ผลกระทบ ของ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย_พ.ศ._2551

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่าตั้งแต่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิงดเที่ยวบิน ตั้งแต่เวลา 22.00-18.00 น. มีเที่ยวบินได้รับผลกระทบ 402 เที่ยวบิน และจากที่ไม่สามารถให้บริการเที่ยวบินขึ้น-ลงได้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนนั้น ได้ประเมินความเสียหายพบว่า ตั้งแต่เวลา 22.00 น.วันที่ 25 พฤศจิกายน จนถึง 18.00 น.วันที่ 26 พฤศจิกายน คาดว่าท่าอากาศยานไทยจะสูญเสียรายได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมขึ้น-ลงสนามบินกว่าวันละ 53 ล้านบาท จากเที่ยวบินที่ขึ้น-ลงไม่ได้กว่า 292 เที่ยวบิน ยังไม่รวมค่าร้านค้าและค่าเช่าพื้นที่ของกลุ่มคิงส์เพาเวอร์ด้วย[21]

นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าความเสียหายที่คาดการณ์ในเบื้องต้น ทั้งช่วงที่เกิดเหตุการณ์ชุมนุม และผลกระทบต่อเนื่องอีก 6 เดือน คาดว่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทปี พ.ศ. 2551 ที่จะขาดทุน รวมถึงกระทบต่อแผนการใช้เงินของบริษัท โดยเฉพาะเงินกู้ระยะสั้นที่อาจต้องรีไฟแนนซ์ประมาณ 10,000 ล้านบาท และแผนการชำระค่าเครื่องบิน ดังนั้น จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาหาเงินอุดหนุนให้หรือหาแหล่งเงินกู้ประมาณ 20,000 ล้านบาท[22]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า ทางศูนย์ได้ประเมินผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน และการปิดสนามบินสุวรรณภูมิออกเป็น 2 กรณี กรณีแรกสถานการณ์ยืดเยื้อแต่จบภายในเดือนพฤศจิกายน 2551 จะทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ขยายตัว 2.8-3.3% และผลกระทบทางการเมืองต่อระบบเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2551 จะทำให้เกิดการสูญเสียด้านต่างต่างๆ ดังนี้ ด้านบริโภค 15,000-20,000 ล้านบาท ด้านลงทุน 6,000-11,000 ล้านบาท ด้านส่งออก 10,000-24,000 ล้านบาท ด้านท่องเที่ยว 42,000-75,000 ล้านบาท และต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ 73,000-130,000 ล้านบาท และเศรษฐกิจไทยปี 2551 ขยายตัว 4.5-4.8%

กรณีที่สอง สถานการณ์ยืดเยื้อจนถึงเดือนธันวาคม 2551 ทำให้ไตรมาส 4 เศรษฐกิจขยายตัวเหลือ 1.5-2% และเกิดความสูญเสียในด้านบริโภค 21,000-30,000 ล้านบาท การลงทุน 12,000-25,000 ล้านบาท การส่งออก 25,000-40,000 ล้านบาท การท่องเที่ยว 76,000-120,000 ล้านบาท ต่อเศรษฐกิจโดยรวม 134,000-215,000 ล้านบาท และขยายตัวเหลือ 4.1-4.4% ซึ่งกรณีที่สองจะมีความเป็นไปได้สูง และกระทบต่อการขยายตัวให้ตกต่ำลงไปอีกในไตรมาสแรกของปี 2552 และทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้า จากคาดการณ์เดิมขยายตัว 3-4% เหลือ 2-3% ใกล้เคียงกับปี 2545 ที่ขยายตัว 2% และอาจกระทบต่อการจ้างงานลดลงกว่า 1 ล้านคน

คดีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย นั้นเป็นไปอย่างล่าช้ามาก พนักงานอัยการใช้เวลาทำคดี 4 ปี 5 เดือน เลื่อนฟ้องถึง 18 ครั้ง และส่งฟ้องในที่สุดในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อพนักงานอัยการในประเทศไทยเป็นอย่างมาก[23][24]

ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560 ศาลฎีกายกคำร้อง 13 แกนนำ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่งผลให้คดีทางแพ่งจบลง โดยศาลให้ชดใช้ค่าเสียหาย 522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 ธ.ค.51 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ[25]

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566 การบุกครองยูโกสลาเวีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย_พ.ศ._2551 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/495111 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/773876 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/802974 http://kohcafe.blogspot.com/2008/12/blog-post.html http://www.democraticthai.com/board/index.php?topi... http://www.giggog.com/crime/cat4/news16601/ http://www.giggog.com/politic/cat3/news21373/ http://www.giggog.com/politic/cat3/news21469/ http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM... http://news.hunsa.com/detail.php?id=13001