ศิลปะ ของ การรับรู้ความใกล้ไกล

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก
ภาพวาดตนเองของแร็มบรันต์
รูปภาพบาศกนิยมของ Jean Metzinger
ภาพหุ่นนิ่งของเซซาน

ภาพถ่ายแสดงทัศนมิติ ปกติจะเป็นภาพ 2 มิติที่แสดงความใกล้ไกลที่ไม่มีจริงในภาพนี่ต่างจากภาพจิตรกรรม ซึ่งอาจใช้คุณสมบัติทางกายภาพบางอย่างของสี เพื่อสร้างความนูนโค้งที่มีจริง ๆ และลักษณะแสดงใกล้ไกลอื่น ๆส่วนกล้องดูภาพสามมิติและภาพยนตร์ 3 มิติ ใช้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาโดยให้คนดูมองภาพสองภาพที่สร้างจากมุมมองสองมุมที่ต่างกันเล็กน้อย

เซอร์ ชาลส์ วีทสโตน เป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงการรับรู้ความใกล้ไกลว่า มาจากการเห็นที่ไม่เหมือนกันของตาทั้งสองข้างแล้วต่อมาจึงประดิษฐ์กล้องมองภาพสามมิติ (สเตอริโอสโกป) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีเลนส์สองอัน และแสดงภาพถ่ายสองภาพของทัศนียภาพเดียวกันแต่ต่างมุมกันเล็กน้อยเมื่อมองด้วยสองตาผ่านเลนส์ทั้งสอง ก็จะทำให้รู้สึกถึงความใกล้ไกล[21]

นักศิลป์ที่ได้ฝึกมาแล้วจะรู้ถึงวิธีต่าง ๆ ในการแสดงความใกล้ไกล (รวมทั้งสี ความพร่าลางเพราะทางไกล ทัศนมิติ และขนาดโดยเปรียบเทียบ) และใช้พวกมันเพื่อทำงานศิลป์ให้สมจริงมากขึ้นผู้ชมอาจจะรู้สึกเหมือนกับจะสามารถจับจมูกของคนที่อยู่ในภาพ (เช่นภาพวาดตนเองของแร็มบรันต์) หรือจับผลไม้ในรูป (เช่น ภาพแอปเปิลของเซซาน) หรือเหมือนกับจะสามารถเข้าไปในภาพวาดเพื่อเดิมชมต้นไม้และทัศนียภาพอื่น ๆ

ส่วนรูปภาพแบบบาศกนิยมเป็นไอเดียที่รวมมุมมองหลาย ๆ มุมมองเข้าในภาพวาดเดียว เหมือนกับจะให้เห็นวัตถุที่อยู่ในรูปจากมุมมองต่าง ๆ[22]

ใกล้เคียง

การรับรู้รส การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้ไฟฟ้า การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรัดเท้า การรับรู้ความใกล้ไกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับรู้ความใกล้ไกล //www.amazon.com/dp/B01D3RGBGS http://www.goillusions.com/2015/07/3d-floor-tiles-... http://www.phillipsmcintosh.com/lighting/how-to-li... http://www.vision3d.com/stereo.html http://www.vision3d.com/whycant.html http://make3d.cs.cornell.edu/ http://adsabs.harvard.edu/abs/1989JOSAA...6..309M http://adsabs.harvard.edu/abs/1996RSPSB.263..169M http://adsabs.harvard.edu/abs/2012Sci...335..469N http://webvision.med.utah.edu/KallDepth.html