ลางสังหรณ์ของแอซเท็กในการล่มสลายของจักรวรรดิ ของ การพิชิตจักรวรรดิแอซเท็กของสเปน

ข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับการพิชิตครั้งนี้ถูกบันทึกโดยชาวสเปน เช่น จดหมายของเอร์นัน กอร์เตสไปถึงจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และเรื่องเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อย่างเบร์นัล ไดอัซ เดล กัซตีโย(Bernal Díaz del Castillo) Historia verdadera de la conquista de la Nueva España (ประวัติศาสตร์แท้จริงของการพิชิตนิวสเปน) แหล่งข้อมูลหลักที่มาจากชนพื้นเมืองซึ่งได้รับผลกระทบจากการพิชิตในครั้งนี้ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงมากนักเนื่องจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชน ดังเช่นที่ชนพื้นเมืองได้บันทึกเป็นอักษรภาพไว้ในช่วงต้น ๆ หลังจากการพิชิตในปี 1528 ข้อมูลในสมัยต่อมาได้ถูกบันทึกโดยชาวแอซเท็คและกลุ่มชนอื่น ๆ ที่อาศัยบริเวณตอนกลางของเม็กซิโก ชนพื้นเมืองดังกล่าวได้อธิบายว่า 9 ปีก่อนที่ชาวสเปนจะมาถึงได้มีลางบอกเหตุเกิดขึ้น 8 ประการ ต่อไปนี้

จักรวรรดิแอซเท็กก่อนที่จะถูกพิชิตโดยสเปน
  1. เพลิงตกมาจากท้องฟ้า
  2. วิหารของเทพเจ้าวีตซีโลโปชตลี (Huitzilopochtli) ถูกเพลิงไหม้
  3. ฟ้าผ่าทำลายวิหารเล็ก ๆ ของเทพชิวเตกตลี (Xiuhtecuhtli)
  4. ไฟพุ่งข้ามมหาสมุทร
  5. น้ำเดือดในที่ลึก ๆ และน้ำท่วมบริเวณทะเลสาบใกล้ ๆ เตโนชตีตลัน
  6. มีเสียงผู้หญิงร้องบอกในเวลาเที่ยงคืน ให้ชาวแอซเท็กหนีออกจากเมือง
  7. "คนสองหัว" วิ่งไปตามถนน
  8. มอกเตซูมาที่ 2 ทรงเห็นคนกำลังต่อสู้กันในกระจกที่อยู่บนหัวนกของพระองค์
  9. การประทุของภูเขาไฟโปโปกาเตเปตล์

ลางบอกเหตุเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชาวแอซเท็กซึ่งเชื่อว่าประวัติศาสตร์จะกลับมาซ้ำรอยอีกครั้ง ว่ากันว่าพระเจ้ามอกเตซูมาที่ 2 (ซึ่งทรงเป็นนักบวชใหญ่ด้วย) ได้ทรงปรึกษานักบวชและนักพยากรณ์ส่วนพระองค์เกี่ยวกับคำอธิบายเกี่ยวกับลางบอกเหตุดังกล่าว แต่ว่าก็ไม่มีใครสามารถอธิบายได้อย่างกระจ่างชัด อาจจะจนกระทั่งการมาถึงของชาวสเปนก็ได้

สังเกตว่า แหล่งที่มาทั้งหมดมักจะบรรยายถึงลางบอกเหตุดังกล่าวและการกลับมาของเทพเจ้าของชาวแอซเท็ก ในจำนวนนี้ยังมีแหล่งที่มาซึ่งริเริ่มโดยพระชาวสเปน และเขียนขึ้นหลังจากการล่มสลายของเตโนชตีตลันในปี 1521 นักชาติพันธุ์ประวัติศาสตร์กล่าวว่า ในเวลาที่ชาวสเปนเดินทางมาถึงนั้น ชนพื้นเมืองและผู้นำของเขาไม่ได้เห็นว่าชาวสเปนเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติแต่อย่างใด หากแต่เห็นว่าเป็นเพียงกลุ่มชนภายนอกที่แลดูมีอำนาจสูงเท่านั้น[6] ตามคำบรรยายของชาวสเปนจำนวนมาก ได้ใช้ลางสังหรณ์เป็นหลักฐานสนับสนุนให้เห็นว่า การพิชิตของชาวสเปนนั้นถูกกำหนดมาก่อนหน้านี้แล้ว และเป็นโชคชะตาของชาวสเปน ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าการที่ชนพื้นเมืองผู้บอกเล่าเหตุการณ์ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับลางสังหรณ์ดังกล่าว และความสับสนไม่ทันได้เตรียมตัวต่อการพิชิตที่เกิดขึ้นนั้น "เป็นเพราะการตีความของผู้บอกเล่าเหตุการณ์ที่หวังจะเอาอกเอาใจชาวสเปน หรือไม่ก็เป็นเพราะไม่พอใจในความล้มเหลวของมอกเตซูมาที่ 2 และนักรบแอซเท็กซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำ"[7] ฮิวจ์ โทมัส (Hugh Thomas) ได้สรุปว่า มอกเตซูมาที่ 2 ทรงลังเลว่าเอร์นัน กอร์เตส เป็นเทพเจ้าจริง ๆ หรือเป็นทูตของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่อยู่ต่างแดนกันแน่ อย่างไรก็ตาม เขาไม่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า มอกเตซูมาที่ 2 ทรงเชื่ออย่างเต็มที่ว่าเอร์นัน กอร์เตส เป็นการกลับชาติมาเกิดของเทพเจ้าเกตซัลโกอัตล์ (Quetzalcoatl) ดังที่เชื่อกันในวงกว้าง

ใกล้เคียง

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ การพิสูจน์ตัวจริงด้วยปัจจัยหลายอย่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค การพิชิตจักรวรรดิแอซเท็กของสเปน การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม การพิชิตมักกะฮ์ การพิสูจน์ตัวจริงโดยไร้รหัสผ่าน การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน การพิมพ์ การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน