หลักทั่วไป ของ การเขียนคำทับศัพท์ภาษามลายู

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษามลายูตามที่เขียนด้วยอักษรโรมัน (รูมี) โดยมีตารางเทียบอักษรโรมันกับอักษรไทยที่ใช้ในการทับศัพท์และมีตัวอย่างประกอบ

2. การทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์นี้ยึดการออกเสียง 2 แบบ ได้แก่ การออกเสียงตามรูปเขียน (Sebutan Baku) ใช้อักษรย่อว่า SB และการออกเสียงแบบที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน (Bahasa Melayu Percakapan) ใช้อักษรย่อว่า BMP ในตารางได้ให้ตัวอย่างไว้ทั้ง 2 แบบ โดยใส่วงเล็บกำกับ เช่น

suir=ซูวีร์ (SB), ซูเวร์ (BMP)
ทั้งนี้ หากทั้ง 2 แบบออกเสียงเหมือนกันก็จะไม่ใส่วงเล็บกำกับ เช่น
Seremban=เซอเริมบัน
ในการทับศัพท์คำทั่วไปอาจทับศัพท์ได้ทั้ง 2 แบบ แต่การทับศัพท์วิสามานยนามควรทับศัพท์ตามแบบ SB

3. คำที่ไทยรับมาใช้เป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิมหรือใช้ตามหลักเกณฑ์นี้ ตัวอย่างในที่นี้ใส่คำทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์และวงเล็บคำที่นิยมใช้มาแต่เดิมไว้ด้วย เช่น

Kuala Lumpur
Melaka
=
=
กัวลาลุมปูร์ (SB), กัวเลอลุมโปร์ (BMP) (กัวลาลัมเปอร์)
เมอลากา (SB), เมอลาเกอ (BMP) (มะละกา)

4. คำทับศัพท์ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง, ชื่อแร่และชื่อธาตุ ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด

5. ตัวอย่างคำภาษามลายูที่ให้ไว้ในหลักเกณฑ์นี้สะกดตามระบบใหม่ แต่ในเอกสารโบราณหรือชื่อบุคคลอาจพบคำที่สะกดตามระบบเดิมอยู่บ้าง ที่พบมากมีดังนี้

ระบบเดิมระบบใหม่คำทับศัพท์
รูปเขียนตัวอย่างรูปเขียนตัวอย่าง
 ch Kechik c Kecik เกอจิก (SB), เกอเะก์ (BMP)
 sh Shahidah sy Syahidah าฮีดะฮ์
 dh Ridhwan d Ridwan ริวัน
 dz Dzulkifli z Zulkifli ซุลกิฟลี
 th Thahir s Sahir าฮีร์ (SB), าเฮร์ (BMP)
 ‘a[# 1] ‘Ashr a Ashar าชาร์
 ’a[# 2] Mus’ab a Musab มุซอั
 a’ Parti Ra’yat ak Parti Rakyat ปาร์ตี รักยัต
 a‘ ‘Isha‘ ak Isyak อีชัก (SB), อีชะก์ (BMP)
 e’ Enche’ ik Encik เอ็นจิก (SB), เอ็นะก์ (BMP)
 o’ dato’ uk datuk ดาตุก (SB), ดาะก์ (BMP)
 u’ Nu’man uk Nukman นุกมัน

6. พยัญชนะในภาษามลายูหลายตัวไม่มีเสียงในภาษาไทย จำเป็นจะต้องเลือกอักษรไทยที่มีเสียงใกล้เคียง และหลายเสียงต้องใช้อักษรไทยตัวเดียวกันแทนเสียงพยัญชนะที่มีเสียงต่างกันในภาษามลายู ดังนี้

k
g
c
j
s
z
v
w
=
=
=
=
=
=
=
=







เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
Kelantan
Gombak
Kancil
Masjid Jamek
Seremban
Zahir
November
Wangsa Maju
=
=
=
=
=
=
=
=
อลันตัน (กลันตัน) (ชื่อรัฐ)
มบัก (SB), มบะก์ (BMP) (ชื่อเขต)
กันจิล (ชื่อรุ่นรถ)
มัซจิาเม็ก (SB), มัซจิาเมะก์ (BMP) (ชื่อสถานีรถไฟ)
อเริมบัน (ชื่อเมือง)
าฮีร์ (SB), าเฮร์ (BMP) (ชื่อบุคคลชาย)
โนเว็มเบอร์ (เดือนพฤศจิกายน)
วังซามาจู (SB), วังเซอมาจู (BMP) (ชื่อเขต)

7. ทวิอักษรต่อไปนี้แทนเสียง 1 เสียง กำหนดให้ทับศัพท์ด้วยอักษรไทยตัวเดียว ดังนี้

gh
kh
ng
ny
sy
=
=
=
=
=




เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
Ghalib
Khadijah
Sungai Wang
nyiur
Syarifah
=
=
=
=
=
าลิบ (ชื่อบุคคลชาย)
าดีจะฮ์ (ชื่อบุคคลหญิง)
ซูไวัง (ชื่อเขต)
ญียูร์ (SB), ญีโยร์ (BMP) (มะพร้าว)
ารีฟะฮ์ (ชื่อบุคคลหญิง)

8. พยัญชนะ h และ r ที่อยู่ท้ายพยางค์ ภาษามลายูออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นด้วยแต่ไม่ได้ออกเสียงเหมือนตัวสะกดในภาษาไทย ในการทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เพื่อแสดงว่าเป็นเสียงพยัญชนะท้ายของพยางค์ เช่น

h
r
=
=
ฮ์
ร์
เช่น
เช่น
Sabah
Urdu
=
=
ซาบะฮ์ (ซาบาห์) (ชื่อรัฐ)
อูร์ดู (ชื่อภาษา)

9. พยัญชนะ k ระบบการออกเสียงภาษามลายูจากหนังสือ Daftar Kata Bahasa Melayu (Rumi-Sebutan-Jawi), 2008. ของสถาบันภาษาและวรรณกรรม (Dewan Bahasa dan Pustaka) กำหนดให้ออกเสียงพยัญชนะ k ได้ 4 แบบตามอักษรอาหรับ (ยาวี)[# 3] คือ

- ออกเสียงเป็น
- ออกเสียงเป็น
- ออกเสียงเป็น
- ออกเสียงเป็น
[k]
[ʔ]
[ʕ]
[q]
ตามอักษรอาหรับ ก๊าฟ (ك)
ตามอักษรอาหรับ ฮัมซะฮ์ (ء)
ตามอักษรอาหรับ อัยน์ (ع)
ตามอักษรอาหรับ ก๊อฟ (ق)
เช่น
เช่น
เช่น
เช่น
kaki
Datuk
rakyat
kadi
ในการทับศัพท์กำหนดให้พยัญชนะ k ทับศัพท์เป็น ก ในตำแหน่งพยัญชนะต้นและเมื่อตามหลังสระในพยางค์แรกและพยางค์กลาง เช่น
Kuala Krai
Akmal
akram
laksa
=
=
=
=
กัวลาไร (SB), กัวเลอไร (BMP) (ชื่อเมือง, ชื่อเขต)
อัมัล (ชื่อบุคคล)
อัรัม (ชื่ออาหาร)
ลัซา (SB), ลัเซอ (BMP) (ชื่ออาหาร)
ส่วนพยัญชนะ k ที่เป็นตัวสะกดในพยางค์ท้าย เมื่อออกเสียงแบบ SB ทับศัพท์เป็น ก และเมื่อออกเสียงแบบ BMP ทับศัพท์เป็น ก์ เช่น
Perak=เปรั (SB), เประก์ (BMP) (ชื่อรัฐ)

10. พยางค์ per ที่เป็นหน่วยคำเติมหน้า ให้ทับศัพท์เป็น เปอร์

Persatuan Pengguna Islam Malaysia=เปอร์ซาตวน เปิงกูนา อิซลัม มาเลเซีย (SB), เปอร์ซาตวน เปิงกูเนอ อิซลัม มาเลเซีย (BMP) (ชื่อสมาคม)
แต่ถ้าตามด้วยสระ อาจทับศัพท์เป็น เปอร์ หรือ เปอ + ร + สระ เช่น
peranakan
Pusat Dialog Peradaban
Peringgi
Fakulti Perubatan
Perekonomian
Perorangan
=
=
=
=
=
=
เปอร์อานากัน, เปอรานากัน (ชื่อกลุ่มคน)
ปูซัต เดียลก เปอร์อาดาบัน, ปูซัต เดียลก เปอราดาบัน (ชื่อสถาบัน)
เปอร์อิงกี, เปอริงกี
ฟากุลตี เปอร์อูบาตัน, ฟากุลตี เปอรูบาตัน (คณะแพทยศาสตร์)
เปอร์เอโกโนเมียน, เปอโกโนเมียน (เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์)
เปอร์โอรางัน, เปอรางัน (เรื่องส่วนบุคคล)

11. สระเดี่ยว ในภาษามลายูมี 5 รูป 6 เสียง ได้แก่

a
e
i
o
u
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
ออกเสียงเป็น
/a/
/e/ หรือ /ə/
/i/
/o/
/u/
สระ e ที่ออกเสียง /ə/ ซึ่งออกเสียงสั้นกว่าสระเออในภาษาไทย กำหนดให้ทับศัพท์โดยใช้สระ เ–อ เมื่อเป็นพยางค์เปิด (พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย) และใช้สระ เ–ิ เมื่อเป็นพยางค์ปิด (พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย)

12. สระประสม ในภาษามลายูมี 3 เสียง คือ ai, au และ oi กำหนดให้ทับศัพท์เป็นสระ ไ–, เ–า และ โ–ย ตามลำดับ เช่น

Kuala Krai
Pulau Pinang
Sungoi
Jeram Toi
=
=
=
=
กัวลากร (SB), กัวเลอกร (BMP) (ชื่อเมือง, ชื่อเขต)
ปูปีนัง (ชื่อรัฐ)
ซู (ชื่อหมู่บ้าน)
เจอรัม (ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว)
อย่างไรก็ตาม อาจมีบางคำที่ออกเสียงรูปสระเหล่านี้เป็นสระเรียง เช่น
Naimah=าอีมะฮ์ (ชื่อบุคคลหญิง)
ทั้งนี้ คำใดจะออกเสียงรูปสระเหล่านี้เป็นสระประสมหรือสระเรียงอาจขึ้นอยู่กับที่มาและความหมายของคำ เช่น
Saudah
Saudah
=
=
าอูดะฮ์ (ชื่อบุคคลหญิง แปลว่า เป็นที่เคารพ)
ดะฮ์ (ชื่อบุคคลหญิง แปลว่า สุขสันต์, รื่นเริง)
ในกรณีสระ ai และ au ซึ่งทับศัพท์โดยใช้สระ ไ– และ เ–า ในภาษาไทยรูปสระเหล่านี้มีเสียงพยัญชนะท้ายแล้ว 1 เสียง คือ ย และ ว ตามลำดับ หากมีพยัญชนะอื่นตามมาอีก ภาษามลายูจะออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นด้วย ในการทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับบนพยัญชนะที่ตามมานั้น เช่น
aib
saing
Universiti Sains Malaysia
pelaut
jauh
Pematang Pauh
=
=
=
=
=
=
ไอบ์ (น่าอับอาย)
ไซง์ (เพื่อน)
อูนีเวอร์ซีตีไซนส์มาเลเซีย (SB), ยูนีเวอร์ซีตีไซนส์มาเลเซีย (BMP) (ชื่อมหาวิทยาลัย)
เปอเลาต์ (ชาวทะเล)
เจาฮ์ (ไกล)
เปอมาตังเปาฮ์ (ชื่อเมือง)

13. สระเรียง สระที่เรียงกันหลายตัวในภาษามลายู ถ้าไม่ใช่สระประสมตามข้อ 12. จะออกเสียงทีละตัวเป็นสระเรียง แต่จะออกเสียงต่อเนื่องโดยมักแทรกเสียง ย หรือ ว ระหว่างสระ เสียงสระที่เรียงกันนี้ไม่แยกกันชัดเจนเป็นคนละพยางค์อย่างในภาษาไทย ในการทับศัพท์มีหลักเกณฑ์ดังนี้

13.1 สระ io และ iu ให้ทับศัพท์เป็นสระ 2 เสียง โดยแทรก ย เช่น
Tioman
Setiu
=
=
ตีโยมัน (ชื่อเกาะ)
เซอตียู (ชื่อเขต)
13.2 สระ ui ให้ทับศัพท์เป็นสระ 2 เสียง โดยแทรก ว เช่น
Buis Telupid=บูวิซเตอลูปิด (ชื่อหมู่บ้าน)
13.3 สระเรียงที่มีเสียงใกล้เคียงกับสระประสมในภาษาไทยได้แก่สระ ia และ ua ให้ทับศัพท์เป็น เ–ีย และ –ัว เนื่องจากมีรูปสระในภาษาไทยรองรับได้ และสระ iau และ uai ให้ทับศัพท์เป็นสระประสมที่มีตัวสะกด คือ เ–ียว และ –วย เช่น
Berita Harian
Pontian
Kuantan
Kuala Kangsar
Johor Riau
Maliau
sesuai
=
=
=
=
=
=
=
เบอรีตา ฮาเรียน (SB), เบอรีเตอ ฮาเรียน (BMP) (ชื่อหนังสือพิมพ์รายวัน)
ปนเตียน (ชื่อเขต)
นตัน (ชื่อเมือง)
กัวลากังซาร์ (SB), กัวเลอกังซาร์ (BMP) (ชื่อเมือง)
โจโฮร์เรียว (ชื่อถ้ำ)
มาเลียว (ชื่อหมู่บ้าน)
เซอซวย (เหมาะสม)

14. คำที่ประกอบด้วยคำหลายคำ ถ้าเป็นชื่อภูมิศาสตร์ให้เขียนทับศัพท์ติดกัน เช่น

Alor Setar
Buis Telupid
=
=
อาโลร์เซอตาร์ (ชื่อเมือง)
บูวิซเตอลูปิด (ชื่อหมู่บ้าน)
ส่วนชื่ออื่นให้เขียนทับศัพท์แยกกันตามการเขียนในภาษามลายูชื่อบุคคล เช่น
Najib Razak=นาจิบ ราซัก (SB), นาจิบ ราซะก์ (BMP)
ชื่อพรรคการเมือง เช่น
Parti Keadilan=ปาร์ตี เกออาดีลัน
ชื่อหน่วยราชการ เช่น
Majelis Permusyawaratan Rakyat=มาเจอลิซ เปอร์มูชาวาราตัน รักยัต
ชื่อองค์กรหรือหน่วยงาน เช่น
Dewan Bahasa dan Pustaka=เดวัน บาฮาซา ดัน ปุซตากา (SB), เดวัน บาฮาเซอ ดัน ปุซตาเกอ (BMP) (หน่วยงานทางด้านภาษาแห่งชาติ)

15. ชื่อภูมิศาสตร์ที่มีคำบอกประเภทวิสามานยนามกำกับอยู่ ให้แปลคำบอกประเภทวิสามานยนามเป็นภาษาไทย แล้วเขียนติดกับคำทับศัพท์ เช่น

Pulau Labuan
Sungai Pinang
Pasar Payang
=
=
=
เกาะลาบวน
แม่น้ำปีนัง
ตลาดปายัง
แต่ถ้าคำเหล่านั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชื่อภูมิศาสตร์แล้ว ให้ทับศัพท์และเขียนติดกันทุกคำ เช่น
Kampung Pulau Melaka (Kg. Pulau Melaka)
Jalan Sungai Petani (Jln. Sungai Petani)
=
=
หมู่บ้านปูเลาเมอลากา (SB), หมู่บ้านปูเลาเมอลาเกอ (BMP)
ถนนซูไงเปอตานี

16. ชื่อบุคคลที่มาจากภาษาอาหรับ ให้ทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายู เนื่องจากผู้พูดภาษามลายูออกเสียงชื่อเหล่านั้นตามภาษามลายู เช่น

Abdullah
Nazirah
=
=
อับดุลละฮ์ (ชื่อบุคคลชาย)
นาซีระฮ์ (ชื่อบุคคลหญิง)

17. คำประกอบชื่อบุคคล ชื่อบุคคลในภาษามลายูจะมีคำนำหน้าชื่อ คำแสดงความยกย่อง และคำแสดงยศหรือตำแหน่งอยู่หน้าชื่อ ส่วนผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะเขียนชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามหลังชื่อด้วย ในการทับศัพท์ให้เขียนตามการเขียนในภาษามลายู เช่น

Seri Paduka Baginda Yang di-Pertuan Agong Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin Ibni Almarhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah=



เซอรี ปาดูกา บากินดา ยัง ดี-เปอร์ตวน อากง อัล-วาตีกู บิลละฮ์ ตวนกู มีซัน ไซนัล อาบีดิน อิบนี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน มะฮ์มุด อัล-มุกตาฟี บิลละฮ์ ชะฮ์ (SB),
เซอรี ปาดูเกอ บากินเดอ ยัง ดี-เปอร์ตวน อากง อัล-วาตีกู บิลละฮ์ ตวนกู มีซัน ไซนัล อาบีดิน อิบนี อัลมาร์ฮม ซุลตัน มะฮ์มด อัล-มุกตาฟี บิลละฮ์ ชะฮ์ (BMP)
Seri Paduka Baginda Yang di-Pertuan Agong Al-Wathiqu Billah
Tuanku
Mizan Zainal Abidin
Ibni
Almarhum
Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah
เป็นคำแสดงความยกย่องนำหน้าตำแหน่ง
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
เป็นชื่อตัว
หมายถึง เป็นโอรสของ
หมายถึง ล่วงลับไปแล้ว
เป็นชื่อพระบิดา
คำนำหน้าชื่อต่อไปนี้ให้แปลเป็นภาษาไทย
Encik
Cik
Tuan
Puan
Saudara
Saudari
=
=
=
=
=
=
นาย, คุณ
นางสาว, คุณ
คุณ (ใช้ยกย่อง)
นาง, คุณ
นาย, คุณ
นาง, นางสาว, คุณ

18. ชื่อที่เขียนแบบย่อ ให้เขียนทับศัพท์เป็นคำเต็ม เช่น

Ab./Abd.
Awg.
Dyg.
Md./Mat/Mohd./Muhd.

ย่อมาจาก
ย่อมาจาก
ย่อมาจาก
ย่อมาจาก

Abdul
Awang
Dayang
Mohamad/Mohammad/Mohamet/
Muhammad/Muhamed
ทับศัพท์เป็น
ทับศัพท์เป็น
ทับศัพท์เป็น
ทับศัพท์เป็น

อับดุล (SB), อับดล (BMP)
อาวัง
ดายัง
โมฮามัด/โมฮัมมัด/โมฮาเม็ต/
มูฮัมมัด/มูฮาเม็ด
ตัวอย่างเช่น
Abd. Razak bin Abd. Rahman
Awg. Had Salleh
Awg. Bulgiba b. Awg. Mahmud
Dyg. Suhana Binti Awg. Bujang
Md. Lukman bin Mohd. Mokhtar
=
=
=
=
=
อับดุล ราซัก บิน อับดุล ระฮ์มัน (SB), อับดล ราซะก์ บิน อับดล ระฮ์มัน (BMP)
อาวัง ฮัด ซัลเละฮ์
อาวัง บุลกีบา บิน อาวัง มะฮ์มุด (SB), อาวัง บุลกีเบอ บิน อาวัง มะฮ์มด (BMP)
ดายัง ซูฮานา บินตี อาวัง บูจัง (SB), ดายัง ซูฮาเนอ บินตี อาวัง บูจัง (BMP)
โมฮามัด ลุกมัน บิน โมฮัมมัด มคตาร์
นอกจากนี้ ชื่อในภาษามลายูยังมีคำบ่งบอกว่าเป็นบุตรชายหรือบุตรสาวของใคร ซึ่งมีการใช้แบบย่อเช่นกัน ในการทับศัพท์ให้ทับศัพท์เป็นคำเต็ม เช่น
B., b.
Bte., bte.
a/l

a/p

ak
ย่อมาจาก
ย่อมาจาก
ย่อมาจาก

ย่อมาจาก

ย่อมาจาก
Bin, bin
Binti, binti
anak lelaki

anak perempuan

anak
ทับศัพท์เป็น
ทับศัพท์เป็น
ทับศัพท์เป็น

ทับศัพท์เป็น

ทับศัพท์เป็น
บิน
บินตี
อานัก เลอลากี (SB),
อานะก์ เลอลากี (BMP)
อานัก เปอเริมปวน (SB),
อานะก์ เปอเริมปวน (BMP)
อานัก (SB), อานะก์ (BMP)
หมายความว่า
หมายความว่า
หมายความว่า

หมายความว่า

หมายความว่า
เป็นบุตรชายของ
เป็นบุตรสาวของ
เป็นบุตรชายของ

เป็นบุตรสาวของ

เป็นบุตรของ (ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย)
ตัวอย่างเช่น
Azlina bte. Abdullah
Chidambaram a/l Sambandam
Saraswathy a/p Vellasamy
Eric ak Edward
=
=
=
=
อัซลีนา บินตี อับดุลละฮ์ (SB), อัซลีเนอ บินตี อับดุลละฮ์ (BMP)
จีดัมบารัม อานัก เลอลากี ซัมบันดัม (SB), จีดัมบารัม อานะก์ เลอลากี ซัมบันดัม (BMP)
ซารัสวาที อานัก เปอเริมปวน เวลลาซามี (SB), ซารัสวาที อานะก์ เปอเริมปวน เวลลาซามี (BMP)
เอริก อานัก เอดเวิร์ด (SB), เอริก อานะก์ เอดเวิร์ด (BMP)

19. คำที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ ให้ทับศัพท์โดยคงเครื่องหมายไว้ตามภาษามลายู เช่น

Yang di-Pertuan Agong=ยัง ดี-เปอร์ตวน อากง

20. คำย่อ คำภาษามลายูที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ถ้าเป็นอักษรย่อที่อ่านเรียงตัวอักษร เช่น ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เขียนทับศัพท์ตามชื่ออักษรย่อนั้น ๆ ตามเสียงในภาษาอังกฤษ ดังนี้

A
D
G
J
M
P
S
V
Y
=
=
=
=
=
=
=
=
=
เอ
ดี
จี
เจ
เอ็ม
พี
เอ็ส
วี
วาย
B
E
H
K
N
Q
T
W
Z
=
=
=
=
=
=
=
=
=
บี
อี
เอช
เค
เอ็น
คิว
ที
ดับเบิลยู
เซ็ด
C
F
I
L
O
R
U
X

=
=
=
=
=
=
=
=

ซี
เอ็ฟ
ไอ
เอ็ล
โอ
อาร์
ยู
เอ็กซ์

คำย่อบางคำมีจุด บางคำไม่มีจุด ในการทับศัพท์ให้เขียนตามการเขียนในภาษามลายูหมายเหตุ
  1. เครื่องหมาย ‘ แทนอักษรอาหรับ อัยน์ (ع)
  2. เครื่องหมาย ’ แทนอักษรอาหรับ ฮัมซะฮ์ (ء)
  3. คำ Jawi ทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ฯ ได้ว่า "จาวี" แต่ในที่นี้ใช้ "ยาวี" ตามที่คนไทยนิยม

ใกล้เคียง

การเข้ารหัสทางประสาท การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเข้าเมืองกับอาชญากรรม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน การเข้าตีเจาะ (การสงคราม) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเข้ารหัส การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียน