การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก
การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก

การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งการเลิกกีดกันคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก[1] หรือการเลิกกีดกันชาวคาทอลิก (อังกฤษ: Catholic Emancipation; Catholic relief) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เป็นการลดหรือการยกเลิกการจำกัดสิทธิของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์ ที่เป็นผลมาจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติและกฎหมายของบริเตนในไอร์แลนด์ที่รวมทั้งพระราชบัญญัติสมานฉันท์, the พระราชบัญญัติทดสอบ และ ประมวลกฎหมายอาญาของไอร์แลนด์ ประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทบัญญัติหลายฉบับที่บังคับใช้ในไอร์แลนด์ภายใต้การปกครองของบริเตน ที่มีวัตถุประสงค์ในการพยายามยุบเลิกอำนาจของฝ่ายเสียงข้างมากในไอร์แลนด์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก[2] การบังคับยกเลิกอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรมของพระสันตะปาปาส่งผลกระทบกระเทือนต่อผู้ถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์เป็นอันมากหลังจากการเสียชีวิตของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1766เป็นเวลา 70 ปีสถาบันพระสันตะปาปาก็ยอมรับราชวงศ์ฮาโนเวอร์ว่าเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์โดยถูกต้อง หลังจากนั้นกฎหมายอาญาก็เริ่มได้รับการยุบเลิก พระราชบัญญัติฉบับสำคัญที่สุดของการปลดแอกคาทอลิกคือ พระราชบัญญัติเพื่อการผ่อนปรนสิทธิของโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1829 ที่ยกเลิกข้อจำกัดต่างที่มีผลบังคับใช้ต่อผู้ถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในสหราชอาณาจักร

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565