การเบียดเบียนโดยมุสลิม ของ การเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์

การพิชิตของอิสลาม

ดูบทความหลักที่: การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม

ก่อนหน้าการรุกรานของชาวอาหรับและการพิชิตของมุสลิมในภายหลัง เปอร์เซีย (ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เคยเป็นรัฐอิสระทางการเมืองที่กินพื้นที่ตั้งแต่เมโสโปเตเมียถึงแม่น้ำสินธุ และส่วนใหญ่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์[2][3][4] ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิเปอร์เซียก่อนอิสลาม 4 อาณาจักร[5] โดยจักรวรรดิสุดท้ายคือจักรวรรดิซาเซเนียนที่ผ่านพระราชกฤษฎีกาของสิ่งนี้ใน ค.ศ. 224[3][6] การรุกรานของชาวอาหรับทำให้การครอบงำทางศาสนาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเปอร์เซียสิ้นสุดลงอย่างกะทันหัน และสถาปนาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำรัฐ[7][8][9]

อัลบะลาษุรี นักประวัติศาสตร์อิสลาม กล่าวถึงชาวโซโรอัสเตอร์ในเยเมนที่กำหนดให้จ่ายญิซยะฮ์หลังการพิชิตของมุฮัมมัด[10]

หลังการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซีย ชาวโซโรอัสเตอร์ได้รับสถานะษิมมีและอยู่ภายใต้การถูกข่มเหง การเลือกปฏิบัติ และการคุกคามที่เริ่มขึ้นในรูปความรุนแรงขนาดย่อม[11] ผู้จ่ายญิซยะฮ์ถูกดูถูกและเหยียดหยามจากคนเก็บภาษี[12][13][14] ชาวโซโรอัสเตอร์ที่ถูกจับเป็นทาสในช่วงสงครามจะกลายเป็นไทถ้าพวกเขาเข้ารับอิสลาม[12]

วิหารไฟหลายแห่งที่มีช่องเปิดโค้งตามแนวแกนสี่ช่อง มักถูกแปลงเป็นมัสยิดด้วยการตั้ง เมียะห์รอบ ที่ส่วนโค้งที่ใกล้ กิบลัต ที่สุด วิหารโซโรอัสเตอร์ที่ถูกแปลงเป็นมัสยิดในกรณีนี้สามารถพบได้ที่บูฆอรอ เช่นเดียวกันกับบริเวณในและใกล้ Istakhr และเมืองเปอร์เซียอื่น ๆ[15][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ] พื้นที่เมืองที่ผู้ว่าการชาวอาหรับเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกประหัตประหารทางศาสนามากที่สุด วิหารไฟใหญ่ถูกแปลงเป็นมัสยิด และประชาชนถูกบังคับให้ยอมจำนนหรือหลบหนี[16] ห้องสมุดหลายแห่งถูกเผาและมรดกทางวัฒนธรรมจำนวนมากสูญหาย[17]

หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ มีกฎหมายที่ควบคุมพฤติกรรมของชาวโซโรอัสเตอร์จำนวนมากขึ้น จำกัดความสามารถในการมีส่วนร่วมในสังคม และทำให้ชีวิตของชาวโซโรอัสเตอร์ยากลำบากขึ้น ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม[17] เมื่อเวลาผ่านไป การกดขี่ข่มเหงชาวโซโรอัสเตอร์กลายเป็นเรื่องธรรมดาและแพร่หลายมากขึ้น และจำนวนผู้นับถือลดลงอย่างมาก ผู้ที่เปลี่ยนศาสนาหลายคน (บางคนเพียงผิวเผิน) ทำสิ่งนี้เพื่อหลีกหนีจากการละเมิดและการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบตามกฎหมายของแผ่นดิน[12] ส่วนอีกกลุ่มที่เข้ารับอิสลามก็เพราะการจ้างงานในอุตสาหกรรมและช่างฝีมือจะทำให้พวกเขาไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากตามความเชื่อของศาสนาโซโรอัสเตอร์ งานของพวกเขาเกี่ยวข้องกับการทำให้ไฟเป็นมลทิน[18] ทอมัส วอล์กเกอร์ อาร์โนลด์รายงานว่า ผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลามไม่มีปัญหาในการอธิบายหลักคำสอนของอิสลามแก่ชาวโซโรอัสเตอร์ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันระหว่างความเชื่อหลายประการ โดยอาร์โนลด์รายงานว่า สำหรับชาวเปอร์เซีย พวกเขาจะพบพระอหุระมาซดะกับอาฮ์รีมานภายใต้พระนามของอัลลอฮ์กับอิบลีส[18]

เมื่อครอบครัวโซโรอัสเตอร์เข้ารับอิสลาม บรรดาลูก ๆ ต้องเข้าไปเรียนในโรงเรียนมุสลิมและเรียนรู้ภาษาอาหรับกับคำสอนของอัลกุรอาน และเด็ก ๆ เหล่านั้นสูญเสียอัตลักษณ์โซโรอัสเตอร์ไป[12] ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้อัตราการเปลี่ยนศาสนาจากโซโรอัสเตอร์เป็นอิสลามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[19] นักวิชาการเปอร์เซียแสดงความคิดเห็นว่า "ทำไมหลายคนต้องตายหรือทนทุกข์ทรมาน? นั่นเพราะว่าฝ่ายหนึ่งตั้งใจยัดเยียดศาสนาของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่เข้าใจสิ่งนี้"[20]

อย่างไรก็ตาม เซอร์ ทอมัส วอล์กเกอร์ อาร์โนลด์ (Sir Thomas Walker Arnold) ตั้งข้อสงสัยต่อรายงานการบังคับเปลี่ยนศาสนาของชาวโซโรอัสเตอร์ทั้งหมด โดยยกตัวอย่างอ้างอิงความอดกลั้นหลายรายงานของขุนศึกมุสลิมว่า "เมื่อเผชิญกับข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะระบุว่าความเสื่อมถอยของศาสนาโซโรอัสเตอร์ทั้งหมดมาจากการเปลี่ยนศาสนาอย่างรุนแรงโดยผู้พิชิตที่เป็นมุสลิม"[21] อาร์โนลด์เสนอแนะว่าการเปลี่ยนศาสนาของชาวโซโรอัสเตอร์ในอดีตบางส่วน อันที่จริงเป็นการอ้างถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างสองศาสนาอย่างจริงใจ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนศาสนา[21] นอกจากนี้ Stepaniants ยังประกาศ(แบบเดียวกันกับอาร์โนลด์)ว่า นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าการเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามบางส่วนนั้นเป็นไปอย่างจริงใจ โดยอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่า อิสลามได้เสนอการเปิดประตูแห่งความเป็นพี่น้องที่กว้างขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเกณฑ์ที่จำกัดของศาสนาโซโรอัสเตอร์[22] ถึงกระนั้น อาร์โนลด์ยอมรับว่าการเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์เกิดขึ้นในช่วงต่อมา[23] ส่วน Stepaniants กล่าวว่า การเบียดเบียนหลายครั้งเกิดขึ้นในสมัยอับบาซียะฮ์ และในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการอพยพของชาวปาร์ซี[24] แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งอาร์โนลด์และ Stepaniants ต่างก็กล่าวว่า ศาสนาอิสลามไม่ควรถูกตำหนิต่อความเสื่อมถอยของศาสนาโซโรอัสเตอร์ทั้งหมด[25][21] นอกจากนี้ ประชากรในนครนีชอบูร์ยังคงมีประชากรที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์จำนวนมากที่อาศัยอยู่ร่วมกับชาวยิวและคริสต์นิกายเนสทอเรียน (แม้จะมีการเข้ารีตเป็นอิสลามเกือบทันที) แม้กระทั่งในช่วงหลังการพิชิตก็ตาม[26]

ใกล้เคียง

การเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์ การเบียดหรือเหยียบกันจนเสียชีวิตในฝูงชน การเบนคนละทิศ การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน การเบนตามแสง การเบียดเบียน การเบนของพืช การเบนเนื่องจากความโน้มถ่วง การเบนออก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์ https://books.google.com/books?id=GGKgAAAAMAAJ&q=i... http://www.bbc.co.uk/religion/religions/zoroastria... https://books.google.com/books?id=qxsVAAAAYAAJ https://books.google.com/books?id=3rrQY1tzLQUC&pg=... https://sophenebooks.com/blogs/dig-deeper/the-last... https://books.google.com/books?id=a6gbxVfjtUEC&q=Z... https://doi.org/10.1080%2F00210868708701689 https://www.worldcat.org/issn/1475-4819 https://books.google.com/books?id=QzDMzTWRnFIC&pg=... https://www.worldcat.org/issn/1573-3912