การบุกครองอิรัก_พ.ศ._2546
การบุกครองอิรัก_พ.ศ._2546

การบุกครองอิรัก_พ.ศ._2546

 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 ออสเตรเลีย
 โปแลนด์กลุ่มทหารจาก:
Iraqi National Congress[2][3][4]
Peshmerga ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน (หยุดยิงในค.ศ. 2003)[7] อันศอรอัลอิสลาม มะซูด บัรซานี
บาบาเกอร์ เชากัต บี. เซบารี
ญะลาล ตะละบานี
โคสรัต ระซูล อะลี
อะฮ์เหม็ด ญะละบี ออสเตรเลีย: ทหาร 2,000 นาย
 โปแลนด์: กองกำลังพิเศษ 194 นาย[11] Peshmerga: 70,000[12]
Mehdi Army: 1600–2800รวม:
ตาย 238 นาย, บาดเจ็บ 1,000+ นาย7,600–11,000 นาย (ผลสำรวจและรายงานเป็น 4,895–6,370 นาย)[20][21]13,500–45,000 นาย (หน่วยทหารรอบแบกแดด)[22]
รวม: ถูกฆ่า 7,600–8,000 นาย7,269 คน (จากการนับศพ)[23]แม่แบบ:Better source
3,200–4,300 (จากรายงาน)[20]การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 (19 มีนาคม – 1 พฤษภาคม 2546) เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่เรียกว่า สงครามอิรัก หรือปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก ซึ่งกำลังผสมอันประกอบด้วยทหารจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและโปแลนด์บุกครองอิรักและโค่นรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซนภายในปฏิบัติการรบหลักนาน 21 วัน ระยะบุกครองประกอบด้วยสงครามรบตามแบบซึ่งจบลงด้วยการยึดครองกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก โดยกำลังผสมสี่ประเทศที่สนับสนุนกำลังพลระหว่างระยะบุกครองเริ่มต้น ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2546 ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา (148,000), สหราชอาณาจักร (45,000), ออสเตรเลีย (2,000) และโปแลนด์ (194) อีก 36 ประเทศเข้าร่วมในผลตามหลัง ในการเตรียมการบุกครอง ทหารสหรัฐ 100,000 นายประชุมกันในคูเวตจนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์[24] สหรัฐอเมริกาเป็นกำลังบุกครองส่วนใหญ่ แต่ยังได้รับการสนับสนุนจากทหารนอกประจำการชาวเคิร์ดในเคอร์ดิสถานอิรักประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี แบลร์ กล่าวถึงเหตุผลสำหรับการบุกครองว่า "เพื่อปลดอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงของอิรัก, เพื่อยุติการสนับสนุนการก่อการร้ายของซัดดัม ฮุสเซนตามที่มีการกล่าวหา และเพื่อปลดปล่อยชาวอิรัก"[25] อย่างไรก็ดี อดีตหัวหน้าที่ปรึกษาต่อต้านการก่อการร้ายต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ ริชาร์ด เอ. คลาร์กเชื่อว่าบุชเข้าดำรงตำแหน่งพร้อมแผนการบุกครองอิรัก[26] ส่วนแบลร์ระบุว่า สาเหตุคือ ความล้มเหลวของอิรักในการฉวย "โอกาสสุดท้าย" ในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ เคมีและชีวภาพของตนเองตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งทางการสหรัฐและอังกฤษเรียกว่าเป็น ภัยคุกคามทันด่วนและทนไม่ได้ต่อสันติภาพโลก[27] ในปี 2548 หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกาออกรายงานระบุว่า ไม่พบอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก[28]ในเดือนมกราคม 2546 การสำรวจความคิดเห็นของซีบีเอสพบว่า ชาวอเมริกัน 64% สนับสนุนการปฏิบัติทางทหารต่ออิรัก อย่างไรก็ดี 63% ต้องการให้บุชหาทางออกทางการทูตมากกว่าการทำสงคราม และ 62% เชื่อว่าภัยคุกคามอันเนื่องมาจากการก่อการร้ายต่อสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเพราะสงคราม[29] การบุกครองอิรักได้รับการคัดค้านอย่างแข็งขันจากพันธมิตรดั้งเดิมของสหรัฐ รวมทั้งรัฐบาลฝรั่งเศส เยอรมนี นิวซีแลนด์และแคนาดา[30][31][32] ผู้นำของชาติเหล่านี้แย้งว่าไม่มีหลักฐานอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก และการบุกครองอิรักจะไม่ได้รับความชอบธรรมในบริบทของรายงานคณะตรวจสอบอาวุธทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจสอบอาวุธเคมี ชีวภาพและพาหะนำส่งของสหประชาชาติ (UNMOVIC) เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ หนึ่งเดือนก่อนการบุกครอง มีการประท้วงทั่วโลกต่อต้านสงครามอิรัก รวมทั้งการชุมนุมกว่าสามล้านคนในกรุงโรม ซึ่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์บันทึกไว้ว่าเป็นการชุมนุมต่อต้านสงครามที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมี[33] นักวิชาการฝรั่งเศส Dominique Reynié ระบุว่า ระหว่างวันที่ 3 มกราคมถึง 12 เมษายน 2546 มีประชาชน 36 ล้านคนทั่วโลกเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านสงครามอิรักเกือบ 3,000 ครั้ง[34]ก่อนหน้าการบุกครองมีการโจมตีทางอากาศต่อทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงแบกแดดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2546 วันรุ่งขึ้น กำลังผสมได้เริ่มบุกครองเข้าสู่จังหวัดบาสราจากจุดระดมพลใกล้กับพรมแดนอิรัก-คูเวต ขณะที่กองกำลังพิเศษโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบกจากอ่าวเปอร์เซียเพื่อยึดบาสรา และบ่อปิโตรเลียมที่อยู่โดยรอบ กองทัพบุกครองหลักเคลื่อนเข้าไปในอิรักตอนใต้ ยึดครองพื้นที่นั้นและรบในยุทธการนาซิริยาห์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม การโจมตีทางอากาศขนานใหญ่ทั่วประเทศและต่อระบบบัญชาการและควบคุมของอิรักทำให้กองทัพฝ่ายป้องกันโกลาหลและไม่อาจต้านทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันที่ 26 มีนาคม กองพลน้อยพลร่มที่ 173 โดดร่มลงใกล้กับนครคีร์คูกทางเหนือ ซึ่งพวกเขาเข้าร่วมกับกำลังกบฏชาวเคิร์ดและดำเนินการปฏิบัติหลายครั้งต่อกองทัพอิรักเพื่อยึดครองส่วนเหนือของประเทศทัพผสมหลักเคลื่อนตัวต่อไปยังใจกลางอิรักและพบกับการต้านทานเพียงเล็กน้อย ทหารอิรักส่วนใหญ่พ่ายแพ้อย่างรวดเร็วและกรุงแบกแดดถูกยึดครองเมื่อวันที่ 9 เมษายน ปฏิบัติการอื่นเกิดขึ้นต่อวงล้อมกองทัพอิรักรวมทั้งการยึดคีร์คูกเมื่อวันที่ 10 เมษายน และการโจมตีและยึดทิกริตเมื่อวันที่ 15 เมษายน ประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน และผู้นำส่วนกลางหลบซ่อนตัวหลังกำลังผสมสำเร็จการยึดครองประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม มีการประกาศยุติปฏิบัติการรบหลัก อันเป็นการยุติของขั้นบุกครองและการเริ่มต้นของขั้นการยึดครองทางทหาร จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 มีรายงานว่า ยอดพลเรือนเสียชีวิตอยู่ที่ 36,533 คน และการศึกษาดังกล่าวศึกษาเฉพาะพื้นที่อิรักส่วนที่มิใช่ของชาวเคิร์ด[35]

การบุกครองอิรัก_พ.ศ._2546

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่20 มีนาคม – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2003
(1 month, 1 week and 4 days)
สถานที่ประเทศอิรัก
ผลลัพธ์ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
สถานที่ ประเทศอิรัก
ผลลัพธ์ ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
วันที่ 20 มีนาคม – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2003
(1 month, 1 week and 4 days)

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกครองยูโกสลาเวีย การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบุกครองอิรัก_พ.ศ._2546 http://www.cbsnews.com/stories/2003/01/23/opinion/... http://www.cnn.com/2003/WORLD/meast/02/18/sprj.irq... http://www.guinnessworldrecords.com/content_pages/... http://www.lebanonwire.com/0304/03040113DS.asp http://www.msnbc.msn.com/id/7634313/ http://www.thecanadianencyclopedia.com/index.cfm?P... http://www.wanniski.com/showarticle.asp?articleid=... http://etd.lib.fsu.edu/theses/available/etd-111420... http://georgewbush-whitehouse.archives.gov/news/re... http://georgewbush-whitehouse.archives.gov/news/re...