ขั้นเอ็มบริโอ ของ การเจริญของประสาทในมนุษย์

ดูเพิ่มเติมที่: การเกิดเอ็มบริโอมนุษย์

นิวรูเลชัน

นิวรูเลชัน (neurulation) เป็นการก่อกำเนิดท่อประสาทจากเอ็กโทเดิร์มของเอ็มบริโอ เกิดขึ้นหลังแกสทรูเลชัน (gastrulation) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

ระหว่างแกสทรูเลชัน เซลล์ย้ายที่ไปภายในของเอ็มบริโอ เกิดเป็นเนื้อเยื่อคัพภะ (germ layer) สามชั้น คือ เอนโดเดิร์ม (ชั้นลึกสุด) เมโซเดิร์มและเอ็กโทเดิร์ม (ชั้นผิว) ซึ่งให้เกิดเนื้อเยื่อและอวัยวะทั้งหมด อาจกล่าวอย่างง่ายว่า เอ็กโทเดิร์มให้เกิดผิวหนังและระบบประสาท เอ็นโดเดิร์มให้เกิดทางเดินอาหาร และเมโซเดิร์มให้เกิดที่เหลือ

หลังแกสทรูเลชัน แกนสันหลัง กายทรงกระบอกยืดหยุ่นซึ่งทอดตลอดหลังของเอ็มบริโอ เกิดขึ้นจากเมโซเดิร์ม ระหว่างสัปดาห์ที่สามของการตั้งครรภ์ แกนสันหลังส่งสัญญาณไปเอ็กโทเดิร์มที่อยู่ใต้ เหนี่ยวนำให้กลายเป็นนิวโรเอ็กโทเดิร์ม (neuroectoderm) ซึ่งส่งผลให้แผ่นเล็กยาวของสเต็มเซลล์ประสาทที่ทอดตลอดหลังของเอ็มบริโอ แผ่นเล็กยาวนี้เรียก แผ่นประสาท (neural plate) และเป็นจุดกำเนิดของระบบประสาททั้งหมด แผ่นประสาทนี้พับออกด้านนอกเพื่อให้เกิดร่องประสาท (neural groove) ต่อมา สันประสาท (neural fold) ของร่องนี้จะปิดเริ่มในบริเวณคอในอนาคตเพื่อสร้างท่อประสาท (นิวรูเลชันแบบนี้เรียก นิวรูเลชันปฐมภูมิ) ส่วนด้านหน้าของท่อประสาทเรียก แผ่นฐาน (basal plate) ส่วนด้านหลังเรียก แผ่นปีก (alar plate) ภายในกลวงเรียก คลองประสาท (neural canal) เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่สี่ของการตั้งครรภ์ ปลายเปิดของท่อประสาท ที่เรียก นิวโรพอร์ (neuropore) จะปิด[1]

การเกิดไขสันหลัง

ภาคตัดขวางของไขสันหลังที่กำลังเจริญเมื่อสี่สัปดาห์

ไขสันหลังเกิดจากส่วนล่างของท่อประสาท ผนังของท่อประสาทประกอบด้วยเซลล์นิวโรอิพิทีเลียม (neuroepithelial cell) ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นนิวโรบลาสต์ (neuroblast) เกิดเป็นชั้นแมนเทิล (เนื้อเทา) ใยประสาทเกิดจากนิวโรบลาสต์เหล่านี้เพื่อเกิดเป็นชั้นขอบ (marginal layer) (เนื้อขาว)

ส่วนด้านหน้าของชั้นแมนเทิล (แผ่นฐาน) เกิดเป็นพื้นที่สั่งการของไขสันหลัง ขณะที่ส่วนด้านหลัง (แผ่นปีก) เกิดเป็นพื้นที่รับความรู้สึก ระหว่างแผ่นฐานและปีกเป็นชั้นกลาง (intermediate layer) ที่มีเซลล์ประสาทของระบบประสาทอิสระ[2]

การเกิดสมอง

ปลายสัปดาห์ที่สี่ ส่วนบนของท่อประสาทงอที่ระดับสมองส่วนกลางในอนาคต คือ เมเซนเซฟาลอน (mesencephalon) เหนือเมเซนเซฟาลอน คือ โปรเซนเซฟาลอน (prosencephalon, สมองส่วนหน้าในอนาคต) และข้างใต้เป็นรอมเบนเซฟาลอน (rhombencephalon, สมองส่วนหลังในอนาคต) เกิดถุงตา (optic vesicle) ซึ่งสุดท้ายจะกลายเป็นเส้นประสาทตา จอตาและม่านตา ที่แผ่นฐานของโปรเซนเซฟาลอน

ในสัปดาห์ที่ห้า แผ่นปีกของโปรเซนเซฟาลอนขยายเพื่อเกิดครึ่งทรงกลมสมองใหญ่ (cerebral hemisphere) หรือทีเลนเซฟาลอน (telencephalon) แผ่นฐานกลายเป็นไดเอนเซฟาลอน (diencephalon)

ไดเอนเซฟาลอน เมเซนเซฟาลอนและรอมเบนเซฟาลอนประกอบเป็นก้านสมองของเอ็มบริโอ ก้านสมองยังงอต่อไปที่เมเซนเซฟาลอน รอมเบนเซฟาลอนพับไปข้างหลัง ซึ่งทำให้แผ่นปีกของมันผายออกและเกิดเป็นโพรงสมองที่สี่ ฝ่ายพอนส์ (pons) และสมองน้อยเกิดในส่วนบนของรอมเบนเซฟาลอน ขณะที่ก้านสมองส่วนท้ายเกิดในส่วนล่าง

  • สมองของเอ็มบริโอเมื่อสี่สัปดาห์
  • ระบบประสาทของเอ็มบริโอเมื่อหกสัปดาห์

ใกล้เคียง

การเจริญของประสาทในมนุษย์ การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะเลือดเสียออกจากร่างกาย การเจรจา (เทอร์บอร์ค) การเจาะน้ำไขสันหลัง การเจาะสำรวจด้วยหัวเจาะเพชร การเจรจา การเจริญเกินของต่อมลูกหมาก การเจียระไนเพชร การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเจริญของประสาทในมนุษย์ http://embryo.chronolab.com/spinal.htm http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01662... http://www.nature.com/neuro/journal/v4/n2/full/nn0... http://www.nature.com/neuro/journal/v7/n11/full/nn... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11175874 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11972958 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12042877 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12764035 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14602813 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15508010