เบื้องหลัง ของ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ_พ.ศ._2563

วิธีดำเนินการ

รัฐธรรมนูญสหรัฐ มาตรา 2 ระบุว่า บุคคลที่จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐต้องเป็นพลเมืองสหรัฐโดยกำเนิด มีอายุ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเป็นผู้พำนักในสหรัฐอย่างน้อย 14 ปี ผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีตรงแบบมองหาการเสนอชื่อของพรรคการเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐ โดยแต่ละพรรคมีวิธีการของตน (เช่น การเลือกตั้งขั้นต้น) เพื่อเลือกผู้สมัครที่พรรคเห็นว่าเหมาะสมลงรับสมัครเลือกตั้ง การเลือกตั้งขั้นต้นปกติเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมโดยผู้ออกเสียงเลือกตั้งของแต่ละพรรคลงคะแนนเลือกรายชื่อผู้แทนที่จะส่งสมัครรับเลือกตั้งที่จะเลือกผู้สมัครคนหนึ่ง ๆ จากนั้นผู้แทนของพรรคจะเสนอชื่อผู้สมัครให้ลงรับเลือกตั้งในนามของพรรคอย่างเป็นทางการ ผู้เสนอชื่อประธานาธิบดีตรงแบบเลือกผู้ร่วมสมัครรับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งผู้แทนพรรคจะให้สัตยาบัน การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนก็เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมเช่นกัน ซึ่งผู้ออกเสียงเลือกตั้งลงคะแนนให้สมาชิกคณะผู้เลือกตั้ง แล้วผู้เลือกตั้งเหล่านี้จะเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีโดยตรง[7]

ในเดือนพฤศจิกายน 2561 คณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครตออกเสียงไม่อนุญาตให้ซูเปอร์เดลีเกตออกเสียงเป็นลำดับแรกในกระบวนการเสนอชื่อ เริ่มตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2563 ทำให้ผู้สมัครต้องชนะผู้แทนที่ให้สัญญาฝ่ายข้างมากจากการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อให้พรรคเสนอชื่อ[8]

คณะกรรมการระดับรัฐของพรรครีพับลิกันหลายคณะมีรายงานว่าพิจารณายกเลิกการเลือกตั้งขั้นต้นและการประชุมลับปี 2563 ส่วนอีกหลายคณะดำเนินการไปแล้ว[9] โดยอ้างข้อเท็จจริงว่ารีพับลิกันเคยยกเลิกการเลือกตั้งขั้นต้นหลายรัฐเมื่อจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช และจอร์จ ดับเบิลยู. บุชลงสมัครสมัยที่สองในปี 2535 และ 2547 ตามลำดับ ส่วนเดโมแครตเคยยกเลิกการเลือกตั้งขั้นต้นเมื่อบิล คลินตันและบารัค โอบามากำลังรับเลือกตั้งสมัยที่สองในปี 2539 และ 2555 ตามลำดับ[10][11]

วันที่ 26 สิงหาคม 2562 สภานิติบัญญัติรัฐเมนผ่านร่างกฎหมายใช้การออกเสียงลงคะแนนแบบตัวเลือกจัดอันดับ (ranked-choice voting) สำหรับทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีขั้นต้นและการเลือกตั้งทั่วไป[12][13] วันที่ 6 กันยายน 2562 ผู้ว่าการรัฐเมน เจเน็ต มิลส์ อนุญาตให้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวโดยไม่ลงนาม ซึ่งทำให้ชะลอเวลามีผลจนกระทั่งหลังเลือกตั้งขั้นต้นพรรคเดโมแครตปี 2563 ในเดือนมีนาคม ทำให้รัฐเมนจะเป็นรัฐแรกที่ใช้การออกเสียงลงคะแนนแบบตัวเลือกจัดอันดับสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปประธานาธิบดี[14] กฎหมายยังคงใช้วิธีการเขตเลือกตั้งรัฐสภาสำหรับการจัดสรรผู้เลือกตั้ง โดยรัฐเมนและรัฐเนแบรสกาใช้ในการเลือกตั้งล่าสุด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจชะลอการทำนายผู้ชนะเสียงผู้เลือกตั้งของรัฐเมนเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังวันเลือกตั้ง และยังจะทำให้การตีความคะแนนของประชาชนทั่วประเทศยุ่งยากขึ้นด้วย

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 22 ระบุว่าบุคคลไม่สามารถได้ร้บเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกินสองครั้ง ทำให้อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน, จอร์จ ดับเบิลยู. บุช และบารัค โอบามาไม่มีสิทธิ์รับเลือกตั้งอีกสมัย

แนวโน้มประชากรศาสตร์

กลุ่มอายุที่จะมีอายุอยู่ในช่วง 18 ถึง 45 ปีคาดว่าจะคิดเป็นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งของสหรัฐน้อยกว่าร้อยละ 40 เล็กน้อยในปี 2563 คาดหมายว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งสหรัฐกว่าร้อยละ 30 ไม่ใช่ผิวขาว[15]

รายงานสองพรรคระบุว่าประชากรศาสตร์ผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปนับแต่การเลือกตั้งปี 2559 อาจมีผลต่อการเลือกตั้งปี 2563 แอฟริกันอเมริกัน ฮิสแปนิก เอเชียและชนกลุ่มน้อยอื่น ตลอดจน "ผิวขาวที่มีปริญญาวิทยาลัย" ล้วนคาดว่าจะมีสัดส่วนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกต้งเพิ่มขึ้นทั่วประเทศภายในปี 2563 ส่วน "ผิขาวที่ไม่มีปริญญาวิทยาลัย" จะลดลง การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ผู้สมัครพรรคเดโมแครตได้เปรียบ แต่เนื่องจากความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ อาจทำให้ผู้สมัครพรรครีพับลิกันชนะคณะผู้เลือกตั้งได้แม้จะแพ้คะแนนเสียงของประชาชน โดยอาจทิ้งห่างมากยิ่งกว่าปี 2559[16]

การเลือกตั้งในปีเดียวกัน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร หลายรัฐจัดการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐและสภานิติบัญญัติของรัฐด้วย หลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรจะมีการจัดสรรที่นั่งใหม่ให้กับ 50 รัฐตามผลของสำมะโนสหรัฐปี 2563 และรัฐจะจัดเขตเลือกตั้งรัฐสภาและสภานิติบัญญัติของรัฐใหม่ ในหลายรัฐ ผู้ว่าการและสภานิติบัญญัติของรัฐจะจัดเขตเลือกตั้งใหม่ และบ่อยครั้งที่พรรคที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะมีผลอาศัยบารมีช่วยทำให้ผู้สมัครอื่นจากพรรคเดียวกันชนะการเลือกตั้งตามไปด้วย[17] ฉะนั้น พรรคที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2563 อาจมีข้อได้เปรียบสำคัญในการร่างเขตรัฐสภาและสภานิติบัญญัติของรัฐใหม่ซึ่งจะมีผลจนถึงการเลือกตั้งปี 2575[18]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ_พ.ศ._2563 http://www.businessinsider.com/donald-trumps-big-2... http://decisiondeskhq.com/news/2016-state-pvi-chan... http://www.msnbc.com/msnbc/2016-democrats-already-... http://www.nytimes.com/2015/04/13/us/politics/hill... http://www.politico.com/story/2015/04/hillary-clin... http://www.thegreenpapers.com/P20/R http://www.washingtonpost.com/blogs/post-politics/... http://docquery.fec.gov/pdf/291/15031432291/150314... http://docquery.fec.gov/pdf/335/201904019145975335... http://docquery.fec.gov/pdf/524/15031411524/150314...