สถานะทางกฎหมาย ของ การอดอาหารประท้วง

ข้อ 8 ของปฏิญญาโตเกียว ค.ศ. 1975 ของแพทยสมาคมโลก ห้ามแพทย์บังคับนักโทษที่ประท้วงกินอาหาร ทั้งคาดหมายให้แพทย์ทำความเข้าใจในเจตนาอิสระของนักโทษ และมีข้อแนะนำให้ต้องมีความเห็นจากแพทย์มากกว่าหนึ่งคน (second opinion) ในเรื่องความสามารถของนักโทษในการเข้าใจผลลัพธ์การตัดสินใจอดอาหารและในการให้ความยินยอมเมื่อรับทราบข้อมูลแล้ว (informed consent)

เมื่อนักโทษไม่ยอมรับโภชนาการ และได้รับการพิจารณาจากแพทย์ว่า สามารถตัดสินใจอย่างไม่บกพร่องและมีเหตุผลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการสมัครใจไม่ยอมรับโภชนาการเช่นนั้นแล้ว การป้อนอาหารแก่เขาโดยวิธีนอกเหนือธรรมชาติจะกระทำมิได้ คำวินิจฉัยเกี่ยวกับความสามารถของนักโทษในการตัดสินใจเช่นนั้นควรได้รับการยืนยันจากแพทย์ที่มีอิสระอย่างน้อยอีกหนึ่งคน ให้แพทย์อธิบายผลลัพธ์ของการไม่ยอมรับโภชนาการนั้นแก่นักโทษ[5]

ต่อมา แพทยสมาคมโลกได้ตรวจชำระและปรับปรุงปฏิญญามอลตาว่าด้วยผู้อดอาหารประท้วง (Declaration of Malta on Hunger Strikers)[6] ในบรรดาข้อเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มีข้อ 21 ที่ระบุอย่างกำกวมว่า การบังคับให้กินเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและลดทอนศักดิ์ศรี

แพทยสมาคมอเมริกัน (AMA) ซึ่งเป็นสมาชิกของแพทยสมาคมโลก ได้อนุมัติปฏิญญาโตเกียวอย่างเป็นทางการ และมีหนังสือหลายฉบับถึงรัฐบาลสหรัฐรวมถึงออกแถลงการณ์สาธารณะแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการที่แพทย์สหรัฐมีส่วนในการบังคับผู้ประท้วงให้กินอาหารโดยขัดกับจริยธรรมแพทย์[7]

ใกล้เคียง

การอดอาหารประท้วงในประเทศไอร์แลนด์ ค.ศ. 1981 การอดอาหารเป็นพัก ๆ การอดอาหารประท้วง การอดอาหาร การอดอยาก การอดนอน การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การออกกำลังกาย การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอดอาหารประท้วง http://righttohealthifhhro.pbworks.com/w/page/7893... http://www.preventgenocide.org/action/during/fasti... http://thinkprogress.org/security/2013/04/30/19401... https://thematter.co/brief/140515/140515 https://www.collinsdictionary.com/dictionary/engli... https://www.irishtimes.com/culture/heritage/the-lo... https://www.wma.net/policies-post/wma-declaration-... https://www.wma.net/policies-post/wma-declaration-... https://web.archive.org/web/20150404232634/http://...