ปฏิกิริยาหลังจากการเลือกตั้ง ของ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2539

โดยการเลือกตั้งมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน ปีเดียวกัน ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า ดร.พิจิตต ที่หาเสียงโดยชูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และต้านมลพิษทางอากาศ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 768,994 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 43.53[3] ขณะที่ พล.ต.จำลอง ที่เคยชนะมาแล้วอย่างถล่มทลายเมื่อปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2533 ได้คะแนน 514,401 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.09

อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 51 มากกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา โดยมีปรากฏการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้น ได้แก่ แม้ว่าฝนจะตกหนัก และบางครอบครัวที่ได้เดินทางออกไปเที่ยวยังต่างจังหวัด ก็รีบกลับมาให้ทันการลงคะแนน อีกทั้งยังมีการสำรวจคะแนนความนิยมจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ บ่งชี้ว่า ดร.พิจิตต จะได้รับเลือกไปด้วยคะแนนเสียงขาดลอย ซึ่งผลก็ออกมาจริงตามนั้น ถึงขนาดที่คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์บางรายได้เขียนแสดงความยินดีต่อ ดร.พิจิตต ล่วงหน้า[4]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565