เบื้องหลัง ของ การลอบวางแผนโพพิช

สาธารณชนผู้นับถือโปรเตสแตนต์เพิ่มความหวาดระแวงถึงอิทธิพลของกลุ่มโรมันคาทอลิกในอังกฤษเมื่อรัชทายาทของพระเจ้าชาร์ลส์--เจมส์ สจวต ดยุคแห่งยอร์ค--เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก นอกจากนั้นพระมเหสีของพระองค์--พระราชินีแคทเธอรีนแห่งบราแกนซา--ก็เป็นโรมันคาทอลิก พระราชนโยบายของพระองค์ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1670 ก็ทำให้ทรงมีความขัดแย้งกับรัฐสภาในปี ค.ศ. 1672 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงออกพระราชประกาศผ่อนปรนสิทธิของผู้เป็นโรมันคาทอลิกที่หยุดยั้งการลงโทษทางกฎหมายอาญาต่อผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและผู้เป็นปฏิปักษ์ทางศาสนาทั้งหมด[2]

พระเจ้าชาร์ลส์ไม่มีพระประสงค์ที่จะหุ้นอำนาจกับรัฐสภาแต่ทรงต้องทรงพึ่งรัฐสภาทางการเงิน ทรงเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสจะช่วยผ่อนคลายสถานะการณ์ทางการเงินของพระองค์ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ทรงต้องพึ่งรัฐบาลอีก ขณะเดียวกันอำนาจของ องคมนตรีคาบาล (Cabal Ministry) ก็เริ่มเสื่อมลง ในขณะที่อำนาจของทอมัส ออสบอร์น ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 หรือลอร์ดแดนบีย์ผู้ที่มาแทนทอมัส คลิฟฟอร์ด บารอนคลิฟฟอร์ดที่ 1 หนึ่งในกลุ่มองคมนตรีคาบาลเดิมก็เพิ่มมากขึ้น โดยมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมพระคลัง (Lord High Treasurer) ลอร์ดแดนบีย์พยายามถวายคำแนะนำให้พระเจ้าชาร์ลส์ลดนโยบายนิยมในฝรั่งเศสลงบ้าง[3]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1677 ก็มีการแจกใบปลิวที่ไม่ลงชื่อ (อาจจะเป็นแอนดรูว์ มาร์เวิร์ลล์) ไปทั่วลอนดอนเตือนว่าโรมวางแผนที่เปลี่ยนรัฐบาลที่ถูกกฎหมายของอังกฤษ[4]

ใกล้เคียง

การลอบสังหารชินโซ อาเบะ การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี การลอกเลียนวรรณกรรม การลอบสังหารเอบราแฮม ลิงคอล์น การลอบสังหารฌอเวอแนล มออีซ การลอบสังหารขัตติยะ สวัสดิผล การลอบวางเพลิงเกียวโตแอนิเมชัน การลอบสังหารมหาตมา คานธี การลอบสังหารไรน์ฮาร์ท ไฮดริช การลอบสังหารอินทิรา คานธี