การถูกสำเร็จโทษ ของ การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระสถูปบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หน้าพระอุโบสถหลังเดิม วัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก หรือตามที่เรียกในพระราชพงศาวดารว่า วัดบางยี่เรือใต้) ภายหลังมีผู้ขนานนามพระสถูปนี้ว่า "พระเจดีย์กู้ชาติ" ร่วมกับพระสถูปอีกองค์หนึ่งที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งเชื่อกันว่าบรรจุพระบรมอัฐิของกรมหลวงบาทบริจา พระอัครมเหสีของพระองค์

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมร และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงได้รีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งขณะนั้นไปทำศึกกับเขมร จึงกลับมายังกรุงธนบุรีถึงในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เห็นว่าความไม่สงบของบ้านเมืองเกิดจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียร[1]ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วฝังพระบรมศพที่วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทารามวรวิหาร) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325[2] เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา สิริรวมครองราชย์ได้ 15 ปี และถือเป็นจุดสิ้นสุดของกรุงธนบุรี จากนั้นจึงได้สืบสวนความผิดของผู้ก่อกบฏ แล้วตัดสินให้นำพระยาสรรค์กับพวกไปประหารชีวิตในเวลาต่อมา[3]

การวิเคราะห์

สำหรับสาเหตุที่พระองค์เสียพระจริตนั้น มีหลักฐานได้อธิบายไว้หลายสาเหตุ สามารถจำแนกได้ดังนี้

สาเหตุของการเสียพระจริตนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามทัศนะของชนชั้นสูงต่างยุคสมัย[8] แต่ทั้งหมดนี่เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น เพราะแนวคิดในการพิสูจน์ความจริงนั้นได้ถูกละเลย[7]

นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้อธิบายใน การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด (หรือ "ดุร้าย") ในสมัยปลายรัชกาลนั้น คงเป็นเพราะพระราชอำนาจที่เสื่อมลง[9] พระองค์ยังทรงประพฤติไม่เหมือนกับพระมหากษัตริย์อยุธยาแต่เดิมด้วย จนกลุ่มขุนนางอยุธยาแต่เดิมสูญเสียความศรัทธา และถูกมองว่าเสียสติ[10] ทั้งนี้ หลักฐานพงศาวดารซึ่งบันทึกอาการวิกลจริตของพระองค์ล้วนถูกเขียนขึ้นภายหลังการสวรรคตของพระองค์ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับข่าวการเสียสติของพระองค์[11] ในขณะที่จดหมายโหรร่วมสมัยได้บันทึกว่า พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นปกติจนถึง พ.ศ. 2324[12] การเสียสติของพระองค์จึงไม่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัย แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด

ใกล้เคียง

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การสวดภาณยักษ์ การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 การสวนทวารด้วยกาแฟ การสวนทวารหนัก การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (เบลัซเกซ)