ประวัติ ของ การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้

คำว่า "การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้" ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2521 จากการเผยแพร่หนังสือ การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ โดย สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ซึ่งกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้อุปถัมภ์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา หนังสือเล่มนี้เขียนโดย มร. สแตนเลย์ โนวแลน และ มร. โฮเวิร์ด ฮีพ หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงกระบวนการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของเครื่องบินโบอิ้ง 747 โดยสายการบินพาณิชย์

ในยุคแรกของเครื่องบินโดยสารแบบเจ็ทได้ประสบปัญหาอัตราการตกที่สูงมาทำให้องค์การบริหารการบินของสหรัฐหรือที่เรียกชื่อย่อว่า FAA และสายการบินมีความพยายามและหาวิธีการที่จะจัดการปัญหาเหล่านี้ ตอนต้นปี พ.ศ. 2500 FAA และสายการบินได้ทำการศึกษาและวิจัยทางวิศวกรรมสำหรับการเสียหายของเครื่องบิน จากการศึกษาวิจัยพบว่าความเชื่อของนักออกแบบ และผู้บำรุงรักษา มีความเชื่อว่า"ทุกชิ้นส่วนของเครื่องบินมีอายุการใช้งาน" ทำให้แผนการบำรุงรักษาเครื่องบินในยุคนั้นได้กำหนดเวลาในการโอเวอร์ฮอลหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องบินเกือบทั้งหมด แต่ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยกลับพบว่า "ความเสียหายของเครื่องบินเกือบทั้งหมดนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับอายุ" หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อกำหนดแผนการบำรุงรักษาเครื่องบินจนกระทั่งประสบความสำเร็จด้วยหลักการของการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ ทำให้สามารถลดอัตราการตกของเครื่องบินได้ถึง 20 เท่า การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ได้ยกระดับความคิดในการบำรุงรักษาสินทรัพย์ดังต่อไปนี้

  • แบบฉบับการเสียหายมีอยู่ 6 แบบด้วยกันซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกมีสามแบบฉบับการเสียหายซึ่งความเสียหายจะมีความสัมพันธ์กับอายุจะมีประมาณ 10% กลุ่มที่สองมีสามแบบฉบับการเสียหายที่ความเสียหายไม่มีความสัมพันธ์กับอายุหรือเป็นแบบสุ่มจะมีประมาณ 90%
  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกันไม่ใช่เทคนิคที่ถูกต้องที่จะนำมาใช้จัดการความเสียหายของสินทรัพย์เพราะว่าการเสียหายเกือบทั้งหมดไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ
  • การบำรุงรักษาควรให้ความสำคัญกับผลพวงความเสียหายมากกว่าการดูแลทางกายภาพของสินทรัพย์
  • ทำให้เรามีความเข้าใจถึงพื้นฐานเทคนิคงานบำรุงรักษาว่ามีสี่เทคนิคด้วยกันดังนี้ งานแก้ไข งานป้องกัน งานตามสภาพ และงานค้นหาความเสียหาย โดยที่แต่ละเทคนิคมีความสำคัญและมีความเหมาะสมที่จะจัดการความเสียหายบางรูปแบบ ซึ่งการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ให้เกณฑ์การพิจารณาในการเลือกแต่ละเทคนิค
  • การบำรุงรักษาเพียงลำพังไม่สามารถยกระดับความเชื่อถือได้ของสินทรัพย์ ดังนั้นการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ให้เกณฑ์การพิจารณากลยุทธ์อื่นที่อยู่นอกเหนือการบำรุงรักษาอีก เช่น การออกแบบทางกายภาพใหม่ การเพิ่มความรู้ให้กับผู้ใช้และผู้ทำการบำรุงรักษาสินทรัพย์ การพัฒนาเอกสารมาตรฐานวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาสินทรัพย์

ใกล้เคียง

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบผสมอากาศอัตราการไหลสูง การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ การบําบัดโดยพืช การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ การบำรุงรักษา การบำรุงความงามของสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย