การเลิกไพร่ ของ การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย

ดูเพิ่มเติมที่: ไพร่

หมอสมิธ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอมรีโพซิตอรี เขียนบทความตำหนิรัฐบาลสยามอย่างรุนแรง ด้วยเห็นว่า "ในบรรดาประเทศเจริญทั้งหลาย พระเจ้าแผ่นดินก็ดี พวกขุนนางก็ดี ไม่มีสิทธิ์เกณฑ์แรงราษฎรผู้เสียภาษีอากรโดยไม่ให้อะไรตอบแทน"[4] เพราะไพร่รับราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ซ้ำยังต้องออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในระหว่างการรับราชการนั้นเองอีกด้วยต่างหาก เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น[4] นอกจากนี้ยังมีพวก "คนไทยหนุ่ม" ที่อยากให้เลิกขนบไพร่ บางส่วนแสดงความคัดค้านที่รัฐบาลสักเลกในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เพราะทำให้การทำนาได้รับความเสียหาย[5]

ขนบไพร่นี้บังคับให้ราษฎรอายุตั้งแต่ 15-16 ปี จนถึง 70 ปี ต้องทำงานรับใช้หรือส่งส่วยให้แก่ชนชั้นปกครอง แบ่งออกเป็นไพร่หลวง ไพร่สมและไพร่ส่วย ไพร่มีกำหนดรับราชการเดือนเว้นเดือน ในสมัยอยุธยา ปีละ 6 เดือน ลดลงมาเหลือปีละ 4 เดือนในสมัยรัชกาลที่ 1 และเหลือ 3 เดือนในรัชกาลที่ 2[6] หากไม่อยากรับราชการก็ต้องจ่าย "ค่าราชการ" เดือนละ 6 บาท[7]

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบทูลเสนอความคิดเห็นว่า ควรให้ราษฎรเสียค่าราชการปีละ 6 บาทโดยเท่ากัน และให้งดการเกณฑ์แรงชั่วคราว ใช้วิธีเกณฑ์จ้างแทน[4]

ลำดับเหตุการณ์การเลิกไพร่[8]
ปี (พ.ศ.)เหตุการณ์
2420ทรงจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการและเจ้านายแทนพระราชทานไพร่
2420
  • ทรงออกประกาศพระบรมราชโองการให้ไพร่สมรับราชการเช่นเดียวกับไพร่หลวง หรือต้องเสียเงินค่าราชการปีละ 6 บาทแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน
  • ทรงปรับปรุงให้การแจ้งไพร่สมตาย ชรา พิการ เป็นไปได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น
2439ทรงปรับปรุงค่าราชการ โดยให้ข้าราชการชั้นขุนหมื่นเสียค่าราชการปีละเท่ากับไพร่หลวงและไพร่สม
2442ทรงออก "ประกาศกำหนดอายุบุคคลที่เปนฉกรรจ์ แลปลดชะรา รัตนโกสินทร์ศก 118" มีเนื้อหาสำคัญ คือ
  • พิจารณาให้ผู้ที่อายุครบ 18 ปีถือว่าอยู่ในวัยฉกรรจ์ แทนการพิจารณาจากความสูง
  • พิจารณาให้ปลดชราไพร่เมื่ออายุได้ 60 ปี (เดิม 70 ปี)
2443ทรงออก "พระราชบัญญัติเกณฑ์จ้าง ร.ศ. 119" ให้ข้าราชการที่จะเกณฑ์เอาสัตว์หรือพาหนะจากราษฎรต้องเสียภาษีตามสมควร หรือให้ลดเงินส่งส่วยแทนค่าจ้างนั้นก็ได้
2448ทรงออก "พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสิทร์ศก 124" บัญญัติให้ชายฉกรรจ์รับราชการทหารกองเกิน 2 ปี แล้วเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีก 2 ปี แล้วปลดจากกองประจำการเป็นกองหนุนขั้นที่ 1 อายุ 5 ปี แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุนขั้นที่ 2 อายุ 10 ปี แล้วให้ถือว่าหมดหน้าที่รับราชการทหาร

พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารนี้ ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการยกเลิกขนบไพร่ ประกาศใช้ในมณฑลนครศรีธรรมราช ปัตตานี สุราษฎร์ ภูเก็ตและเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2458 (สมัยรัชกาลที่ 6)[9] ด้วยความที่ว่าการยกเลิกขนบไพร่เป็นการปลดทุกข์ของราษฎรทุกตำบลทั่วราชอาณาจักร จึงมีความเห็นว่าการยกเลิกขนบไพร่สำคัญยิ่งกว่าการยกเลิกขนบทาสเสียอีก[9] เพราะราษฎรได้รับการส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจ มีเวลาทำมาหากินได้เต็มที่ และไม่มีใครรังเกียจเหมือนแต่ก่อน

อย่างไรก็ตาม การเสียเงินรัชชูปการ (ภาษีรายหัว) ซึ่งใช้แทนการเกณฑ์แรงงานนั้นมาสิ้นสุดลงในปี 2482[10]:7

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544