การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง

การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง หรือ การฟ้องเจ้าหน้าที่ชั้นสูงในทางอาญา (อังกฤษ: impeachment) เป็นกระบวนการซึ่งสภานิติบัญญัติตั้งข้อกล่าวหาต่อข้าราชการ การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งมิได้ถอดถอนข้าราชการผู้นั้นออกจากตำแหน่ง ทำนองเดียวกับคำฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์ในกฎหมายอาญา จึงเป็นคำแถลงข้อกล่าวหาต่อข้าราชการโดยสภาพ ในขณะที่บางประเทศปัจเจกบุคคลดังกล่าวจะถูกถอดถอนชั่วคราว บางประเทศบุคคลดังกล่าวยังดำรงตำแหน่งอยู่ระหว่างการพิจารณา เมื่อบุคคลถูกยื่นฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นเขาจะต้องเผชิญกับโอกาสถูกพิพากษาลงโทษตามข้อกล่าวหาด้วยการออกเสียงของสภานิติบัญญัติ ซึ่งไม่ใช่การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง แต่เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน และคำพิพากษาซึ่งพิพากษาลงโทษตามคำฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งจะเป็นการถอดถอนข้าราชการผู้นั้นออกจากตำแหน่งเนื่องจากการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งและการพิพากษาลงโทษข้าราชการเกี่ยวข้องกับการกลับกระบวนการปกติตามรัฐธรรมนูญซึ่งบุคคลได้รับตำแหน่งสูง (ผ่านการเลือกตั้ง การให้สัตยาบันหรือการแต่งตั้ง) และโดยทั่วไปต้องการฝ่ายข้างมากกว่าปกติ (supermajority) โดยทั่วไปจึงสงวนไว้สำหรับผู้ที่ดูกระทำการละเมิดในตำแหน่งหน้าที่อย่างร้ายแรง[1] ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐ การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งในระดับสหพันธรัฐจำกัดไว้สำหรับผู้ที่อาจกระทำ "การกบฏ การรับสินบนหรืออาชญากรรมและความผิดอาญาที่ไม่ร้ายแรงระดับสูงอื่น" (Treason, Bribery, or other high crimes and misdemeanors)[2]

ใกล้เคียง

การฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง การฟ้องให้ขับบิล คลินตันออกจากตำแหน่ง การค้าประเวณี การจ้างงาน การค้าประเวณีเด็ก การล้อมเลนินกราด การค้นหาแบบทวิภาค การค้าประเวณีในประเทศไทย การอ้างก้อนหิน การป้องกันภาวะสมองเสื่อม