ประวัติ ของ การทำให้ไว

ศ. ดร. เอริก แคนเดล เป็นบุคคลแรกที่ได้ศึกษามูลฐานทางประสาทของปรากฏการณ์นี้ โดยทำการทดลองต่าง ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เกี่ยวกับรีเฟล็กซ์การหดเหงือกสำหรับหายใจ (gill) ของทากทะเล Aplysiaดร. แคนเดลและผู้ร่วมงานตอนแรกสร้างความเคยชิน (habituation) ให้กับรีเฟล็กซ์นี้ก่อน โดยสัมผัสท่อน้ำของทาก (ที่เชื่อมกับเหงือกหายใจ) อย่างซ้ำ ๆ เพื่อลดการตอบสนองแล้วจับคู่สิ่งเร้าอันตรายเป็นกระแสไฟฟ้าที่หางทากร่วมกับการสัมผัสท่อน้ำ เป็นเหตุให้รีเฟล็กซ์การหดท่อฟื้นกลับมาอีกหลังจากทำให้ไวความรู้สึกเช่นนี้ การสัมผัสท่อน้ำอย่างเดียวจะทำให้ทากตอบสนองด้วยการหดเหงือกอย่างรวดเร็ว และความไวความรู้สึกเช่นนี้จะคงยืนเป็นเวลาหลายวัน[4]ในปี พ.ศ. 2543 ดร. แคนเดลได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ สำหรับงานวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ทางนิวรอน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทำให้ไว http://users.ipfw.edu/abbott/314/Non-associativeLe... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... //dx.doi.org/10.1007%2Fs004310051024 //dx.doi.org/10.1016%2FS0022-3476(05)81408-8 //dx.doi.org/10.1016%2Fj.pneurobio.2004.03.009 //dx.doi.org/10.1037%2F0033-295X.105.2.325 //dx.doi.org/10.1038%2Fnrn1556