ประวัติ ของ การส่งกลับสายแพทย์

เฮลิคอปเตอร์ซิกอร์สกี อาร์-5 ของกองทัพอากาศสหรัฐอพยพผู้บาดเจ็บในช่วงสงครามเกาหลีการอพยพผู้บาดเจ็บทางอากาศโดยซี-17 จากบาอ์ลัด ประเทศอิรัก ไปยังรัมสไตน์ ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 2007

การขนส่งทางการแพทย์ทางอากาศครั้งแรกได้รับการบันทึกในประเทศเซอร์เบีย ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1915 ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[2] หนึ่งในทหารบาดเจ็บในการขนส่งทางการแพทย์ครั้งแรกคือมิลาน ราสติสลาฟ ชเตฟานิค ซึ่งเป็นนักบินอาสาสมัครชาวสโลวาเกียที่ได้รับการบินไปสู่ความปลอดภัยโดยนักบินชาวฝรั่งเศสชื่อหลุยส์ ปอลอ[3]

กองทัพบกสหรัฐใช้เทคนิคการช่วยชีวิตนี้ในประเทศพม่าช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองด้วยเฮลิคอปเตอร์ซิกอร์สกี อาร์-4บี การช่วยชีวิตทางเฮลิคอปเตอร์ครั้งแรกมีขึ้นโดยเรืออากาศตรีคาร์เตอร์ ฮาร์แมน ในประเทศพม่าที่ถูกยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องผลุบๆ โผล่ๆ หลายครั้งเพื่อนำซิกอร์สกี วายอาร์-4บี ของเขาไปยังสนามบินลับของกองบัญชาการกองทัพอากาศที่ 1 ในดินแดนศัตรู และจากนั้นได้เดินทางสี่ครั้งจากที่นั่นระหว่างวันที่ 25 และ 26 เมษายนเพื่อนำนักบินชาวอเมริกันและทหารอังกฤษที่บาดเจ็บสี่นายกลับคืนมา ครั้งละหนึ่งคน[4] ส่วนการส่งกลับสายแพทย์ภายใต้การไล่ยิงได้กระทำในกรุงมะนิลาเมื่อปี ค.ศ. 1945 เมื่อนักบินห้านายได้อพยพทหาร 75–80 นาย จำนวนหนึ่งหรือสองคนในเวลาเดียวกัน[5]

ใกล้เคียง

การส่งสัญญาณของเซลล์ การส่งกำลังบำรุงทางทหาร การส่องกล้อง การส่งออก การส่งกลับสายแพทย์ การส่งบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การส่งต่อ การส่งทหารกลับเข้าไรน์ลันท์ การส่งข้อความทันที