ประเภทของความต้องการ ของ การวิเคราะห์ความต้องการ

  1. User Requirement - เป็นความต้องการที่รวบรวมจากผู้ใช้ระบบโดยตรง เช่น ลำดับของช่องที่จะให้กรอกข้อมูล, จะกรอกอย่างไร, เรียงลำดับอย่างไร, ขนาดตัวอักษร, สีอะไร เป็นต้น
  2. System Requirement – ความต้องการของระบบ เช่น ระบบต้องสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายได้, ข้อมูลต้องเก็บได้ทั้งที่ Server และ Work Station เป็นต้น
  3. Software Specification – รายละเอียดทางด้านเทคนิคของซอฟต์แวร์ว่าต้องทำอะไรได้บ้าง

ความต้องการแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ

  1. Functional Requirement คือ Requirement หรือสิ่งที่ระบบควรจะทำ , หน้าที่หลักของระบบที่จะต้องทำ เช่น ผู้ใช้ต้องสามารถค้นหาจากฐานข้อมูลทั้งหมด ก็ได้หรือ ค้นหาจากส่วนหนึ่งส่วนใดของฐานข้อมูลก็ได้ ระบบจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยให้อ่านเอกสารได้
  2. Non-functional Requirement คือ Requirement อื่นๆที่ไม่ใช่หน้าที่หลักๆที่ต้องทำ แต่เป็นคุณสมบัติอื่นๆที่เราอยากได้จากระบบ เช่น ความปลอดภัยของระบบ, ความเชื่อถือได้ของระบบ, เวลาตอบสนอง, มีความสามารถทางด้าน I/O, ความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ระบบบัญชี โดยที่หน้าที่หลักของระบบบัญชีคือ บันทึกข้อมูล Transaction รายวัน, จะต้องมีการทำสรุปยอดบัญชีได้ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ระบบบัญชีควรทำคือ Functional Requirement แต่ถ้าบอกว่าต้องมีการใส่รหัสผ่าน, สามารถเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตได้ , เชื่อมโยงกับระบบบัญชีของบริษัทอื่นได้ อันนี้ไม่ใช่หน้าที่หลัก ของระบบบัญชี แต่มันคือ Non-functional Requirement
  3. Domain Requirement คือ เป็นเงื่อนไขอื่นจากสภาวะแวดล้อมที่ทำให้ระบบทำงานได้ หรือ เป็นการมองที่ว่าระบบที่พัฒนามานี้จะไปทำงานร่วมกับระบบอื่นๆหรือสภาวะแวดล้อมอื่นๆในองค์กร มันจะต้องมีความต้องการอื่นๆภายนอกมากระทบบ้างหรือไม่ เช่น เราออกแบบระบบบัญชี เมื่อนำไปใช้ จะไปทำงานร่วมกับระบบอื่นๆเช่นไปทำงานร่วมกับระบบการสมัครสมาชิกของ ชมรมคอมพิวเตอร์ ของ ม.นเรศวร โดยนำระบบบัญชีไปใช้ในส่วนการรับสมัคร เป็นต้น
บทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเครือข่ายนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เทคโนโลยีสารสนเทศ

ใกล้เคียง

การวิเคราะห์อภิมาน การวิจัย การวิเคราะห์การใช้ การวิ่งทางไกล การวิจารณ์ภาพยนตร์ การวิเคราะห์ การวิเคราะห์สวอต การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 การวิเคราะห์เชิงซ้อน การวินิจฉัยทางการแพทย์