ประเภท ของ การฝึกงาน

มีการฝึกงานในอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมหลากหลาย การฝึกงานมีทั้งได้รับค่าจ้าง ไม่ได้รับค่าจ้าง หรือได้รับค่าจ้างบางส่วน (ในรูปค่าครองชีพ)[5] [6] การฝึกงานอาจเป็นแบบไม่เต็มเวลาหรือเต็มเวลาก็ได้ และมักยืดหยุ่นกับตารางเวลาของนักศึกษา การฝึกงานทั่วไปกินเวลาประมาณหนึ่งถึงสี่เดือน[7] แต่อาจสั้นหรือยาวกว่านั้นขึ้นอยู่กับองค์การที่เกี่ยวข้อง การให้ติดตามการทำงาน (job shadowing) อาจถือเป็นการฝึกงานด้วย[8]

  • การฝึกงานที่ได้รับค่าจ้าง พบปกติในสาขาวิชาชีพ เช่น แพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กฎหมาย ธุรกิจ (โดยเฉพาะการบัญชีและการเงิน) เทคโนโลยี และการโฆษณา[9] การฝึกงานเพื่อประสบการณ์การทำงานปกติจัดขึ้นในช่วงปีที่สองหรือสามของการเล่าเรียน การฝึกงานประเภทนี้เป็นการเพิ่มพูนความรู้ของผู้ฝึกงานทั้งในการศึกษาในโรงเรียนและในบริษัทด้วย คาดหมายว่าพนักงานฝึกงานจะนำความคิดและความรู้จากสถาบันการศึกษาเข้าสู่บริษัท[10]
  • การทำงานวิจัย การวิจัยเสมือน (สำเร็จการศึกษา) หรือวาทนิพนธ์: ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาปีสุดท้าย การฝึกงานประเภทนี้ นักศึกษาต้องทำวิจัยให้แก่บริษัทหนึ่ง ๆ[11] บริษัทอาจมีบางด้านที่รู้สึกว่าจำเป็นต้องปรับปรุง หรือนักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อในบริษัทนั้นเอง ผลการศึกษาวิจัยจะมีการเตรียมเป็นรายงานและมักต้องนำเสนอ[11]
  • การฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ปกติมักผ่านงานการกุศลไม่แสวงผลกำไร และ think tank มักเป็นตำแหน่งไม่ได้รับค่าจ้างหรืออาสาสมัคร กฎหมายรัฐและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐอาจกำหนดข้อกำหนดต่อโครงการการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างภายใต้รัฐบัญญัติค่าจ้างขั้นต่ำ โครงการจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์จึงจำแนกอย่างเหมาะสมว่าเป็นการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน
  • การฝึกงานแบบได้รับค่าจ้างบางส่วน คือ เมื่อนักศึกษาได้รับค่าจ้างในรูปค่าครองชีพ ซึ่งปกติเป็นเงินจำนวนตามที่กำหนดซึ่งจ่ายเป็นประจำ ปกติ พนักงานฝึกงานที่ได้รับค่าจ้างแบบนี้จะได้รับค่าจ้างตามตารางที่องค์การกำหนด[5]

การฝึกงานอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น คือ การฝึกงานเสมือน ซึ่งพนักงานฝึกงานทำงานทางไกล คือ ไม่ได้มาฝึกงานด้วยตัวเอง นับเป็นการมอบความสามารถในการหาประสบการณ์อาชีพโดยไม่ต้องกำหนดว่ามาทำงานด้วยตัวเองที่สำนักงาน การฝึกงานดังกล่าวดำเนินการด้วยวิธีเสมือน เช่น โทรศัพท์ อีเมลและการสื่อสารทางเว็บ พนักงานฝึกงานเสมือนโดยทั่วไปมีโอกาสเลือกจังหวะการทำงานของตนเองได้

ค่าธรรมเนียมการฝึกงาน

บริษัทที่มองหาพนักงานฝึกงานมักค้นหาและมอบหมายนักศึกษาในตำแหน่งไม่ได้รับค่าจ้างโดยมีค่าธรรมเนียม[12] บริษัทเหล่านี้เรียกเก็บเงินจากนักศึกษาเพื่อช่วยในการวิจัยโดยสัญญาว่าจะคืนเงินค่าธรรมเนียมหากไม่พบการฝึกงาน [13] โปรแกรมดังกล่าวมีหลากหลายและมุ่งจัดการหาพนักงานฝึกงานให้แก่บริษัทที่มีชื่อเสีงย บางบริษัทอาจให้การเคหะที่มีการควบคุมในนครใหม่ ระบบพี่เลี้ยง การสนับสนุน เครือข่าย กิจกรรมสุดสัปดาห์หรือหน่วยกิตวิชาการ[6]

บางบริษัทเจาะจงจัดหาทุนการศึกษาและเงินอุดหนุนแก่ผู้สมัครรายได้น้อย[5] นักวิจารณ์การฝึกงานวิจารณ์ว่าระบบต้องการหน่วยกิตมหาวิทยาลัยซึ่งจะได้มาต่อเมื่อการฝึกงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเท่านั้น[14] ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของโรงเรียน พฤติการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติที่ไร้จริยธรรม เพราะกำหนดให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนหน่วยกิตค่าเล่าเรียนที่ต้องเสียเงินและมักมีจำกัดเพื่อทำงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน[15] การจ่ายค่าหน่วยกิตวิชาการเป็นวิธีรับประกันว่านักศึกษาสำเร็จระยะเวลาของการฝึกงาน เพราะพวกเขามีสถาบันวิชาการรับผิดชอบอยู่ ตัวอย่างเช่น นักศึกษาอาจได้รับหน่วยกิตวิชาการเฉพาะหลังมหาวิทยาลัยได้รับบทปฏิทัศน์ททางบวกจากผู้ควบคุมดูแลของพนักงานฝึกงานที่องค์การผู้สนับสนุน[16]