การวางนัยทั่วไป

การวางนัยทั่วไป[1] (อังกฤษ: Generalization) เป็นภาวะนามธรรมรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นการบัญญัติแนวความคิดหรือคำกล่าวอ้างทั่วไปจากคุณสมบัติร่วมที่กรณีเฉพาะมี[2][3] การวางนัยทั่วไปวางหลักว่ามีขอบเขต (domain) หรือเซตของสมาชิกและมีคุณสมบัติร่วมหนึ่งประการหรือมากกว่าที่สมาชิกเหล่านั้นมี (แบบจำลองความคิดจึงถูกสร้างขึ้นมา) การวางนัยทั่วไปจึงเป็นรากฐานสำคัญของการให้เหตุผลแบบนิรนัยที่สมเหตุสมผลทุกอัน (โดยเฉพาะในวิชาตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ซึ่งจำเป็นต้องใช้กระบวนการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จเพื่อตัดสินว่านัยทั่วไปข้อหนึ่งเป็นจริงกับสถานการณ์ที่กำหนดหรือไม่การวางนัยทั่วไปสามารถใช้เพื่อหมายถึงกระบวนการระบุส่วนหนึ่งของทั้งหมดว่าเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด ส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นซึ่งอาจไม่มีความสัมพันธ์กันเมื่อถูกปล่อยไว้ลำพังสามารถนำมารวมเป็นกลุ่มและกลายเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดด้วยการแสดงความสัมพันธ์ที่ส่วนเหล่านั้นมีร่วมกันอย่างไรก็ตามส่วนต่าง ๆ ไม่สามารถถูกวางนัยทั่วไปเป็นทั้งหมดได้จนกว่าความสัมพันธ์ที่ส่วนทุกส่วนมีร่วมกันจะถูกแสดงให้เห็น นี่ไม่ได้หมายความว่าส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีความสัมพันธ์ต่อกันเพียงแต่ยังไม่มีการแสดงความสัมพันธ์ที่มีร่วมกันสำหรับการวางนัยทั่วไปแนวความคิดนัยทั่วไปถูกประยุกต์ใช้ในหลายสาขาวิชาทึ่เชื่อมโยงกันและบางครั้งก็มีความหมายที่เฉพาะขึ้นในบริบทเฉพาะทาง (เช่น เรียกว่าการแผ่ขยายในจิตวิทยาและการเรียนรู้ (generalization (learning)))[3]โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีมโนภาพ A และ B ที่เกี่ยวข้องกัน A เป็น "นัยทั่วไป" ของ B (สมมูลกับ B เป็นกรณีพิเศษ (Special case) ของ A) ก็ต่อเมื่อทั้งสองมีคุณสมบัติดังนี้:ตัวอย่างเช่นมโนภาพ สัตว์ เป็นนัยทั่วไปของมโนภาพ สัตว์ปีก เพราะสัตว์ปีกทุกตัวเป็นสัตว์แต่สัตว์บางตัวไม่ใช่สัตว์ปีก (เช่นสุนัข) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมอ่านเพิ่มได้ที่การชำนาญพิเศษของสปีชีส์ (Generalist and specialist species)

ใกล้เคียง

การวาร์ป การวางผลิตภัณฑ์ประกอบฉาก การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป การวางแผนด้วยสถานการณ์ การวางนัยทั่วไป การวางแผนการเคลื่อนที่ การวางแผน การวางแผนทรัพยากรองค์กร การวางแผนภาค การวางยาพิษเซียร์เกย์และยูเลีย สกรีปาล