การอ้างความใหม่

การอ้างความใหม่ (อังกฤษ: appeal to novelty, appeal to modernity, argumentum ad novitatem) เป็นเหตุผลวิบัติโดยการอ้างว่า แนวคิดหรือข้อเสนอหนึ่งถูกต้องกว่าหรือดีกว่าเพราะเป็นของใหม่ เมื่อถกเถียงกันเรื่องการใช้ของเก่ากับของใหม่ การอ้างความใหม่โดยตนเองไม่ใช่เหตุผลที่สมเหตุสมผล เหตุผลวิบัติมีสองรูปแบบคือ การมองของใหม่ดีเกินไปโดยไม่ได้ตรวจสอบแต่สมมุติว่าดีที่สุด หรือว่าการให้เครดิตของเก่าน้อยเกินไปโดยที่ไม่ได้ตรวจสอบแต่สมมุติว่าแย่สุด แม้เมื่อตรวจสอบแล้วอาจพิสูจน์ข้ออ้างเช่นนี้ได้ว่าถูกต้อง แต่เหตุผลวิบัติก็คือการสรุปก่อนควรว่าของใหม่จะต้องดีทุกอย่าง Chronological snobbery เป็นรูปแบบหนึ่งของการอ้างความใหม่ ซึ่งอ้างว่าความรู้และข้อปฏิบัติที่สำคัญหรือเข้าประเด็น จะต้องได้มาในทศวรรษที่เพิ่งผ่านๆ มา เหตุผลวิบัติตรงข้ามกันก็คือ การอ้างประเพณี (appeal to tradition) ซึ่งให้เหตุผลว่า วิธีเก่าๆ ย่อมดีกว่าแนวคิดใหม่ๆ การให้เหตุผลเยี่ยงนี้มักได้ผลในโลกปัจจุบัน เพราะทุกคนอยากจะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอด ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอมเมื่อต้นทศวรรษ 2000 อาจมองได้ว่าเป็นผลของการยอมรับแนวคิดใหม่ๆ โดยไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อน อนึ่ง โฆษณามักจะชักชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์เพราะเป็นของใหม่

ใกล้เคียง

การอ้างก้อนหิน การอ้างอำนาจ การอ้างธรรมชาติ การอ้างคำพูดนอกบริบท การอ้างผลที่ตามมา การอ้างอิง การอ้างความใหม่ การอ้างเหตุผลแนวทแยงของคันทอร์ การอ้างเหตุผล การอ้างเหตุผลของฮาร์ต-ทิปเลอร์