การบริบาลบรรเทา

การรักษาบรรเทา[1], การบริบาลประทัง[1] (อังกฤษ: palliative treatment, palliative care) หรือนิยมเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคอง[ต้องการอ้างอิง] คือการให้การดูแลรักษาแบบใด ๆ ทางการแพทย์ ที่เน้นไปที่การลดความรุนแรงของอาการของโรค มากกว่าจะหยุด ชะลอ หรือย้อนกระบวนการของโรค หรือรักษาให้หายจากโรค เป้าหมายของการรักษาแบบนี้คือเพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงหรือซับซ้อนมาก การรักษาบรรเทานี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับพยากรณ์โรคของผู้ป่วยว่าดีหรือแย่เพียงใด และสามารถให้พร้อมกันกับการรักษาเพื่อให้หายและการรักษาอื่น ๆ ทั้งหลายได้ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างการรักษาบรรเทากับการรักษาระยะสุดท้าย (hospice care) ซึ่งเป็นการให้การรักษาบรรเทากับผู้ป่วยระยะสุดท้าย การรักษาทั้งสองแบบในสหรัฐอเมริกามีหลักการบางอย่างร่วมกันแต่มีแหล่งเงินสนับสนุนคนละแหล่งกันบ

ใกล้เคียง

การบริจาคโลหิต การบริหารคลังสาธารณะประเทศฝรั่งเศส การบริหารเวลา การบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชรอบปฐมทัศน์ที่เลนินกราด การบริหารรัฐกิจ การบรรจุแบบสุญญากาศ การบริจาคอวัยวะ การบริบาลบรรเทา การบริโภค (เศรษฐศาสตร์) การบริการ