การปฏิวัติเชิงปริมาณ

การปฏิวัติเชิงปริมาณ (อังกฤษ: quantitative revolution) คือการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ซึ่งพยายามที่จะพัฒนาระเบียบวิธีสำหรับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ให้เป็นระบบและเคร่งครัดมากขึ้น การปฏิวัติเชิงปริมาณเข้ามาเติมเต็มการอธิบายพลวัตเชิงพื้นที่โดยทั่วไปซึ่งภูมิศาสตร์ภูมิภาคอธิบายได้ไม่ครบถ้วน ข้อเรียกร้องสำคัญของการปฏิวัติเชิงปริมาณคือการสร้างการเปลี่ยนผ่านจากภูมิศาสตร์ที่เน้นการพรรณนาไปสู่ภูมิศาสตร์ที่เน้นการสร้างกฎเชิงประจักษ์ การปฏิวัติเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 และได้สร้างการเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีเบื้องหลังการวิจัยทางภูมิศาสตร์อย่างรวดเร็วจากภูมิศาสตร์ภูมิภาคไปสู่วิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่[1][2]ในประวัติศาสตร์ของภูมิศาสตร์ การปฏิวัติเชิงปริมาณเป็นหนึ่งในสี่จุดเปลี่ยนสำคัญของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ โดยอีกสามอย่างคือนิยัตินิยมทางสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ภูมิภาคและภูมิศาสตร์เชิงวิพากษ์การปฏิวัติเชิงปริมาณของภูมิศาสตร์เกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติเชิงปริมาณในสาขาเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยา เกิดขึ้นพร้อมกับสาขารัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้านอื่น ๆ และเกิดขึ้นก่อนหน้าสาขาประวัติศาสตร์

ใกล้เคียง