สรีรวิทยาของการวิ่งทางไกล ของ การวิ่งทางไกล

มนุษย์เป็นสัตว์ที่วิ่งระยะไกลได้ดีที่สุดในหมู่สัตว์ที่วิ่งได้ สัตว์อื่นอาจมีความเร็วสูงกว่า แต่ก็วิ่งได้ระยะสั้นกว่า[13] ร่างกายมนุษย์ได้พัฒนาจนเดินตัวตรงและจนวิ่งได้มาประมาณ 2-3 ล้านปีมาแล้ว[20] ต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งร่างกายถูกออกแบบมาให้เดิน 4 ขาหรือปีนต้นไม้ ร่างกายมนุษย์สามารถวิ่งไกลได้เพราะ

  1. กระดูกและโครงสร้างกล้ามเนื้อ: ในขณะที่สัตว์สี่เท้าประเภทอื่นมีจุดศูนย์กลางมวลที่ด้านหน้าของขาหลัง สัตว์สองขารวมถึงมนุษย์มีจุดศูนย์กลางมวลที่ด้านบนขา ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแตกต่างออกไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ขาและกระดูกเชิงกราน[20]
  2. การระบายความร้อน: ความสามารถในการระบายความร้อนของมนุษย์โดยการขับเหงื่อออกทางผิวหนังทำให้ได้เปรียบกว่าการหอบทางปากหรือทางจมูก เพราะมีพื้นที่ผิวให้เหงื่อระเหยมาก และไม่ขึ้นกับระบบหายใจ[13]

ความแตกต่างในการเดินตัวตรงและการวิ่งคือการเผาผลาญพลังงานในระหว่างการเคลื่อนไหว ขณะเดิน มนุษย์ใช้พลังงานครึ่งหนึ่งของการวิ่ง[21] นักชีววิทยาวิวัฒนาการเชื่อว่าความสามารถของมนุษย์ในการวิ่งไกลทำให้มนุษย์ซึ่งกินเนื้อสามารถแข่งขันกับสัตว์กินเนื้ออื่น ๆ ได้[22]

ใกล้เคียง

การวิเคราะห์อภิมาน การวิจัย การวิเคราะห์การใช้ การวิ่งทางไกล การวิเคราะห์ การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 การวิเคราะห์สวอต การวิจารณ์ภาพยนตร์ การวิเคราะห์เชิงซ้อน การวินิจฉัยทางการแพทย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การวิ่งทางไกล http://gesturestudies.com/files/isgsconferences/Co... http://www.marathonguide.com/history/olympicmarath... http://www.medicinenet.com/running/page3.htm#what_... http://www.runnersgoal.com/what-are-the-health-ben... http://www.runnersworld.com/ http://scienceweek.com/2005/sa050121-3.htm http://www.ultralegends.com/history-of-the-24hr-ra... http://www.fas.harvard.edu/~skeleton/pdfs/2009a.pd... http://www8.nau.edu/hcpo-p/running.pdf http://phys.org/news95954919.html