พื้นเพ ของ การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ

ในปี 1991 นักวิจัยชาวอังกฤษคู่หนึ่ง (Philip Barnard และ John D. Teasdale) ได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับใจมีหลายระดับที่เรียกว่า “Interacting Cognitive Subsystems” (ICS)ที่อ้างว่า ใจมีรูปแบบ (mode) หลายอย่างที่มีหน้าที่รับและประมวลข้อมูลใหม่ ๆ ทั้งทางการรู้คิดและทางอารมณ์ทฤษฎีนี้สัมพันธ์ความเสี่ยงต่อความซึมเศร้าของบุคคลกับระดับที่บุคคลใช้รูปแบบเดียวของใจ โดยระงับการทำงานแบบอื่น ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ[8]

รูปแบบหลักสองอย่างของใจรวมทั้งแบบ "ทำ" และแบบ "เป็น"แบบ "ทำ" รู้จักอีกอย่างว่าแบบ "มีแรงจูงใจ"ซึ่งเป็นแบบที่สนใจในเป้าหมาย และจะทำงานเมื่อสิ่งที่ใจต้องการให้เป็นขัดแย้งกับเหตุการณ์จริง ๆ[9]แบบที่สองคือแบบ "เป็น"ที่ไม่ได้สนใจการเข้าถึงเป้าหมาย แต่เน้นที่ "ยอมรับและปล่อยให้เป็นอย่างที่เป็น" โดยไม่กดดันที่จะเปลี่ยนสถานการณ์ในปัจจุบัน[9]:73

องค์ประกอบหลักของทฤษฎีนี้ก็คือ ความสำนึกถึงความคิด (metacognitive awareness)ซึ่งเป็นความสามารถประสบกับความคิดและความรู้สึกเชิงลบโดยเป็นเพียงเหตุการณ์ทางใจที่แค่ผ่านไป โดยไม่ใช่เป็นส่วนของบุคคลนั้น ๆ[10]คนที่สำนึกถึงความคิดของตนเองสูงสามารถหลีกเลี่ยงความซึมเศร้าและรูปแบบความคิดเชิงลบได้ง่ายกว่าเมื่อเผชิญกับสถานการณ์เครียดในชีวิต เทียบกับบุคคลที่มีความสามารถนี้ต่ำกว่า[10]การสำนึกถึงความคิดเห็นได้จากความสามารถของบุคคลที่จะไม่ยึดว่าเป็นตน (decenter)ซึ่งเป็นความสามารถรับรู้ความคิดและความรู้สึก ทั้งโดยความไม่เที่ยงและความเป็นเหตุการณ์ที่เป็นกลาง ๆ/เป็นปรวิสัยที่เกิดในใจ[8]

ตามทฤษฎีนี้ สุขภาพจิตขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลที่จะยุติรูปแบบการทำงานของจิต หรือที่จะเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งดังนั้น บุคคลที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบใจอย่างยืดหยุ่นได้โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมจะมีสุขภาพจิตดีที่สุดทฤษฎีนี้สมมุติว่า รูปแบบ "เป็น" จะเป็นรูปแบบที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่คงยืนดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดความซึมเศร้าอีก การบำบัดทางประชานจะต้องโปรโหมตรูปแบบการทำงานนี้ของใจซึ่งนำไปสู่การพัฒนา MBCT ซึ่งโปรโหมตรูปแบบนี้[8]

ยังมีบุคคลอื่นที่ช่วยสร้างวิธีการบำบัดนี้ (คือ Zindel Segal และ J. Mark G. Williams) และมีฐานส่วนหนึ่งจากโปรแกรมการลดความเครียดอาศัยสติ (mindfulness-based stress reduction ที่พัฒนาโดย Jon Kabat-Zinn)[11]ทฤษฎีพื้นฐานของการแก้ปัญหาทางจิตวิทยาโดยอาศัยสติก็คือ การรู้สิ่งที่เป็นปัจจุบันโดยไม่เพ่งเรื่องในอดีตหรือในอนาคต ช่วยให้คนไข้สามารถรับมือตัวสร้างความเครียดในปัจจุบัน และกับความรู้สึกเป็นทุกข์ โดยมีใจที่สามารถยืดหยุ่นยอมรับได้ แทนที่จะหลีกเลี่ยง ซึ่งจะทำให้ปัญหายืนยาวขึ้น[5]

ใกล้เคียง

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบผสมอากาศอัตราการไหลสูง การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ การบําบัดโดยพืช การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ การบำรุงรักษา การบำรุงความงามของสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01406... http://www.franticworld.com/ http://mbct.com/ http://www.mbct.com http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/1465185... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2898899 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20599141 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21219193