หลุมโอโซนและสาเหตุ ของ การลดลงของโอโซน

ภาพแสดงการเปรียบเทียบการเกิดหลุมโอโซนในช่วงปี ค.ศ. 1979–2011

หลุมโอโซนบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา ณ ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ระดับต่ำระดับของโอโซนได้ลดลง 33% จากการวัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1975 หลุมโอโซนเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ณ ทวีปแอนตาร์กติกาในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนธันวาคม เกิดลมทิศตะวันตกกำลังแรงพัดหมุนเวียนทั่วทวีปและสร้างความปั่นป่วนในชั้นบรรยากาศ การทำลายโอโซนในแต่ละปีนั้นพบว่า 50% เกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทวีปแอนตาร์กติกา[5]

ตามที่กล่าวในข้างต้น สาเหตุหลักของการสูญเสียโอโซนคือการเข้าทำลายของก๊าซเรือนกระจก (สาร CFC เป็นหลักและแฮโลคาร์บอนที่เกี่ยวข้อง) เมื่อมีรังสียูวีจากอวกาศผ่านเข้ามาจะส่งผลให้ก๊าซเรือนกระจกปล่อยอะตอมคลอรีนอิสระออกมา แล้วอะตอมคลอรีนอิสระจะเข้าทำลายโอโซน ปัจจัยที่สำคัญในการพาก๊าซเรือนกระจกไปสู่ชั้นบรรยากาศคือ การเกิดของเมฆสตราโตสเฟียร์บริเวณขั้วโลกหรือ Polar Stratospheric Clouds (PSC) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการนำสารประกอบ CFCs ไปสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ถึงแม้อัตราการลดลงจะรุนแรงน้อยกว่าในขั้วโลกใต้แต่มีความสำคัญมากเพราะว่าเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ เพราะการเพิ่มขึ้นของรังสียูวี ที่ตรวจพบนั้นสัมพันธ์กับการลดลงของโอโซนอย่างเห็นได้ชัด

เมฆสตราโตสเฟียร์บริเวณขั้วโลกหรือ Polar Stratospheric Clouds (PSC) จะเกิดมากในช่วงที่มีอากาศเย็นจัด เพราะในช่วงฤดูหนาวในขั้วโลกใต้กินระยะเวลานาน 3 เดือน ทำให้ไม่ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ การขาดความร้อนจากดวงอาทิตย์ก่อให้เกิดการลดลงของอุณหภูมิและเกิดกระแสน้ำเย็นวนแถบขั้วโลกซึ่งอาจมีอุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดอนุภาคที่มีผลต่อการเร่งปฏิกิริยาการทำลายโอโซน เมฆที่มีสาร PSC[6] เป็นส่วนประกอบ เป็นเมฆมีการระบายความร้อนได้ดีจนเป็นเมฆน้ำแข็งและเย็นเป็นก้อนน้ำแข็งอย่างรวดเร็วนำไปสู่การเร่งปฏิกิริยาการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ

ใกล้เคียง

การลดและการเพิ่มองค์ประกอบของเซลล์ การลดความเครียดอิงสติ การลดลงของโอโซน การลดขั้ว การลดธงครึ่งเสา การลดรูป (ความซับซ้อน) การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังตาย การลดมิติ การลดน้ำหนัก การลดรูปสถานะ