เบื้องหลัง ของ การปฏิวัติตูนิเซีย

ประธานาธิบดีบิน อะลีปกครองตูนิเซียมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 รัฐบาลของเขา ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อและในหมู่องค์การพัฒนาเอกชน ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสเนื่องจาก "การจับกุมตัวพวกอิสลามมาลงโทษ [และ] วาระด้านเศรษฐกิจของเขาได้รับการชักชวนว่าเป็นรูปแบบที่หลักแหลมซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในแอฟริกาเหนือ และเขาพิสูจน์แล้วว่าเป็นพันธมิตรที่เด็ดเดี่ยวและกระตือรือร้นของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปมีส่วนพัวพันในโครงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก" ผลที่ตามมาคือ ปฏิกิริยาภายในต่อการละเมิดอำนาจของบิน อะลีจึงไม่มีการรายงานในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส และในหลายกรณีตัวอย่างของการประท้วงทางสังคมและการเมือง เมื่อเกิดขึ้นในประเทศตูนิเซียแล้ว น้อยครั้งที่จะปรากฏเป็นพาดหัวข่าวสำคัญในสื่อ

การประท้วงในตูนิเซียเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก[23] และเป็นที่น่าสังเกตว่า โดยเฉพาะอย่างตูนิเซียมักจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งและมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค[24] อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ยังได้รายงานว่า นักเคลื่อนไหวชาวตูนิเซียเป็นกลุ่มที่เปิดเผยมากที่สุดในภูมิภาคของโลก โดยมีข้อความสนับสนุนหลายข้อความถูกโพสต์ลงในทวิตเตอร์เพื่อสนับสนุนอัลบูอะซีซี[25] บทความที่ไม่เห็นด้วยกับบรรณาธิการในเครือข่ายเดียวกันยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น "การประท้วงพลีชีพด้วยความสิ้นหวังของเยาวชนตูนิเซีย" นอกจากนี้ ยังได้ชี้ว่ากองทุนเอกภาพแห่งชาติและกองทุนการจ้างงานแห่งชาติเดิมได้ให้การสนับสนุนสินค้าและบริการในประเทศ แต่ได้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลง "ภาระการจัดการจากรัฐสู่สังคม" เพื่อให้มีการนำเงินมาชำระโดย "ชุมชนแออัด" หรือเขตชุมชนห่างไกลความเจริญ ซึ่งตั้งอยู่รอบเมืองและชานเมืองที่ร่ำรวย นอกจากนี้ยังได้มีการอ้างถึง "การทำให้พื้นที่เกษตรกรรมและแห้งแล้ง ตลอดจนพื้นที่ทางใต้ของประเทศไม่มีความสำคัญยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ลดละ"[26] การประท้วงดังกล่าวยังได้ถูกเรียกว่าเป็น "การลุกฮือของประชาชน" เนื่องจาก "การรวมกันอย่างร้ายแรงของความยากจน ภาวะการว่างงาน และการเก็บกดทางการเมือง: คุณลักษณะสามประการที่ปรากฏในสังคมอาหรับส่วนใหญ่"[27] อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะความไร้ความสามารถของรัฐบาลตูนิเซียที่จะเซ็นเซอร์ข้อมูลไม่ให้ชาวตูนิเซียเข้าถึง อย่างเช่นข้อมูลจากวิกิลีกส์ที่อธิบายถึงการคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงในรัฐบาลตูนิเซีย[28]

การประท้วงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ในซีดีบูซีดส่วนใหญ่ไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าเว็บไซต์สื่อสังคม อย่างเช่น เฟซบุ๊กและยูทูบจะได้นำเสนอภาพของตำรวจสลายการชุมนุมของเยาวชนผู้ซึ่งทำลายกระจกของร้านค้าและรถยนต์ได้รับความเสียหาย ผู้ประท้วงคนหนึ่ง มุฮัมมัด อัลบูอะซีซี จุดไฟเผาตนเองเพื่อเป็นการประท้วงต่อการยึดแผงลอยขายผักและผลไม้ของเขา[29] ในเวลาต่อมา เขาได้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลในตูนิส ที่ซึ่งเขาได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 มกราคม[30]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปฏิวัติตูนิเซีย http://english.people.com.cn/90001/90777/90855/726... http://www.cbsnews.com/stories/2011/01/10/world/ma... http://mideast.foreignpolicy.com/posts/2011/01/02/... http://www.foxnews.com/world/2012/05/05/report-338... http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5... http://24sur24.posterous.com/video-today-a-young-u... http://af.reuters.com/article/topNews/idAFJOE70408... http://uk.reuters.com/article/2013/10/23/uk-tunisi... http://www.reuters.com/article/2011/06/08/us-tunis... http://strike-the-root.com/internet-and-muhammad-b...