การอำพรางแบบวาบ

การอำพรางแบบวาบ (อังกฤษ: flash suppression) เป็นปรากฏการณ์ของการรับรู้อารมณ์[1]ทางตา ที่รูปหนึ่ง ๆ แสดงให้ตาข้างหนึ่ง แต่ถูกอำพรางโดยการแสดงชั่วแวบหนึ่งของอีกรูปหนึ่ง ให้แก่ตาอีกข้างหนึ่งเพื่อที่จะสังเกตการณ์การอำพรางแบบวาบ ก่อนอื่น แสดงรูปเล็ก ๆ รูปหนึ่งให้แก่ตาข้างหนึ่งเป็นเวลา 1 วินาที แล้วแสดงรูปเปล่าให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้น แสดงรูปเล็ก ๆ ที่ต่างกันอย่างฉับพลัน คือ แสดงชั่วแวบ ให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง (ที่ตอนแรกได้รับการแสดงรูปเปล่า) ในเขตของจอตาที่สมนัยกันกับรูปที่แสดงให้แก่ตาแรก เมื่อได้ทำอย่างนี้ การเห็นรูปที่แสดงให้แก่ตาแรกจะหายไป แม้ว่า รูปนั้นยังแสดงอยู่ และรูปใหม่เท่านั้นที่ได้รับการเห็น ฉะนั้น รูปใหม่ที่แสดงให้แก่ตาที่สองจะอำพรางการเห็นรูปที่แสดงให้แก่ตาแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าแสดงรูปรถคันหนึ่งให้แก่ตาข้างซ้ายเป็นเวลา 1 วินาที ต่อจากนั้น แสดงใบหน้าหนึ่ง ๆ ให้แก่ตาข้างขวาโดยฉับพลัน คนดูจะเห็นรถที่แสดงให้แก่ตาข้างซ้ายก่อน หลังจากนั้น จึงเห็นใบหน้าที่แสดงให้แก่ตาข้างขวา ให้สังเกตว่า คนดูเห็นใบหน้านั้นแม้รูปรถจะยังดำรงอยู่ ถ้าลำดับของการแสดงกลับกัน ลำดับของการรับรู้อารมณ์ก็กลับกันเช่นกัน ดูเหมือนว่า ปรากฏการณ์การอำพรางแบบวาบจะเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แล้ว แม๊คดูกอลพรรณนาถึงปรากฏการณ์นี้ในปี ค.ศ. 1901 (หน้า 598) และแลนซิงใช้ปรากฏการณ์นี้ในการทดลองด้วยอีอีจี (อังกฤษ: electroencephalogram) เมื่อปี ค.ศ. 1964 ต่อมาในปี ค.ศ. 1984 เจเรมี โวลฟ์ ก็ได้แสดงลักษณะเฉพาะของการอำพรางแบบวาบในงานวิจัยจิตวิทยาวัตถุกระตุ้น (อังกฤษ: psychophysics) อย่างเป็นระบบ[2]การอำพรางแบบวาบเป็นตัวอย่างของเทคนิคการลวงตาที่ทำให้รูปที่ปกติเห็นได้ชัด กลายเป็นรูปที่มองไม่เห็น เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิจัยกลไกการปฏิบัติการของสมองทั้งที่มีการรับรู้และไม่มีการรับรู้ ต่อสิ่งกระตุ้นทางตา[3] เทคนิคการลวงตาที่เกี่ยวข้องกันรวมทั้งมูลเหตุทางสมองที่ทำให้เกิดการอำพรางแบบวาบได้รับการวิจัยโดยใช้ไมโครอีเล็คโทรดบันทึกสัญญาณในสมองส่วนสายตาของลิงแม็กแคก[4] และในสมองกลีบขมับส่วนกลางของมนุษย์[5]

ใกล้เคียง