ลำดับเหตุการณ์ ของ การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่_2_แห่งสหราชอาณาจักร

8 กันยายน

ประกาศการสวรรคตหน้าพระราชวังฮอลีรูด
ประกาศการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถทางวิทยุเสียงอเมริกา ในวันที่ 8 กันยายน

หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลาเช้า เจ้าชายชาลส์และเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังปราสาทแบลมอรัล เพื่อเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2[18][19] ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรี ได้รับแจ้งจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่าพระอาการประชวรของสมเด็จพระราชินีนาถค่อนข้างหนัก[20]

เวลา 12.00 น. ทรัสส์ได้รับแจ้งข่าวการประชวรของสมเด็จพระราชินีนาถเพิ่มเติมจากรองผู้นำฝ่ายค้านในสภาสามัญชน[21][22] ครึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น สำนักพระราชวังบักกิงแฮม ออกแถลงการณ์ว่า คณะแพทย์ได้เข้าดูแลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 อย่างใกล้ชิดที่ปราสาทแบลมอรัล หลังจากคณะแพทย์มีความกังวลต่อพระพลานามัยของพระองค์[23][24] หลังจากประกาศดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ พระบุตรและพระสุณิสาของสมเด็จพระราชินีนาถที่เหลือทั้งหมด รวมทั้งเจ้าชายวิลเลียม ได้เสด็จพระราชดำเนินตามมาสมทบที่ปราสาทแบลมอรัล[25][26]

สิบนาทีหลังแถลงการณ์สำนักพระราชวัง บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (บีบีซี) ได้ยกเลิกโปรแกรมปกติทั้งหมดเพื่อเข้าสู่รายการพิเศษติดตามพระอาการประชวรของสมเด็จพระราชินีนาถ โดยพนักงานบีบีซีทั้งหมดสวมชุดสีดำ สถานีโทรทัศน์อื่น ๆ ของสหราชอาณาจักรก็มีช่วงรายงานพิเศษในการนี้เช่นเดียวกัน[27] หนึ่งชั่วโมงต่อมาผู้สื่อข่าวบีบีซีคนหนึ่งทวีตข้อความว่าสมเด็จพระราชินีนาถสวรรคตแล้ว ก่อนจะลบออกไป[28]

เวลา 15.10 น. สมเด็จพระราชินีนาถสวรรคต โดยสำนักทะเบียนราษฎร์แห่งชาติสกอตแลนด์ ได้เผยแพร่ใบมรณบัตรของสมเด็จพระราชินีนาถ เมื่อวันที่ 29 กันยายน โดยระบุสาเหตุว่า “ทรงพระชราภาพ”

เวลา 16.30 น. ทรัสส์ได้รับแจ้งข่าวดังกล่าวจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[29][30] ครึ่งชั่วโมงต่อมาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมถึงเจ้าชายวิลเลียม, เจ้าชายแอนดรูว์, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด และ โซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ เสด็จพระราชดำเนินถึงปราสาทแบลมอรัล[29]

เวลา 18.30 น. ทวิตเตอร์พระราชวงศ์สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในบัญชีโซเชียลมีเดียทางการของสำนักพระราชวัง ทวีตข้อความประกาศว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการสงบ โดยสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี จะยังประทับที่ปราสาทแบลมอรัล และมีกำหนดเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงลอนดอนในวันรุ่งขึ้น[31][32]

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
ประกาศสมเด็จพระราชินีนาถสวรรคต อ่านโดย ฮิว เอ็ดเวิดส์

หลังจากนั้นไม่นาน ฮิว เอ็ดเวิดส์ เป็นบุคคลแรกที่ประกาศข่าวการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถผ่านสถานีโทรทัศน์ในเครือข่ายบีบีซีทั้งหมด ยกเว้นบีบีซีทรี, บีบีซีโฟร์, ซีบีบีซี, และซีบีบีส์ เอ็ดเวิดส์อ่านประกาศสำนักพระราชวังบักกิงแฮมแบบคำต่อคำโดยไม่มีการออกความเห็นอื่นใดเพิ่มเติม หลังจากนั้นจึงมีการเปิดเพลงชาติสหราชอาณาจักร[33] มีผู้ประมาณการว่าประชากรสหราชอาณาจักรอย่างน้อย 16 ล้านคน รับชมการประกาศข่าวดังกล่าว[34]

มีการลดธงชาติสหราชอาณาจักรครึ่งเสาที่พระราชวังบักกิงแฮม[35], ปราสาทแบลมอรัล และบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง[36][37] สำหรับธงพระราชอิสริยยศจะลดครึ่งเสาแล้วกลับมาชักสุดปลายเสาเช่นเดิม

เวลา 20.00 น. เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ เสด็จพระราชดำเนินถึงปราสาทแบลมอรัล ทั้งนี้พระชายาและพระบุตรทั้งสองของเจ้าชายแฮร์รี มิได้ตามเสด็จมาด้วย[18]

9 กันยายน

สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา เสด็จพระราชดำเนินจากปราสาทแบลมอรัลมายังพระราชวังบักกิงแฮม ในการนี้ทรงเยี่ยมประชาชนที่มาแสดงความอาลัยนอกรั้วพระราชวัง[38] จากนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสหราชอาณาจักร พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์ ก่อนมีพระราชดำรัสสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในรายการพิเศษของบีบีซี[39][40] โดยในพระราชดำรัสแรกหลังขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ประกาศให้ราชสำนักไว้ทุกข์จนถึงวันพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนนี และต่อเนื่องไปอีกเจ็ดวัน[41] ทั้งนี้ บีบีซีได้ถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชกุมารีและเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดด้วย[42]

วันเดียวกัน มีการยิงสลุตจากทหารปืนใหญ่และทหารเรือ[41][43][44][45][46][47][39] ส่วนในโบสถ์สำคัญมีการลั่นระฆัง[45][48][49][50] นอกจากนี้ สำนักพระราชวังและรัฐบาลสหราชอาณาจักรยังได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในช่วงการไว้ทุกข์[41][39] โดยในส่วนของรัฐบาลนั้น มิได้บังคับให้กิจการต่าง ๆ ต้องปิดในช่วงดังกล่าว[39]

10 กันยายน

มีพิธีประกาศการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ชาลส์ที่ 3[51][52][53] และมีการเตรียมการสำหรับขบวนเคลื่อนหีบพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถ จากปราสาทแบลมอรัลมายังพระราชวังฮอลีรูด และต่อไปยังอาสนวิหารเซนต์ไจล์ในเอดินบะระ ตามลำดับ เพื่อให้ประชาชนเข้าแสดงความอาลัย[54]

สำนักพระราชวังบักกิงแฮมประกาศว่า พิธีฝังพระบรมศพกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน[55] รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดธนาคาร[56]

11 กันยายน

เวลา 10.06 น. มีขบวนเคลื่อนพระบรมศพจากปราสาทแบลมอรัลมายังพระราชวังฮอลีรูด[57] โดยสมเด็จพระราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินตามพระบรมศพในขบวนดังกล่าวพร้อมด้วยพระสวามี ขบวนดังกล่าวถึงพระราชวังฮอลีรูดในเวลา 16.23 น. ทั้งนี้ เจ้าชายแอนดรูว์, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด และเคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ ได้ประทับรอขบวนพระบรมศพที่พระราชวังฮอลีรูดก่อนหน้านี้แล้ว[58][59]

วันเดียวกัน สมเด็จพระราชาธิบดีพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้เลขาธิการสำนักกิจการเครือจักรภพและข้าหลวงใหญ่ของรัฐเครือจักรภพทั้งหมด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระราชวังบักกิงแฮม[60] นอกจากนี้ บีบีซีวันได้ปรับผังรายการกลับสู่ปกติ แต่จะยังเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับการสวรรคตและพิธีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง[61] ส่วนไอทีวี, ช่อง 4 และสกาย เริ่มกลับมาแสดงโฆษณาอีกครั้งหลังหยุดไปตั้งแต่ประกาศการสวรรคต[62][63]

12 กันยายน

สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เพื่อทรงร่วมพิธีแสดงความอาลัยของรัฐสภา[64] จากนั้นทั้งสองพระองค์ประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครเอดินบะระ[65] เพื่อทรงร่วมพิธีแสดงความอาลัยของรัฐสภาสกอตแลนด์[65] และทรงร่วมกระบวนอัญเชิญพระบรมศพจากพระราชวังฮอลีรูดไปยังอาสนวิหารเซนต์ไจล์ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์[66][57][60][67] อาสนวิหารได้เปิดให้ประชาชนเข้าแสดงความอาลัยได้หนึ่งวัน[60] โดยมีผู้เข้ามาแสดงความอาลัยประมาณ 33,000 คน[68] ทั้งนี้ หีบพระบรมศพจะได้รับการคลุมด้วยธงพระราชอิสริยยศและประดับด้วยมงกุฎแห่งสกอตแลนด์[64]

ในเวลา 19.40 น. พระบุตรของสมเด็จพระราชินีนาถทั้งสี่ได้ประทับยืนเฝ้าหีบพระบรมศพตามธรรมเนียมเป็นเวลาสิบนาที[69][70][71] โดยสมเด็จพระราชกุมารีทรงเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์แรกที่เข้าร่วมพิธีดังกล่าว นับตั้งแต่การมีขึ้นครั้งแรกของธรรมเนียมนี้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2479[72]

13 กันยายน

สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครเบลฟาสต์ เพื่อทรงร่วมพิธีแสดงความอาลัยโดยเสนาบดีใหญ่และสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือ[60] ส่วนหีบพระบรมศพได้รับการประดับด้วยมงกุฎอิมพีเรียลสเตต และมีการอัญเชิญจากท่าอากาศยานเอดินบะระมายังฐานทัพอากาศนอร์ธโอลท์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน โดยสมเด็จพระราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินตามหีบพระบรมศพพร้อมด้วยพระสวามี จากนั้นหีบพระบรมศพได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่พระราชวังบักกิงแฮม[60]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

14 กันยายน

กระบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญหีบพระบรมศพผ่านถนนเดอะมอลล์ไปยังพระราชวังเวสต์มินสเตอร์

ในวันที่ 14 กันยายน กระบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญหีบพระบรมศพโดยราชรถปืนใหญ่ของกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ เคลื่อนจากพระราชวังบักกิงแฮมไปยังพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ด้วยอัตราการเดิน 75 ก้าวต่อนาที[73] โดยสมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนดังกล่าวด้วย[66][60] อนึ่ง เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก และเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ มิได้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร เนื่องจากทั้งสองมิได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจของราชวงศ์[73]

พระบรมศพจะประดิษฐานที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ให้ประชาชนเข้าแสดงความอาลัยเป็นเวลาสี่วัน[60] ทั้งนี้ หีบพระบรมศพจะได้รับการประดับด้วยมงกุฎอิมพีเรียลสเตต, ลูกโลกประดับกางเขน และคทาประดับกางเขน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์สหราชอาณาจักร[66] บีบีซีได้ถ่ายทอดสดการเคลื่อนกระบวนนี้ตลอดพิธี[74]

16–18 กันยายน

ในวันที่ 16 กันยายน สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังเวลส์ เป็นการเสร็จสิ้นพระราชภารกิจในการทรงรับการแสดงความอาลัยสมเด็จพระราชินีนาถจากชาติในสหราชอาณาจักรทั้งสี่[60]

ในวันที่ 18 กันยายน เวลา 20.00 น. มีการจัดกิจกรรมยืนสงบนิ่งเป็นเวลาหนึ่งนาทีทั่วสหราชอาณาจักร[75]

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การสวดภาณยักษ์ การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 การสวนทวารด้วยกาแฟ การสวนทวารหนัก การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ การสวมมงกุฎพระนางพรหมจารี (เบลัซเกซ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่_2_แห่งสหราชอาณาจักร //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.bbc.com/news/av/uk-62839831 https://www.bbc.com/news/av/uk-62853708 https://www.bbc.com/news/av/uk-62883215 https://www.bbc.com/news/av/uk-england-norfolk-628... https://www.bbc.com/news/av/uk-england-south-yorks... https://www.bbc.com/news/av/uk-wales-62854593 https://www.bbc.com/news/av/uk-wales-62855449 https://www.bbc.com/news/uk-59135132 https://www.bbc.com/news/uk-60453566