ด้านสังคมศาสตร์ ของ การวิจัยเชิงบุกเบิก

ในหลายวงการทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงบุกเบิกเป็นการ “มุ่งค้นหาว่ามนุษย์ตกลงเห็นร่วมกันในคำถามได้อย่างไร, มนุษย์ให้ความหมายอะไรในการกระทำของตน, และประเด็นที่มนุษย์ห่วงใยมีอะไรบ้าง เป้าหมายการวิจัยทางสังคมศาสตร์ได้แก่การเรียนรู้ว่า “อะไรกำลังเกิดขึ้นที่นี่” และทำการลืบสวนหาปรากฏการณ์ทางสังคมโดยปราศจากการคาดการณ์ล่วงหน้า (Schutt, 2007) ระเบียบวิธีนี้ปัจจุบันเรียกว่า “ทฤษฎีพื้นฐาน” (grounded theory) ที่ใช้มุ่งสู่ “การวิจัยเชิงคุณภาพ” (qualitative research) หรือ “การวิจัยเชิงตีความ” (interpretive research) และเป็นความพยายามที่จะ “ขุดค้น” ทฤษฎีจากตัวข้อมูลเองมากกว่าจากสมมุติฐานที่ตั้งไว้

ในด้านการตลาด โครงการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

การวิจัยเชิงบุกเบิกด้านการตลาด วัตถุประสงค์ได้แก่การเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นต้นพื่อนำมาใช้ในการบ่งชี้ปัญหาและเพื่อชี้แนะสมมุติฐาน (Kotler et al. 2006, p. 122)

การวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ได้แก่การพรรณาถึงสิ่งต่างๆ เช่นศักยภาพของตลาดของผลิตภัณฑ์ หรือ ประชากรศาสตร์และทัศนคติของผู้บริโภคผู้ซื้ผลิตภัณฑ์ (Kotler et al. 2006, p. 122)

การวิจัยเชิงสาเหตุ วัตถุประสงค์คือการทดสอบสมมัติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสาเหตุและผล (Kotler et al. 2006, p. 122)

ใกล้เคียง

การวิเคราะห์อภิมาน การวิจัย การวิเคราะห์การใช้ การวิ่งทางไกล การวิจารณ์ภาพยนตร์ การวิเคราะห์ การวิเคราะห์สวอต การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 การวิเคราะห์เชิงซ้อน การวินิจฉัยทางการแพทย์