ในร่างกาย ของ การสลายของเม็ดเลือดแดง

เฮโมไลซิสในร่างกายอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ หลายประการ เช่นแบคทีเรียแกรมบวกหลายชนิด (เช่น Streptococcus, Enterococcus และ Staphylococcus), ปรสิตบางชนิด (เช่น Plasmodium), โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องบางชนิด (autoimmune disorders; เช่น โลหิตจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดงอันเกิดจากยา; drug-induced hemolytic anemia),[5] โรคพันธุกรรมบางชนิด (เช่น โรคซิกเคิลเซลล์; sickle-cell disease หรือโรคจี-6-พีดีบกพร่อง; G6PD deficiency) หรือเลือดที่มีความเข้มข้นต่ำ (ไฮโปโทนิก; hypotonic ต่อเซลล์)[6]

เฮโมไลซิสอาจนำไปสู่ภาวะฮีโมโกลบินในเลือด (hemoglobinemia) จากฮีโมโกลบินจำนวนมากถูกปล่อยออกมาในพลาสมาของเลือด ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการ pathogenesis ของ sepsis[7] ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยผลที่เกิดต่อระบบภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง (innate immune system)[7]

Streptococcus

ดูบทความหลักที่: Streptococcus

สปีชี่ส์หลายปีชี่ส์ของจีนัส Streptococcus ก่อให้เกิดเฮโมไลซิส แบคทีเรียกลุ่ม Streptococcal นั้นจัดแบ่งตามคุณลักษณะที่ก่อเกิดการเฮโมไลซิส (hemolytic properties) ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องปรากฏเสมอไปในร่างกาย

  • สปีชี่ส์อัลฟา-เฮโมไลติก (Alpha-hemolytic species) เช่น S. pneumoniae, Streptococcus mitis, S. mutans และ S. salivarius จะออกซิไดส์เหล็กในเฮโมโกลบิน
  • สปีชี่ส์เบต้า-เฮโมไลติก (Beta-hemolytic species) เช่น S. pyogenes และ S. agalactiae จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก
  • สปีชี่ส์แกมมา-เฮโมไลติก (Gamma-hemolytic) หรือ ไม่ก่อเฮโมไลติก (non-hemolytic) คือสปีชี่ส์ที่ไม่ก่อให้เกิดเฮโมไลซิสและยากมากที่จะก่อโรค

Enterococcus

ดูบทความหลักที่: Enterococcus

จีนัส Enterococcus ประกอบด้วยแบคทีเรียกรดแลกติก (lactic acid bacteria) ซึ่งเคยถูกจัดเป็นแกมมา-เฮโมไลติก กลุ่ม D ในจีนัส streptococcus (ด้านบน) เช่น E. faecilis (S. faecalis), E. faecium (S. faecium), E. durans (S. durans) และE. avium (S. avium).

Staphylococcus

ดูบทความหลักที่: Staphylococcus

Staphylococcus เป็นคอคคัส (cocci) ประเภทแกรมบวกอีกชนิดหนึ่ง โดยที่พบบ่อยที่สุดคือ S. aureus อันเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการติดเชื้อ "staph" และมักเฮโมไลติกใน blood agar[8]

ปรสิต

ในกระบวนการกินอาหารของปรสิตกลุ่ม Plasmodium ทำอันตรายต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น มาลาเรีย ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า "เฮโมไลซิสจากปรสิต" ("parasitic hemolysis") ในงานเขียนทางการแพทย์

HELLP, pre-eclampsia หรือ eclampsia

ดูที่ HELLP syndrome, Pre-eclampsia และ Eclampsia

โรคเฮโมไลติกในเด็กแรกเกิด

ดูบทความหลักที่: Hemolytic disease of the newborn

โรคเม็ดเลือดแตกในเด็กแรกเกิด (Hemolytic disease of the newborn) เป็นโรคภูมิคุ้มกัน (autoimmune disease) ที่เกิดจากแอนติบอดีของมารดาข้ามจากรกไปยังทารกในครรภ์ กรณีพบบ่อยเมื่อมารดาเคยได้รับแอนติเจนเลือดที่มีทารกแต่ไม่พบในเธอ ซึ่งอาจมาจากการถ่ายเลือดหรือการตั้งครรภ์มาก่อนหน้า[9]

โลหิตจางเฮโมไลติก

ดูบทความหลักที่: Hemolytic anemia

ในกรณีที่เสียเม็ดเลือดแดงจำนวนมากจากการเฮโมไลติดจนเป็นอันตรายร้ายแรง อาจนำไปสู่โรคโลหิตจางจากการสลายของเม็ดเลือดแดง (Hemolytic anemia)

วิกฤตเฮโมไลติก

วิกฤตเฮโมไลติก (Hemolytic crisis) หรือวิกฤตไฮเปอร์เฮโมไลติก (hyperhemolytic crisis) คือภาวะที่อัตราการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อันนำไปสู่โลหิตจาง (anemia), ดีซ่าน (juandice) และ reticulocytosis[10] Hemolytic crises are a major concern with sickle-cell disease and G6PD deficiency.

สารพิษ

การที่ร่างกายย่อย Paxillus Involutus จากการทานอาจก่อให้เกิดเฮโมไลซิสได้

ใกล้เคียง

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 การสละราชสมบัติ การสลายตัวกัมมันตรังสี การสลายของเม็ดเลือดแดง การสลับขั้วแม่เหล็กโลก การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563 การสลายให้อนุภาคบีตา การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา การสลายให้อนุภาคแอลฟา การสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสลายของเม็ดเลือดแดง http://www.innvista.com/health/ailments/anemias/si... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26404441 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26404442 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28416897 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29956069 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5377560 //doi.org/10.1007%2Fs10753-018-0810-y //doi.org/10.1053%2Fj.seminhematol.2015.05.001 //doi.org/10.1053%2Fj.seminhematol.2015.07.005 //doi.org/10.5114%2Fbiolsport.2017.63732