การรณรงค์เลือกตั้ง ของ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2565

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และรสนา โตสิตระกูล เปิดเผยว่าจะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี 2562[13][14] ส่วนผู้สมัครคนอื่น ๆ ทยอยเปิดเผยว่าจะลงรับสมัครตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เป็นต้นมา สำหรับการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามวิธีทั่วไป คือ การเยี่ยมบ้าน การลงพื้นที่[15] และการโฆษณาผ่านป้ายประกาศ[16][17]

ชัชชาติเน้นนโยบายด้านคน ระบบเส้นเลือดฝอย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ[18] รสนามีนโยบายการลอกคลองเพื่อระบายน้ำท่วม จ้างคนว่างงานขุดคลอง ส่งเสริมการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ จัดสรรที่ดินให้คนจนเมืองได้ปลูกผักอินทรีย์ และควบคุมการจัดผังเมืองไม่ให้เอื้อประโยชน์กลุ่มนายทุน[19] สุชัชวีร์มีนโยบายสร้างเมืองสวัสดิการ สร้างแก้มลิงใต้ดิน ให้มีโรงเรียนสาธิตทุกเขต และเสนอให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2036[18][20] วิโรจน์มีนโยบายการกระจายงบประมาณลงไปยังชุมชนต่าง ๆ มากขึ้น การเปลี่ยนที่รกร้างเป็นที่สาธารณะ การสร้างที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง และการกำจัดปัญหาเรื่องส่วย[21][22] อัศวินมีนโยบายป้องกันน้ำท่วม แก้ปัญหาพื้นที่สีเขียว เชื่อมต่อการเดินทาง และสานต่อสิ่งที่ตนเคยทำไว้ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการฯ[23] สกลธีมีนโยบายการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้แก้ปัญหาจราจร เพิ่มการขนส่งสายรอง การใช้รถบัสไฟฟ้า และการปรับปรุงสวนสาธารณะ[24][25] ส่วนศิธามีนโยบายการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กทม. การพัฒนาโรงเรียนในกทม. ให้คุณภาพเท่ากัน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า และการให้รางวัลจูงใจเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน[26]

เนื่องจากผลสำรวจความคิดเห็นปรากฏว่าชัชชาติมีคะแนนนำมาโดยตลอด ทำให้มีผู้สนับสนุนผู้สมัครบางคนออกมาจูงใจด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกมาให้ความเห็นว่าควรเลือกสกลธีเพราะชัชชาติเคย "ได้ประโยชน์จากระบอบทักษิณ" และพลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กว่า "ไม่เลือกเราเขามาแน่ ภาค 2" ซึ่งเรียกร้องให้ผู้ที่จะออกเสียงให้ผู้สมัคร 4 คนที่ "ไม่เอาทักษิณ" มาเลือกผู้สมัครคนเดียวกันเสียเพื่อให้ชนะชัชชาติ ซึ่งเป็นวิธีการที่เรียกว่า การออกเสียงทางยุทธศาสตร์[27]

ในช่วงก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ยังมีการจัดการโต้วาทีระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายเวที[28][29][30]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2565 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/... https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/100... https://www.bangkokbiznews.com/politics/995229 https://www.bbc.com/thai/thailand-60617036 https://www.bbc.com/thai/thailand-60775996 https://www.bbc.com/thai/thailand-60978732 https://ch3plus.com/news/political/ruangden/284737 https://estu-research.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8...