ปัญหาการระบุเป็นเหตุผลวิบัติ ของ การอ้างความใหม่

ในบางกรณี ความใหม่อาจสัมพันธ์กับคุณสมบัติที่ดี เช่นเทคโนโลยีใหม่ๆ มักจะซับซ้อนกว่าและก้าวหน้ามากกว่าเทคโนโลยีเก่าๆ ฐานข้อมูลไวรัสใหม่อาจสัมพันธ์กับความมั่นคงของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ใหม่ๆ อาจสัมพันธ์กับความเร็วและการทำงานที่ดีขึ้น

ในกรณีเฉพาะๆ เหล่านี้ อะไรบางอย่างอาจจะดีกว่าเมื่อใหม่ แต่ปกติก็จะไม่ใช่เพราะความใหม่เท่านั้นดังนั้น การอ้างความใหม่จึงไม่ใช่เหตุผลวิบัติในทุกๆ กรณี จะเป็นก็ต่อเมื่อไม่มีความสัมพันธ์จริงๆ หรือว่ายังไม่ได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ หรือว่าอ้างว่าเป็นข้อพิสูจน์

ถ้าเป็นอะไรที่เสื่อมอยู่ตลอดเวลา ความใหม่ก็จะเป็นเหตุผลที่ดี ตราบเท่าที่มันคืนสภาพอะไรที่เคยมีหรือทำให้ดีขึ้นกว่าก่อนเช่น เสื้อผ้าใหม่ก็จะดีกว่าเสื้อผ้าที่เก่าแต่เหมือนกัน หรือว่าอวัยวะสัตว์ใหม่ๆ ก็จะดีกว่าในกรณีที่ลอกคราบ

ในเรื่องสุนทรียภาพ เช่นศิลปะและการดนตรี ก็เช่นกัน เพราะคุณค่าอาจไม่ได้อยู่ที่ผลงานที่ได้หรือว่าการเล่นโดยตรง แต่อยู่ที่ความรู้สึกว่าเป็นของใหม่และความอัศจรรย์ใจที่ก่อเช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงอาจจะเล่นเพียงแต่ดนตรีที่ปัจจุบันกำลังได้ความนิยม หรือคาดว่าจะได้ความนิยมหลังจากเปิดแผ่น ไม่ใช่เล่นดนตรีที่นิยมเมื่อหลายเดือนก่อน ซึ่งเท่ากับระบุว่า ความนิยมในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ให้ค่า ไม่ใช่คุณสมบัติอะไรในตัวเองของดนตรี ไม่ใช่ความนิยมที่เคยมีมาก่อน ถ้าเป็นเช่นนี้จริงๆ ความใหม่เองนั่นแหละจึงเป็นคุณค่าหลัก แม้อาจใช้ไม่ได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ในกรณีเช่นนี้ ประพจน์ที่เทียบสิ่งสองอย่างโดยความใหม่จึงไม่ใช่เหตุผลวิบัติ เช่น "เพลง ก น่าจะดีกว่ากับเพลง ข เพราะใหม่กว่า"

แบบรูปนัย
In propositional logic
In quantificational logic
Syllogistic fallacy
แบบอรูปนัย
การพูดกำกวม
การให้เหตุผลเป็นวง
Correlative-based
Illicit transference
Secundum quid
การวางนัยทั่วไป
ที่บกพร่อง
Ambiguity
การให้เหตุ
ที่น่าสงสัย
การยกหรืออ้าง
ผลที่ตามมา
อารมณ์
เหตุผลวิบัติ
โดยอาศัยกำเนิด
Ad hominem
การยกผลที่ตามมา
เหตุผลวิบัติ
โดยไม่เข้าประเด็น

ใกล้เคียง

การอ้างก้อนหิน การอ้างอำนาจ การอ้างธรรมชาติ การอ้างคำพูดนอกบริบท การอ้างผลที่ตามมา การอ้างอิง การอ้างความใหม่ การอ้างเหตุผลแนวทแยงของคันทอร์ การอ้างเหตุผล การอ้างเหตุผลของฮาร์ต-ทิปเลอร์