน์

28. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่ง ให้ทับศัพท์โดยเขียนคำนำหน้าติดกับชื่อ เช่น

Fürst Otto von Bismarck=เฟือสท์อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค
แต่ถ้าตามด้วยนามสกุลให้เขียนทับศัพท์แยกกัน เช่น
Graf von Zeppelin=กราฟ ฟ็อน เซ็พเพอลีน

29. การใช้เครื่องหมายยัติภังค์ คำที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายยัติภังค์ด้วย เช่น

U-Bahn
S-Bahn
Baden-Württemberg
=
=
=
อู-บาน, อู-บาห์น
เอ็ส-บาน, เอ็ส-บาห์น
บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อและนามสกุล ถ้าในภาษาเยอรมันมีเครื่องหมายยัติภังค์ ให้เขียนทับศัพท์โดยมีเครื่องหมายยัติภังค์ตามที่ปรากฏในภาษาเยอรมัน เช่น
Karl-Heinz Rummenigge
Karl-Theodor zu Guttenberg
Großherzog Carl-Friedrich von Sachsen-Weimar-Eisenach
=
=
=
คาร์ล-ไฮนทซ์ รุมเมอนิกเกอ
คาร์ล-เทโอดอร์ ซู กุทเทินแบร์ค
โกรสแฮร์ทโซคคาร์ล-ฟรีดริช ฟ็อน ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค
คำทับศัพท์ที่เป็นชื่อเฉพาะ ถ้าทับศัพท์เป็นภาษาไทยแล้วอาจอ่านแยกพยางค์ผิด จะใส่เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อช่วยให้อ่านถูกต้องก็ได้ เช่น
Otto von Guericke [ˈɔtoː fɔn ˈɡeːʀɪkə]
Georg Simon Ohm [ˈɡeːɔɐ̯k ˈziːmɔn oːm, ˈɡeːɔʀk —]

=
=

อ็อทโท ฟ็อน เกริคเคอ, อ็อทโท ฟ็อน เก-ริคเคอ
เกออร์ค ซีม็อน โอม, เกออร์ค ซีม็อน โอห์ม,
เก-ออร์ค ซีม็อน โอม, เก-ออร์ค ซีม็อน โอห์ม

30. ชื่อเมืองที่ตามด้วยอักษรย่อของชื่อภูมิศาสตร์ ให้เขียนทับศัพท์เป็นชื่อเต็มตามการออกเสียงโดยเว้นวรรคตามภาษาเยอรมัน เช่น

Frankfurt a.M., Frankfurt/M
Frankfurt a.d.O., Frankfurt/O
Rothenburg o.d.T.
Freiburg i.Br.
ย่อมาจาก
ย่อมาจาก
ย่อมาจาก
ย่อมาจาก
Frankfurt am Main
Frankfurt an der Oder
Rothenburg ob der Tauber
Freiburg im Breisgau
=
=
=
=
ฟรังค์ฟวร์ท อัม ไมน์
ฟรังค์ฟวร์ท อัน แดร์ โอเดอร์
โรเทินบวร์ค อ็อพ แดร์ เทาเบอร์
ไฟรบวร์ค อิม ไบรส์เกา

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพปราบอ้วนสุด การทัพกัวดัลคะแนล