การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร
การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร

การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร

การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร (อังกฤษ: asymmetric cryptography) หรือ การเข้ารหัสกุญแจสาธารณะ (อังกฤษ: Public-key cryptography) คือระบบการเข้ารหัสโดยใช้กุญแจที่เข้าคู่กัน กุญแจแต่ละคู่จะประกอบด้วย กุญแจสาธารณะ (อังกฤษ: public key) และ กุญแจส่วนตัว (อังกฤษ: private key) แม่แบบ:Ref RFC[1] คู่ของกุญแจนั้นจะสร้างขึ้นโดยใช้อัลกอริทึมเข้ารหัสที่มีพื้นฐานมาจากปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าฟังก์ชันวันเวย์ (อังกฤษ: one-way function) ความปลอดภัยของการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรจะเกิดขึ้นได้หากกุญแจส่วนตัวถูกเก็บเป็นความลับ ส่วนกุญแจสาธารณะนั้นสามารถแจกจ่ายออกไปได้โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อความปลอดภัย[2]ใช้เข้ารหัสจะแตกต่างกับกุญแจที่ใช้ถอดรหัส นั่นคือการเข้ารหัสและการถอดรหัสจำเป็นต้องใช้กุญแจเป็นคู่ โดยที่บุคคลที่จะเข้ารหัสข้อมูลจะได้รับ กุญแจสาธารณะ (public key) ในการเข้ารหัส ส่วนบุคคลที่สามารถถอดรหัสได้คือบุคคลที่มี กุญแจส่วนตัว (private key) เท่านั้น กล่าวคือใคร ๆ ก็สามารถเข้ารหัสได้เพราะทุกคนมีกุญแจสาธารณะ แต่จะมีคนเดียวเท่านั้นที่ถอดรหัสได้คือคนที่มีกุญแจส่วนตัวซึ่งต้องถูกเก็บไว้อย่างรัดกุมการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร นั้นเป็นหลักการพื้นฐานในกลไกเข้ารหัสในปัจจุบัน รวมไปถึงแอปพลิเคชันและโพรโทคอลต่างๆ เพื่อให้สามารถเก็บความลับได้ ยืนยันความถูกต้องได้ และไม่สามารถตีกลับการเป็นผู้เขียน (อังกฤษ: non-repudiability)ได้ มาตรฐานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากจึงพึ่งพิงการเข้ารหัสเช่น แบบกุญแจอสมมาตร เช่น TLS, SSH, S/MIME และ PGP อัลกอริทึมการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรนั้น บางตัวใช้ในการกระจายกุญแจ (อังกฤษ: key distribution) บางตัวใช้ในการลงลายเซ็นดิจิตัล (อังกฤษ: digital signatures) บางตัวก็ทำได้ทั้งสองอย่างเช่นอาร์เอสเอ (อังกฤษ: RSA) เมื่อเทียบกับ การเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตรแล้ว การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรนั้นทำงานได้ช้ากว่า และช้าเกินไปสำหรับวัตถุประสงค์หลายประการ [3] ระบบเข้ารหัสปัจจุบันจึงนิยมที่จะใช้ทั้งการเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตรและการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่ใช้การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรในการแลกเปลี่ยนกุญแจลับอย่างปลอดภัย แล้วจึงใช้กุญแจลับนั้นในการเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตรต่อไป

ใกล้เคียง

การเข้ารหัสทางประสาท การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเข้าเมืองกับอาชญากรรม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน การเข้าตีเจาะ (การสงคราม) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเข้ารหัส การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร http://www.nature.com/articles/nature23461 https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2017Natur.549..1... https://doi.org/10.1038%2Fnature23461 https://www.worldcat.org/issn/0028-0836 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28905891 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:4446249 https://books.google.com/books?id=Dam9zrViJjEC https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC55510... https://doi.org/10.3390%2Fs17071517 https://www.worldcat.org/issn/1424-8220