กระบวนการวิจัย ของ การวิจัย

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

โดยทั่วไป เป็นที่เข้าใจกันว่าการวิจัยคือการกระทำตามกระบวนการที่มีโครงสร้างเฉพาะอันใดอันหนึ่ง แม้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีความผันแปรแตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อหางานและตามนักวิจัยอยู่บ้างก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:

ความเข้าใจผิดทั่ว ๆ ไปที่มักเกิดขึ้นได้แก่การคิดหรือการถือว่าได้พิสูจน์หรือได้ทดสอบสมมุติฐานไปแล้วด้วยกรรมวิธีนี้ แต่ที่จริงแล้ว โดยทั่วไปแล้วเราใช้สมมุติฐานตัวที่เราคาดว่าอาจจะใช้ได้เพื่อการสังเกตผลที่จะได้จากการทดลอง แต่ถ้าผลการทดลองออกมาไม่คงเส้นคงวาตามสมมุติฐานก็จะต้องล้มเลิกสมมุติฐานนั้นไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าผลที่ออกมามีความคงเส้นคงวาตามสมมุติฐานจึงจะถือได้ว่าการทดลองนั้นสนับสนุนสมมุติฐาน การที่ใช้ภาษาอย่างระมัดระวังดังกล่าวนี้ก็เนื่องมาจากนักวิจัยทราบกันดีว่าสมมุติฐานทางเลือกหลาย ๆ สมมุติฐานที่อาจมีความคงเส้นคงวากับผลการสังเกตได้ ยังไม่อาจได้ถือว่าเป็นการพิสูจน์สมมติฐานได้แล้ว เป็นได้แต่เพียงการสนับสนุนการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ของในแต่ละครั้งที่มักชวนให้คิดว่าเป็นจริง ซึ่งก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการพิสูจน์ได้แล้วเช่นกัน สมมุติฐานที่มีประโยชน์จะช่วยให้นักวิจัยสามารถรับรองผลการคาดการณ์ได้จากความแม่นยำของการสังเกตเฉพาะคราวของการทดลองนั้น ๆ ในขณะที่ความแม่นยำของการสังเกตดีขึ้นเรื่อย ๆ นี้ ตัวสมมุติฐานเดิมจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยให้เกิดความแม่นยำได้อีกต่อไป ในกรณีเช่นนี้ สมมุติฐานใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาท้าทายสมมุติฐานเดิมต่อไปอีก สมมุติฐานใหม่ที่ทำให้การคาดการณ์แม่นยำขึ้นนี้ก็จะกลายเป็นสมมุติฐานที่มาแทนที่

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

กรรมวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ประกอบด้วยเทคนิคและแนวทางที่นักประวัติศาสตร์ใช้แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์และหลักฐานอื่นมาใช้เพื่อวิจัย แล้วจึงจะเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมา มีแนวทางหลายแนวที่นักประวัติศาสตร์นำมาใช้ในการทำงานภายใต้หัวข้อ “คำวิจารณ์ภายนอก”, “คำวิจารณ์ภายใน”, และ “การสังเคราะห์” สิ่งเหล่านี้รวมถึง “คำวิจารณ์ขั้นสูง” (higher criticism) และ “การวิจารณ์ตัวบท” (textual criticism) ถึงแม้ว่าบางรายการมีความแปรผันต่างกันไปตามเนื้อเรื่องและตามตัวนักวิจัยก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้ว แนวคิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เกือบทั้งหมดจะมีรูปแบบดังนี้:

  • การบ่งชี้วันเวลาดั้งเดิม
  • หลักฐานของสถานที่
  • การยอมรับและรับรองผู้แต่ง
  • การวิเคราะห์ข้อมูล
  • การบ่งชี้ถึงความซื่อสัตย์สุจริต (integrity)
  • แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

ใกล้เคียง

การวิจัย การวิจัยโรคมะเร็ง การวิจัยเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางการศึกษา การวิจัยดำเนินการ การวิจัยทางการพยาบาล การวิจัยและพัฒนา การวิจัยเชิงบุกเบิก การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การวิจัยขั้นทุติยภูมิ