ระเบียบหลักเกณฑ์การสมัครรับเลือกตั้ง ของ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2547

การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่เพิ่งออกใหม่ และมีข้อกำหนดแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาหลายประการ เช่น

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะเข้าไปมีบทบาทดูแลการเลือกตั้ง ทั้ง กกต.กลาง และ กกต.กทม. จากเดิมเป็นหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
  2. ผู้สมัครต้องจ่ายเงินค่าสมัครเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,000 บาท เป็น 50,000 บาท
  3. คุณสมบัติผู้สมัคร จากที่เคยกำหนดให้มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 180 วัน เพิ่มเป็นต้องมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 1 ปี
  4. หน่วยเลือกตั้งจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,869 หน่วย ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
  5. ห้ามผู้สมัครกระทำ จัดทำ ให้ โฆษณา จัดเลี้ยง หลอกลวง ก่อน กกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หากพบว่าผู้สมัครมีการฝ่าฝืน กกต. จะให้ใบแดง แต่หากตรวจหลักฐานคลุมเครือ และมีเหตุอันน่าเชื่อถือจะให้ใบเหลือง
  6. การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแจกใบเหลือง ใบแดง จึงอาจมีการเลือกตั้งซ่อมได้
  7. การนับคะแนน จากที่เคยนับที่หน่วยเลือกตั้ง และส่งคะแนนให้ศาลาว่าการ กทม.ประกาศผล ก็เปลี่ยนเป็นนับรวมที่เขตปกครอง แล้วนำผลแต่ละเขตมารวมที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อประกาศผลนับคะแนน จากนั้นจึงส่งผลการนับคะแนนให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
  8. การประกาศผลการเลือกตั้ง จากเดิมเป็นหน้าที่ปลัดกรุงเทพมหานคร ต้องให้ กกต.กลางประกาศผลอย่างเป็นทางการ
  9. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน เดิมประเมินให้คนละไม่เกิน 21 ล้านบาท แต่ครั้งนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 ล้านบาทต่อคน

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565