การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด_ค.ศ._1854
การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด_ค.ศ._1854

การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด_ค.ศ._1854

การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด (อังกฤษ: Broad Street cholera outbreak) หรือ การระบาดในโกลเดนสแควร์ (Golden Square outbreak) คือการระบาดของอหิวาตกโรคอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1854 ใกล้เคียงกับถนนบรอด (ถนนบรอดวิคในปัจจุบัน) ในเขตโซโฮของนครเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของอหิวาตกโรคทั่วโลกในระหว่าง ค.ศ. 1846–1860 การระบาดนี้มีผู้เสียชีวิต 616 คน และเป็นที่รู้จักจากการศึกษาของนายแพทย์จอห์น สโนว์ถึงสาเหตุของการระบาดและสมมติฐานว่าน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเป็นแหล่งกำเนิดของอหิวาตกโรคมากกว่าที่จะเป็นอนุภาคในอากาศ (อ้างอิงจาก "ภาวะอากาศเป็นพิษ")[1][2] การค้นพบนี้มีอิทธิพลต่อทางสาธารณสุขและวางรากฐานในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางสุขาภิบาลในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นคำศัพท์คำว่า "จุดแหล่งโรคของการติดเชื้อ" (focus of infection) ได้ถูกนำมาใช้ในการอธิบายที่เกิดเหตุ อาทิ เครื่องสูบน้ำในถนนบรอดเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่เชื้อ ความพยายามของสโนว์ในการค้นหาสาเหตุของการแพร่เชื้อยังส่งผลให้เขาสร้างการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blind experiment) โดยไม่รู้ตัว

ใกล้เคียง

การระบาดทั่วของโควิด-19 การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19 เรียงตามประเทศและดินแดน การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศทาจิกิสถาน การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศแทนซาเนีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศซาอุดีอาระเบีย การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศบังกลาเทศ การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด_ค.ศ._1854 http://gallery.obs-vlfr.fr/gallery2/v/Aquaparadox/... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11582849 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9772861 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1508470 //doi.org/10.1007%2FBF01593177 //doi.org/10.2105%2Fajph.88.10.1545 //www.worldcat.org/issn/0090-0036 https://archive.org/stream/b28985266#page/n3/mode/... https://web.archive.org/web/20091022114348/https:/...