การปราบจลาจล
การปราบจลาจล

การปราบจลาจล

การควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: Riot control) หมายถึง การบังคับใช้มาตรการของผู้บังคับใช้กฏหมาย, กองกำลังทหาร, หรือกองกำลังรักษาความปลอดภัยในการควบคุม, กระจายกำลัง, และจับกุมผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจลาจล, การเดินขบวน, หรือการประท้วง ถ้าการชุมนุมเกิดขึ้นโดยไม่มีเป้าหมาย และไร้เหตุผลที่จะชุมนุม หน่วยควบคุมฝูงชนจะเจรจาให้หยุดและให้คิดสักระยะหนึ่ง (อาทิ การพูดเสียงดัง หรือการพูดอย่างประนีประนอม) โดยเพียงพอที่จะสามารถยุติการชุมนุมได้ อย่างไรก็ตาม หากเจรจาไม่สำเร็จ หน่วยควบคุมฝูงชนจะใช้อาวุธที่มีอัตราตายน้อย (less-lethal) อาทิ กระบอง และแส้ เพื่อสลายการชุมนุมพร้อมกับยับยั้งเหตุจลาจลที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 หน่วยควบคุมฝูงชนจะใช้แก๊สน้ำตา, สเปรย์พริกไทย, กระสุนยาง, และปืนไฟฟ้า ในบางกรณี หน่วยควบคุมฝูงชนจะใช้เครื่องส่งคลื่นความถี่สูง, ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง, พาหนะต่อสู้หุ้มเกราะ, การเฝ้าระวังทางอากาศ, สุนัขตำรวจ หรือตำรวจขี่ม้าด้วยม้าตำรวจ ในส่วนของกำลังพลในการควบคุมฝูงชนจะสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ อาทิ หมวกปราบจลาจล, เกราะหน้า, เกราะป้องกันตัว (อาทิ เกราะอก, เกราะคอ, และสนับเข่า), หน้ากากกันแก๊สพิษ, และโล่ปราบจลาจล อย่างไรก็ดี ยังมีการควบคุมฝูงชนแบบมาตรการขั้นเด็ดขาดซึ่งใช้อาวุธรุนแรงในการปราบจลาจลมี่มีความขัดแย้งระดับสูงมาก

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท