กลไกการทำงาน ของ การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบผสมอากาศอัตราการไหลสูง

การให้ออกซิเจนทำได้โดยการเพิ่ม FiO2 ในการไหลของอากาศให้กับผู้ป่วย การป้อนอย่างต่อเนื่องของทางเดินหายใจส่วนบนจะสร้างมวลอากาศที่ช่วยลดการหมุนเวียนการหายใจอากาศในห้องลงจนกลายเป็นสัดส่วนของออกซิเจนจากการหายใจเข้าที่ถูกต้องตามที่กำหนดโดยอุปกรณ์

การหมุนเวียนอากาศ

ระบบการไหลเวียนสูงผ่านสายช่วยหายใจทางช่องจมูก จะส่งกระแสแก๊สที่สามารถตอบสนองและใกล้เคียงกับความต้องการของการหายใจทั้งหมดได้[10] การไหลเวียนนี้ถูกส่งผ่านระบบสายที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กและช่องขนาดเล็กที่ยื่นเข้าในจมูกช่วยให้การไหลของแก๊สที่ตามปกติเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจส่วนบนอย่างช้า ๆ มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและรักษาปริมาณแก๊สใหม่ให้คงที่ซึ่งจะชะล้างช่องทางเดินหายใจส่วนบนที่ถูกปิดกั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ[11]

การไหลของแก๊สใหม่อย่างต่อเนื่องนี้จะสร้างสภาวะแวดล้อมที่ช่วยในการหายใจออกโดยการชะล้างอากาศที่หายใจออกออกไปเพื่อรักษามวลของอากาศบริสุทธิ์ให้พร้อมสำหรับการหายใจเข้า

การปรับความชื้น

การไหลเวียนที่สูงขึ้น ทำให้การทำความชื้นและการปรับสภาพของการไหลเวียนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น หากไม่มีความชื้นการให้ออกซิเจนและการหมุนเวียนอากาศของการบำบัดด้วยการไหลเวียนสูงจะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลกระทบด้านลบอย่างรวดเร็วจากอากาศแห้งที่มีต่อเนื้อเยื่อปอด[12][13][14]

ใกล้เคียง

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบผสมอากาศอัตราการไหลสูง การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ การบําบัดโดยพืช การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ การบำรุงรักษา การบำรุงความงามของสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบผสมอากาศอัตราการไหลสูง //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15271229 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17262040 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17363769 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17855805 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18539721 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19327183 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19467849 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19703816 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20144858 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20406507