การว่างงาน
การว่างงาน

การว่างงาน

การว่างงานเป็นสถานการณ์ที่บุคคลผู้สามารถที่กำลังหางานไม่สามารถหางานได้สาเหตุของการว่างงานเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก[1] เศรษฐศาสตร์คลาสสิก เศรษฐศาสตร์คลาสสิกใหม่ และเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียแย้งว่ากลไกตลาดเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน ทฤษฎีข้างต้นคัดค้านการแทรกแซงที่กำหนดต่อตลาดแรงงานจากภายนอก เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงาน กฎทำงานระบบข้าราชการประจำ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ ภาษีและการวางระเบียบอื่นซึ่งพวกเขาอ้างว่าขัดขวางการจ้างคนงาน เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์เน้นย้ำสภาพวัฏจักรของการว่างงานและแนะนำให้รัฐบาลแทรกแซงตลาดแรงงานในเศรษฐกิจที่ทฤษฎีอ้างว่าจะลดการว่างงานระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แบบจำลองเคนส์แนะนำให้รัฐบาลแทรกแซงซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มอุปสงค์สำหรับแรงงาน รวมทั้งสิ่งจูงใจทางการเงิน การสร้างงานที่ใช้งบประมาณสาธารณะและนโยบายการคลังแบบขยายตัว จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นบิดาทฤษฎีดังกล่าว เชื่อว่าสาเหตุรากเหง้าของการว่างงานคือความประสงค์ของนักลงทุนที่จะเอาเงินมากขึ้นแทนผลิตผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้หากปราศจากหน่วยานสาธารณะผลิตเงินเพิ่ม[2] ทฤษฎีกลุ่มที่สามเน้นความจำเป็นสำหรับากรมีอุปสงค์ทุนและการลงทุนอย่างเสถียรเพื่อรักษาการจ้างงานเต็มที่[3] ในมุมมองนี้ รัฐบาลควรรับประกันการจ้างงานเต็มผ่านนโยบายการเงิน นโยบายการคลังและนโยบายการค้า ตัวอย่างเช่น ในรัฐบัญญัติการจ้างงานสหรัฐ ค.ศ. 1946 โดยการถ่วงดุลภาคเอกชนหรือความผันผวนของการลงทุนการค้า และลดความไม่เสมอภาค[4]นอกจากทฤษฎีการว่างงานแล้ว ยังมีการแบ่งหมวดการว่างงานอยู่บ้างซึ่งใช้แบบจำลองที่แม่นยำมากกว่าเพื่อสร้างแบบจำลองผลของการว่างงานในระบบเศรษฐกิจ การว่างงานหลักบางประเภท เช่น การว่างงานเชิงโครงสร้างและการว่างงานแบบเสียดทาน เช่นการว่างงานวัฏจักร การว่างงานโดยไม่สมัครใจ และการว่างงานคลาสสิก การว่างงานเชิโครสร้างเน้นปัญหารากฐานในเศรษฐกิจและความด้อยประสิทธิภาพที่พบในตลาดแรงงานเอง รวมทั้งความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานสำหรับผู้ใช้แรงงานที่มีชุดทักษะที่จำเป็น การให้เหตุผลเชิงโครงสร้างเน้นสาเหตุและทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่รบกวนและโลกาภิวัฒน์ การอภิปรายเกี่ยวกับการว่างงานแบบเสียดทานเน้นการตัดสินใจโดยสมัครใจให้ทำงานโดยตั้งอยู่บนการให้คุณค่างานของตนของปัจเจกบุคคล และว่าวิธีดังกล่าวเปรียบเทียบกับอตราค่าจ้างปัจจุบันบวกกับเวลาและความพยายามที่จำเป็นเพื่อหางาน สาเหตุและทางแก้สำหรับการว่างงานแบบเสียดทานมักเน้นขีดแบ่งการรับเข้าทำงานและอัตราค่าจ้างอัตราการว่างงานเป็นการวัดความชุกของการว่างงานและคำนวณเป็นร้อยละโดยหารจำนวนปัจเจกบุคคลว่างงานด้วยปัจเจกบุคคลทั้หมดที่ปัจจุบันอยู่ในกำลังแรงงาน ระหว่างช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เศรษฐกิจอาจประสบอัตราการว่างงานค่อนข้างสูง[5] ประมาณ 6% ของกำลังแรงงานทั่วโลกว่างงานในปี 2555[6]