มาตรเวลาของขั้วแม่เหล็กโลก ของ การสลับขั้วแม่เหล็กโลก

ไฟล์:Lowrie.gifบันทึกของขั้วแม่เหล็กโลกสำหรับอายุ 0 – 160 ล้านปีมาแล้ว จากลอว์รี่ (1997) "Fundamentals of Geophysics"

การเปลี่ยนแปลงความถี่ของการกลับขั้วแม่เหล็กโลกตามกาลเวลา

อัตราของการเกิดรีเวอร์สในสนามแม่เหล็กโลกนั้นมีความแปรผันกว้างตลอดระยะเวลา ในช่วง 72 ล้านปีที่ผ่านมาสนามแม่เหล็กมีการเกิดรีเวอร์ส 5 ครั้งในช่วงหลายล้านปีหนึ่งๆ ในช่วง 4 ล้านปีหนึ่งที่ช่วงกึ่งกลางอยู่ที่ 54 ล้านปีมาแล้วมีการเกิดรีเวอร์ส 10 ครั้ง ที่ประมาณ 42 ล้านปีมาแล้วมีจำนวนรีเวอร์ส 17 ครั้งในช่วงระยะเวลา 3 ล้านปี ในช่วง 3 ล้านปีที่ช่วงกึ่งกลางอยู่ที่ 24 ล้านปีมาแล้วมีการเกิดรีเวอร์ส 13 ครั้ง มีจำนวนรีเวอร์สไม่น้อยกว่า 51 ครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเลา 12 ล้านปีที่ช่วงกึ่งกลางอยู่ที่ 15 ล้านปีมาแล้ว มหายุคของการเกิดรีเวอร์ซอลบ่อยๆนี้จะมีช่วงซูเปอร์ครอนส์ไม่กี่ครั้ง (ซูเปอร์ครอนส์หมายถึงช่วงที่ไม่มีการสลับขั้วเกิดขึ้นเลยเป็นระยะเวลายาวนาน) [4]

โดยทั่วไปแล้วความถี่ของการสลับขั้วแม่เหล็กโลกนั้นมีลักษณะสุ่มอย่างไม่แน่นอน และในปี 2006 จำนวนรึเวอร์สที่รู้จักกันมีความสอดคล้องกับหลักความน่าจะเป็นอย่างต่อเนื่องแบบ Lévy distribution

ช่วงซูเปอร์ครอนส์แบบนอร์มอลที่ยาวนานของยุคครีเทเชียส

มีช่วงระยะเวลาที่ยาวนานอยู่ช่วงหนึ่งที่ไม่มีทิศทางการวางขั้วแม่เหล็กแบบรีเวอร์สเลยคือช่วงนอร์มอลที่ยาวนานยุคครีเทเชียส (Cretaceous Long Normal หรือที่เรียกกันว่า ซูเปอร์ครอนส์ยุคครีเทเชียส หรือ C34) ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาจาก 120 ถึง 83 ล้านปีมาแล้ว ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้อยู่ในช่วงของยุคครีเทเชียสจากแอพเตียนตลอดจนถึงแซนโตเนียน

มีสิ่งที่น่าสนใจอันหนึ่งเมื่อพิจารณาที่ความถี่ของการเกิดการสลับขั้วแม่เหล็กก่อนจะถึงและหลังจากช่วงซูเปอร์ครอนส์ยุคครีเทเชียสกล่าวคือ ช่วงก่อนที่จะถึงช่วงซูเปอร์ครอนส์ความถี่ของการสลับขั้วมีการลดลงอย่างต่อเนื่องไปจนไม่มีการสลับขั้วเลยในช่วงซูเปอร์ครอนส์ และหลังช่วงซูเปอร์ครอนส์ความถี่ของการสลับขั้วก็กลับมามีการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆตลอด 80 ล้านปีต่อมาจนถึงปัจจุบัน

โซนสงบยุคจูแรสซิก

โซนสงบยุคจูแรสซิกคือแนวตัดขวางหนึ่งของพื้นท้องทะเลที่ปราศจากแถบแม่เหล็กโดยสิ้นเชิงขณะที่ที่สามารถพบได้ในบริเวณอื่นๆ นี่หมายความว่ามีช่วงระยะเวลาช่วงหนึ่งที่ขั้วแม่เหล็กมีเสถียรในช่วงยุคจูแรสซิกคล้ายๆกับช่วงซูเปอร์ครอนส์ยุคครีเทเชียส มีความเป็นไปได้อันหนึ่งคือมันเป็นแนวตัดขวางของพื้นท้องทะเลที่มีอายุแก่ที่สุดที่สภาพของการเป็นแม่เหล็กที่เคยเป็นถูกขจัดไปโดยสิ้นเชิงจนถึงปัจจุบัน โซนสงบยุคจูแรสซิกพบบริเวณขนานไปกับขอบของแผ่นทวีปในมหาสมุทรแอตแลนติกและรวมไปถึงหลายส่วนทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก (อย่างเช่นทางตะวันออกของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา)

ช่วงซูเปอร์ตรอนส์แบบรีเวอร์สที่ยาวนานเกียแมน

ช่วงระยะเวลาอันยาวนานที่ปราศจากการสลับขั้วแม่เหล็กโลกนี้อยู่ที่ช่วงปลายของยุคคาร์บอนิเฟอรัสไปจนถึงช่วงปลายของยุคเพอร์เมียนจากประมาณ 316 – 262 ล้านปีมาแล้ว สนามแม่เหล็กอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามกับสภาพปัจจุบัน ชื่อเกียแมนได้มาจากชื่อหมู่บ้านในออสเตรเลียบริเวณที่หลักฐานทางธรณีวิทยาของซูเปอร์ครอนส์นี้ถูกค้นพบในปี 1925.[5]

ช่วงซูเปอร์ครอนส์รีเวอร์สโมเยโร

ช่วงระยะเวลานี้อยู่ในยุคออร์โดวิเชียน (485 ถึง 463 ล้านปีมาแล้ว) ที่ถูกสงสัยว่าจะเป็นช่วงซูเปอร์ครอนส์อีกอันหนึ่ง (พาว์ลอฟ และแกลเลต์ 2005 - Episodes, 2005) แต่จนถึงปัจจุบันสิ่งที่อาจเป็นซูเปอร์ครอนส์นี้พบเฉพาะที่แนวตัดขวางแม่น้ำโมเยโรทางตอนเหนือของอาร์คติกเซอร์เคิลในไซบีเรียเท่านั้น

ใกล้เคียง

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 การสละราชสมบัติ การสลายตัวกัมมันตรังสี การสลายของเม็ดเลือดแดง การสลับขั้วแม่เหล็กโลก การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563 การสลายให้อนุภาคบีตา การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา การสลายให้อนุภาคแอลฟา การสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก