การสื่อสารในภาวะฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น
การสื่อสารในภาวะฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น

การสื่อสารในภาวะฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น

การสื่อสารในภาวะฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น (อังกฤษ: Amateur radio emergency communications) เป็นการสื่อสารในช่วงเวลาวิกฤตและภัยธรรมชาติ วิทยุสมัครเล่นมักถูกใช้เป็นวิธีในการสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน ในกรณีที่โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และวิธีการสื่อสารทั่วไปอื่น ๆ ประสบความล้มเหลววิทยุสมัครเล่นนั้นเป็นกิจการที่ไม่ได้พึ่งพาระบบเชิงพาณิชย์ จึงไม่จำเป็นจะต้องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกภาคพื้นดินที่อาจจะเกิดความเสียหายหรือล้มเหลวจากผู้ให้บริการหรือภัยพิบัติ สามารถตั้งกระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่ได้โดยไม่มีจุดอับซึ่งการสื่อสารอื่นไม่คล่องตัวเท่า เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ เซลล์ไซต์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นจะไม่สามารถรองรับบริมาณการถ่ายโอนของข้อมูลที่มากเกินไปเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งนักวิทยุสมัครเล่นที่มีประสบการณ์มักจะปรับแต่งสายอากาศและแหล่งพลังงาน และอุปกรณ์ที่ใช้งานส่วนใหญ่สามารถปรับมาใช้พลังงานจากแบตเตอรี่รถยนต์ได้ และมักจากมีการจัดการแข่งขัน "ฟีลด์เดย์" ประจำปีขึ้นมาในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะการโต้ตอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน นักวิทยุสมัครเล่นอาจใช้ความถี่ได้หลายร้อยความถี่และสร้างเครือข่ายการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โยงเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็วเพื่อการประสานงานในภาวะฉุกเฉินร่วมกันตัวอย่างล่าสุด ได้แก่ การวินาศกรรม 11 กันยายนที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในแมนแฮตตันในปี พ.ศ. 2544 เหตุการณ์ไฟป่าในอเมริกาเหนือในปี พ.ศ. 2546 และพายุเฮอริเคนแคทรีนาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ซึ่งวิทยุสมัครเล่นถูกนำมาใช้เพื่อประสานงานในการประสานงานเพื่อบรรเทาภัยพิบัติเมื่อระบบสื่อสารอื่นล้มเหลว ในปี พ.ศ. 2560 กาชาดได้ร้องขอให้ส่งนักวิทยุสมัครเล่นจำนวน 50 รายไปยังปวยร์โตรีโกเพื่อให้บริการด้านการสื่อสารหลังการพัดถล่มของพายุเฮอริเคนมารีอา[1]เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547 วิทยุสมัครเล่นถูกใช้เพื่อรายงานข้อมูลสดไปยังนักพยากรณ์อากาศเกี่ยวกับพายุเฮอริเคนฟรานเซสจากบาฮามาส เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 แผ่นดินไหวและสึนามิในมหาสมุทรอินเดียได้ทำลายการสื่อสารทั้งหมดของหมู่เกาะอันดามัน ยกเว้นการออกอากาศทางไกลด้วยวิทยุสมัครเล่น (DX-pedition) จากในพื้นที่ซึ่งเป็นช่องทางเดียวในการสื่อสารนำความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เข้าไป[2] และในประเทศไทยวิทยุสมัครเล่นก็มีส่วนสำคัญในการติดต่อสื่อสารและประสานงานเพื่อบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่หลังเกิดเหตุ[3]ในประเทศจีน นักวิทยุสมัครเล่นได้ให้บริการการสื่อสารในภาวะฉุกเฉินหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวนเมื่อปี พ.ศ. 2551[4] และกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นของสหรัฐก็ทำงานในรูปแบบคล้ายคลึงกันหลังการพัดถล่มของพายุเฮอริเคนไอค์[5] นักวิทยุสมัครเล่นได้ร่วมประสานงานสื่อสารภายหลังเหตุระเบิดในบอสตันมาราธอน พ.ศ. 2556 เนื่องจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการใช้งานเกินขีดจำกัดจนใช้การไม่ได้[6]การตอบสนองต่อภัยพิบัติครั้งที่ใหญ่ที่สุดของนักวิทยุสมัครเล่นสหรัฐคือระหว่างพายุเฮอริเคนแคทรีนา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินถล่มครั้งแรกในขณะที่พายุอยู่ในระดับ 1 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และพายุได้ทวีกำลังขึ้นเป็นระดับ 5 ในท้ายที่สุด มีนักวิทยุสมัครเล่นมากกว่าพันคนทั่วสหรัฐมารวมตัวกันบริเวณชายฝั่งของอ่าวเพื่อให้การสนับสนุนการสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน และจากการสอบสวนเหตุการณ์ของรัฐสภาสหรัฐครั้งต่อมาก็ได้เน้นย้ำว่าการตอบสนองของวิทยุสมัครเล่นนั้นเป็นอีกหนึ่งในไม่กี่ตัวอย่างของการกระทำที่ถูกต้องในการบรรเทาภัยพิบัติ[7]

ใกล้เคียง

การสืบเชื้อสายร่วมกัน การสื่อสารในภาวะฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น การสื่อสารไร้สาย การสืบพันธุ์ การสื่อสารในประเทศกัมพูชา การสื่อสาร การสื่อสารสนามใกล้ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ การสื่อสารมวลชน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสื่อสารในภาวะฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น http://www.cnn.com/2017/09/27/us/puerto-rico-maria... https://www.voanews.com/a/a-13-2005-01-05-voa24-66... https://waymagazine.org/sombat-boonngam-anong-tsun... http://www.arrl.org/news/chinese-officials-give-ku... http://www.arrl.org/news/texas-hams-braced-for-ike https://web.archive.org/web/20171003030123/http://... http://www.unionleader.com/apps/pbcs.dll/article?A... http://www.arrl.org/arrlletter?issue=2005-09-30 https://mgronline.com/cyberbiz/detail/948000000197... https://www.rast.or.th/hs-arec