การสวดภาณยักษ์ในประเทศไทย ของ การสวดภาณยักษ์

การสวดภาณยักษ์ในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อใด แม้จะมีมุขปาฐะเล่าขานถึงที่มากันต่างๆ ออกไป แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏว่า ได้มีการสวดอาฏานาฏิยสูตร หรืออาฏานาฏิยปริตรเพื่อสะเดาะเคราะห์ในพระนคร สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏจารึกอาฏานาฏิยสูตร ในพระอารามหลวงสำคัญอย่างวัดชุมพลนิกายาราม ด้วย (ดู จารึกอาฏานาฏิยสูตร ใน http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=838)

พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ) อธิบายไว้ว่า ตามประเพณีไทยโบราณ นิยมสวดในพระราชพิธีตรุษหลวง เป็นพระราชพิธีเดือน 4 เรียกว่า พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ คือตัดปี หรือสิ้นปี เป็นพระราชพิธีในปลายเดือน 4 ขึ้นเดือน 5 ซึ่งนับว่าเป็นต้นปี (ดู "ตำนานอาฏานาฏิยปริตร")

พิธีเริ่มโดยเจ้าพนักงานตั้งบาตรนํ้า บาตรทราย จับด้ายมงคลสูตรใส่ลุ้งไว้ในโรงราชพิธีทั้ง 4 ทิศ พระนครและในพระราชนิเวศน์ จากนั้นอัญเชิญ พระพุทธปฏิมากรมาประดิษฐาน อาราธนาพระมหาเถรานุเถร ผลัดเปลี่ยนกันมาจำเริญพระปริตร ในโรงราชพิธีทุกตำบล สิ้นทิวาราตรีสามวาร โดยในระหว่างการเจริญพระปริตรนั้น จะมีพิธีทางพราหมณ์ และทางราชการควบคูกันไปด้วย ที่ภายนอกพระบรมมหาราชวัง และในพื้นที่ต่างๆ ของพระนคร เพื่อเป็นการขจัดปัดเป่าอุปาทว์และภยันตรายทั้งปวง

ทั้งนี้ พระสงฆ์สวดภาณยักษ์เป็นพระพิธี สำรับละ 4 รูป ผลัดกันสวด พระพิธีนี้ถือว่าเป็นพระสมณศักดิ์ ดำรงตำแหน่งพระพิธีหลวง พระผู้ได้รับแต่งตั้งจะต้องมีคุณสมบัติเป็นพิเศษในการสวด เช่น มีเสียงเพราะ มีความรู้การสวดตามแบบทำนอง แปลว่าสวดเป็น เป็นศิษย์มีครู โดยได้รับการฝึกมาดีแล้ว ซึ่ง พระพิธีสำหรับสวดภาณยักษ์ต้องมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มอีกประการหนึ่ง คือเสียงดัง พระพิธีนี้ไม่มีทุกวัด แม้จะเป็นพระอารามหลวง ปกติจะมีเฉพาะอารามหลวงที่สำคัญ นอกจากนี้ พระราชพิธีซึ่งมีการสวดอาฏานาฏิยสูตร หรืออาฏานาฏิยปริตรนี้ แต่เดิมมีพระราชนิยมจัดทำที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง แต่ปัจจุบันพระราชพิธีนี้ได้ยกเลิกไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าการสวดภาณยักษ์ได้แพร่ไปยังวัดต่างๆ ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นอารามหลวงหรือไม่ก็ตาม (ดู "ตำนานอาฏานาฏิยปริตร") ส่วนใหญ่มักสวดด้วยสำเนียงที่ดุดัน แห้งแหบโหยหวนบ้าง เป็นการสวดทำนองขู่ตวาดภูตผีปีศาจ ซึ่งเป็นลักษณะการสวดเช่นเดียวที่ปรากฏในพระราชพิธี ทว่า ในระดับพระราชพิธีนั้น ต่อมาได้ทรงโปรดฯ ให้นิมนต์พระอีกสำรับหนึ่ง สวดภาณพระ ด้วยทำนองสรภัญญะที่ไพเราะชื่นใจขึ้นเป็นคู่กัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นขวัญ และ กำลังใจแก่ประชาราษฎร์ ว่าได้ขับไล่ภัยอันตรายสิ่งร้าย และ อวยพรชัยสิริมงคล ในกาลเวลาสำคัญแห่งการเปลี่ยนปี (ดู "ภาณพระ" ใน http://www.polyboon.com/kumpra/29_word_001.php)

ใกล้เคียง

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร การสวดภาณยักษ์ การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 การสวนทวารด้วยกาแฟ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ การสวนทวารหนัก การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (เบลัซเกซ)