ความเสี่ยงและข้อเสีย ของ การเจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำจะทำในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ หากทำเร็วกว่านี้จะมีความเสี่ยงที่การเจาะจะทำอันตรายต่อแขนขาของทารก ส่วนใหญ่นิยมทำที่อายุครรภ์ 18 สัปดาห์[2]

งานวิจัยปีค.ศ. 1970 ประเมินความเสี่ยงของการแท้งที่เกิดจากการเจาะน้ำคร่ำไว้ที่ประมาณ 1 ใน 200 (0.5%)[3]

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำคร่ำหลุดอุดหลอดเลือดอีกด้วย[4]

การรั่วของน้ำคร่ำ

พบมีการสูญเสียน้ำคร่ำชั่วคราวในหญิงตั้งครรภ์ที่รับการเจาะน้ำคร่ำมากกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้เจาะ แม้อาจไม่ทำให้เกิดผลการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติมากนักก็ตาม[5] การสูญเสียน้ำคร่ำนี้เกือบทั้งหมดเป็นการสูญเสียน้ำคร่ำเพียงเล็กน้อยและมักหยุดได้เองภายใน 1 สัปดาห์ พร้อมกันกับการมีปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นกลับมาเท่าปกติ[6][7] การหยุดรั่วนั้นเชื่อว่าไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการซ่อมแซมเยื่อบุที่ถูกเจาะ แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของชั้น decidua และชั้นกล้ามเนื้อมดลูกที่ป้องกันไม่ให้มีการรั่วมากขึ้น

อันตรายโดยตรงต่อทารก

โอกาสที่จะเกิดอันตรายโดยตรงต่อทารกจากเข็มเจาะนั้นมีน้อยมากหากใช้การเจาะน้ำคร่ำพร้อมอัลตราซาวนด์ การทดลองแบบสุ่มชิ้นหนึ่งทำกับหญิงตั้งครรภ์ 2239 คนที่ใช้การเจาะน้ำคร่ำพร้อมอัลตราซาวนด์ไม่พบว่ามีอันตรายโดยตรงต่อทารก

ใกล้เคียง

การเจริญของประสาทในมนุษย์ การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะเลือดเสียออกจากร่างกาย การเจรจา (เทอร์บอร์ค) การเจาะน้ำไขสันหลัง การเจาะสำรวจด้วยหัวเจาะเพชร การเจรจา การเจริญเกินของต่อมลูกหมาก การเจียระไนเพชร การเจริญเติบโตของหนอนที่พบในศพ